โลกลูกหนังไม่เงียบอีกต่อไปชีวิตติดลบมีพลังใจด้วย‘ฟุตซอล’
แม้การแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 จะจบไปแล้ว แต่สำหรับผู้เล่นบางคน การได้ลงสนามอีกครั้ง ก็สร้างความหวัง ปลุกปลอบให้เธอลุกขึ้นยืนได้จากความผิดหวังในชีวิตอีกหน “ไม่ต้องไปกลัว เราต้องกล้า ช่างมัน!” เธอส่งภาษามือให้เพื่อน ๆ ต่อสู้กับทีมที่มีผู้เล่นเหนือกว่า ในการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 แม้ทีมชาติไทยจบที่อันดับ 8 แต่สำหรับ ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี การลงสนามครั้งนี้ทำให้โลกเงียบของเธอไม่เงียบอีกต่อไป...
ถึงชีวิตหลายคนจะลากเป็นเส้นตรงไปถึงจุดหมายไม่ยากนัก แต่สำหรับปรียานุช ซึ่งมีปัญหาทางการได้ยิน พยายามทุกทางเพื่อให้เทียบเท่ากับคนปกติ แต่นั่นก็ทำให้เธอล้มเหลวกับการศึกษา จนต้องออกกลางคันในการเรียนชั้นปีที่ 2 ในระบบมหาวิทยาลัย “ตอนนั้นไปแข่งบอลที่ไต้หวัน ทางมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ไปแข่ง แต่เมื่อกลับมาอาจารย์ประจำวิชาไม่ให้ผ่านวิชาที่รับผิดชอบ เราผิดเองที่เลือกมาเรียนที่นี่ พอออกจากมหาวิทยาลัยก็ต้องปล่อยวาง เพราะเราทำอะไรไม่ได้ มันเรียนไม่ได้ โกรธไม่ได้ โมโหไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป แม้ต้องอยู่กับความเสียใจ เลยเสียเวลาอยู่บ้านเฉย ๆ ไป 1 ปี ทั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าถ้าจบแล้วจะไปเป็นครูสอนน้อง ๆ หูหนวก ซึ่งตอนนั้นเลิกเล่นฟุตบอลอยู่พักใหญ่ จนเพื่อนชวนให้ไปแข่งฟุตบอลหญิง เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดตราดกับคนปกติ”
ปรียานุช เล่าทั้งน้ำตา การไปเล่นบอลกับเพื่อนปกติ จะต้องพยายามอ่านริมฝีปากเพื่อนร่วมทีม แล้วคอยจับคำที่โค้ชสอน ซึ่งต้องรู้ว่าตัวเองเล่นตำแหน่งไหน ถึงยังไงก็ต้องพยายาม ตอนเด็ก ๆ ยังไม่เข้าใจการเล่นบอล พอเริ่มเล่นเอาจริงเอาจังต้องฝากให้แม่เป็นคนที่คอยสื่อสาร และนานขึ้นเริ่มเข้าใจเหมือนกับการที่เราเรียนทฤษฎีมา แล้วมาลงปฏิบัติ โค้ชบางคนใช้การอธิบายแผนการเล่นกับเด็กปกติก่อน แล้วค่อยมาอธิบายแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจอีกรอบ ถือเป็นการเล่นบอลที่ต้องทำงานมากกว่าเพื่อนคนปกติ โดยต้องเหนื่อยกว่า แต่ถึงยังไงต้องพยายาม
ปรียานุช เล่าว่า เริ่มเล่นบอลตั้งแต่ ป.2 แรก ๆ แม่ให้ไปเล่นบอลกับเพื่อนที่เป็นคนปกติ ตอนนั้นเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าตัวยิงบอล เริ่มแรกเล่นบอล 7 คนก่อน หลังจากนั้นโค้ชเห็นแววเลยให้ไปเล่นบอล 11 คน จนได้มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรก เพื่อไปแข่งบอลหญิงคนหูหนวก 11 คน ปี 2009 ที่ไต้หวัน ตอนนั้นได้อันดับที่สุดท้ายกลับมา รู้เลยว่าเพื่อนที่ไปด้วยกันทั้งหมดยังไม่มีการฝึกฝน และยังไม่มีการเข้าแคมป์การอบรมที่เป็นระบบ เช่นเดียวกับโค้ชที่ก่อนหน้านั้นสอนแต่คนปกติ พอมาสอนคนหูหนวกอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง
จากนั้นได้มาคัดตัวเพื่อเข้าทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวก ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ติดทีมชาติ ครั้งนี้เข้าใจทักษะมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเทียบกันแล้วการเล่นบอล 11 คนที่สนามใหญ่ยากกว่าการเล่นฟุตซอล เพราะคนที่หูหนวกจะสื่อสารกันค่อนข้างยาก “ซึ่งการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกปีนี้มี 16 ทีมที่แข่งขัน จริง ๆ แล้วเราอยากได้แชมป์ แต่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ซึ่งครั้งนี้เราได้ที่ 8แต่การได้เป็นตัวแทนนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย เหมือนการปลุกให้ตื่นจากฝันร้ายอีกครั้ง ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปข้างหน้าได้ การได้เล่นฟุตซอลเหมือนมีพลังขึ้นมาอีกครั้ง กระตือรือร้น มีความสนุกในการค้นหาอะไรที่แปลกใหม่มากขึ้น แม้ตัวเองไม่คุ้นเคยกับฟุตซอล แต่พอมาเล่นเหมือนได้ประสบ การณ์ใหม่ ๆ ”
ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ได้เจอเพื่อนที่หูหนวกในหลายประเทศ พบว่าในโลกนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่เราไม่รู้จัก และได้ฝึกฝนทักษะที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงรู้ว่าการใช้สายตากับการเล่นบอลต้องไปด้วยกัน และอยากให้หลาย ๆ คนกระจายข่าวสารว่า ยังมีคนหูหนวกที่เล่นกีฬาได้ อยากให้มีโอกาสเท่ากับคนปกติ สำหรับคนที่พิการที่ยังท้อแท้อยากให้รู้สึกว่า คนเราเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะตาบอด หูหนวก หรือนั่งรถวีลแชร์ ความพิการคือความพิการที่เท่าเทียมกัน อยากให้คนพิการพยายาม และตั้งใจอดทน ส่วนคนปกติตอนนี้รู้จักคนหูหนวกน้อยมาก ในด้านความสามารถ จึงอยากบอกว่าคนหูหนวกก็ทำได้เหมือนกับคนปกติทำ และอยากให้มีโอกาสที่เราเท่าเทียมกัน อนาคตทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวกน่าจะมีโอกาสพัฒนาขึ้น ถ้าวันหนึ่งที่อายุมาก แล้วอาจถอนตัวเองออกเพื่อให้รุ่นน้องได้มีโอกาส.
ศราวุธ ดีหมื่นไวย์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372428 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี นักกีฬา ฟุตซอล หูหนวกไทย แม้การแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 จะจบไปแล้ว แต่สำหรับผู้เล่นบางคน การได้ลงสนามอีกครั้ง ก็สร้างความหวัง ปลุกปลอบให้เธอลุกขึ้นยืนได้จากความผิดหวังในชีวิตอีกหน “ไม่ต้องไปกลัว เราต้องกล้า ช่างมัน!” เธอส่งภาษามือให้เพื่อน ๆ ต่อสู้กับทีมที่มีผู้เล่นเหนือกว่า ในการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 แม้ทีมชาติไทยจบที่อันดับ 8 แต่สำหรับ ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี การลงสนามครั้งนี้ทำให้โลกเงียบของเธอไม่เงียบอีกต่อไป... ถึงชีวิตหลายคนจะลากเป็นเส้นตรงไปถึงจุดหมายไม่ยากนัก แต่สำหรับปรียานุช ซึ่งมีปัญหาทางการได้ยิน พยายามทุกทางเพื่อให้เทียบเท่ากับคนปกติ แต่นั่นก็ทำให้เธอล้มเหลวกับการศึกษา จนต้องออกกลางคันในการเรียนชั้นปีที่ 2 ในระบบมหาวิทยาลัย “ตอนนั้นไปแข่งบอลที่ไต้หวัน ทางมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ไปแข่ง แต่เมื่อกลับมาอาจารย์ประจำวิชาไม่ให้ผ่านวิชาที่รับผิดชอบ เราผิดเองที่เลือกมาเรียนที่นี่ พอออกจากมหาวิทยาลัยก็ต้องปล่อยวาง เพราะเราทำอะไรไม่ได้ มันเรียนไม่ได้ โกรธไม่ได้ โมโหไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป แม้ต้องอยู่กับความเสียใจ เลยเสียเวลาอยู่บ้านเฉย ๆ ไป 1 ปี ทั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าถ้าจบแล้วจะไปเป็นครูสอนน้อง ๆ หูหนวก ซึ่งตอนนั้นเลิกเล่นฟุตบอลอยู่พักใหญ่ จนเพื่อนชวนให้ไปแข่งฟุตบอลหญิง เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดตราดกับคนปกติ” ทีมฟุตซอลหญิง ปรียานุช เล่าทั้งน้ำตา การไปเล่นบอลกับเพื่อนปกติ จะต้องพยายามอ่านริมฝีปากเพื่อนร่วมทีม แล้วคอยจับคำที่โค้ชสอน ซึ่งต้องรู้ว่าตัวเองเล่นตำแหน่งไหน ถึงยังไงก็ต้องพยายาม ตอนเด็ก ๆ ยังไม่เข้าใจการเล่นบอล พอเริ่มเล่นเอาจริงเอาจังต้องฝากให้แม่เป็นคนที่คอยสื่อสาร และนานขึ้นเริ่มเข้าใจเหมือนกับการที่เราเรียนทฤษฎีมา แล้วมาลงปฏิบัติ โค้ชบางคนใช้การอธิบายแผนการเล่นกับเด็กปกติก่อน แล้วค่อยมาอธิบายแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจอีกรอบ ถือเป็นการเล่นบอลที่ต้องทำงานมากกว่าเพื่อนคนปกติ โดยต้องเหนื่อยกว่า แต่ถึงยังไงต้องพยายาม ปรียานุช เล่าว่า เริ่มเล่นบอลตั้งแต่ ป.2 แรก ๆ แม่ให้ไปเล่นบอลกับเพื่อนที่เป็นคนปกติ ตอนนั้นเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าตัวยิงบอล เริ่มแรกเล่นบอล 7 คนก่อน หลังจากนั้นโค้ชเห็นแววเลยให้ไปเล่นบอล 11 คน จนได้มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรก เพื่อไปแข่งบอลหญิงคนหูหนวก 11 คน ปี 2009 ที่ไต้หวัน ตอนนั้นได้อันดับที่สุดท้ายกลับมา รู้เลยว่าเพื่อนที่ไปด้วยกันทั้งหมดยังไม่มีการฝึกฝน และยังไม่มีการเข้าแคมป์การอบรมที่เป็นระบบ เช่นเดียวกับโค้ชที่ก่อนหน้านั้นสอนแต่คนปกติ พอมาสอนคนหูหนวกอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง จากนั้นได้มาคัดตัวเพื่อเข้าทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวก ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ติดทีมชาติ ครั้งนี้เข้าใจทักษะมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเทียบกันแล้วการเล่นบอล 11 คนที่สนามใหญ่ยากกว่าการเล่นฟุตซอล เพราะคนที่หูหนวกจะสื่อสารกันค่อนข้างยาก “ซึ่งการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกปีนี้มี 16 ทีมที่แข่งขัน จริง ๆ แล้วเราอยากได้แชมป์ แต่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ซึ่งครั้งนี้เราได้ที่ 8แต่การได้เป็นตัวแทนนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย เหมือนการปลุกให้ตื่นจากฝันร้ายอีกครั้ง ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปข้างหน้าได้ การได้เล่นฟุตซอลเหมือนมีพลังขึ้นมาอีกครั้ง กระตือรือร้น มีความสนุกในการค้นหาอะไรที่แปลกใหม่มากขึ้น แม้ตัวเองไม่คุ้นเคยกับฟุตซอล แต่พอมาเล่นเหมือนได้ประสบ การณ์ใหม่ ๆ ” ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ได้เจอเพื่อนที่หูหนวกในหลายประเทศ พบว่าในโลกนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่เราไม่รู้จัก และได้ฝึกฝนทักษะที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงรู้ว่าการใช้สายตากับการเล่นบอลต้องไปด้วยกัน และอยากให้หลาย ๆ คนกระจายข่าวสารว่า ยังมีคนหูหนวกที่เล่นกีฬาได้ อยากให้มีโอกาสเท่ากับคนปกติ สำหรับคนที่พิการที่ยังท้อแท้อยากให้รู้สึกว่า คนเราเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะตาบอด หูหนวก หรือนั่งรถวีลแชร์ ความพิการคือความพิการที่เท่าเทียมกัน อยากให้คนพิการพยายาม และตั้งใจอดทน ส่วนคนปกติตอนนี้รู้จักคนหูหนวกน้อยมาก ในด้านความสามารถ จึงอยากบอกว่าคนหูหนวกก็ทำได้เหมือนกับคนปกติทำ และอยากให้มีโอกาสที่เราเท่าเทียมกัน อนาคตทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวกน่าจะมีโอกาสพัฒนาขึ้น ถ้าวันหนึ่งที่อายุมาก แล้วอาจถอนตัวเองออกเพื่อให้รุ่นน้องได้มีโอกาส. ศราวุธ ดีหมื่นไวย์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372428
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)