เทนนิสในโลกไร้เสียง
ในโลกของกีฬาเทนนิส นอกจากพละกำลังและเทคนิค อีกองค์ประกอบสำคัญคือ การได้ยิน ที่นักกีฬาระดับโลกใช้เพื่อคำนวณ ในการตอบสนองบอลจากฝ่ายตรงข้ามในเสี้ยววินาที
อย่างไรก็ดี มีนักเทนนิสหนึ่งราย ที่ไม่เพียงต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่ง หากยังต้องก้าวข้ามกำแพงความเสียเปรียบ จากการรับรู้ด้านการได้ยินอีกด้วย ที่สำคัญ เจ้าตัวกำลังทลายกำแพงที่กั้นกลางระหว่างนักเทนนิสที่ครบ 32 กับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ไปสู่ในระดับโลกในอนาคตอันใกล้...
เล่นด้วยหู ผลจากการวิจัยโดยสถาบันด้านสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ พบว่า มนุษย์ สามารถตอบสนองจากสิ่งเร้าทางการได้ยิน เร็วกว่าสิ่งเร้าทางการมองเห็น ในอัตราส่วน 140-160 มิลลิวินาที ต่อ180-200 มิลลิวินาที (*มิลลิวินาที หรือ ms คือหนึ่งในพันของวินาที)
แอนดี รอดดิค อดีตนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก อธิบายว่าปฏิกิริยาแรกในการรับลูกจากคู่แข่ง เกิดจากการได้ยินมากกว่าการมองเห็น “คุณรับรู้ได้ว่าอีกฝ่ายหวดบอลกลับมาแรงแค่ไหนจากการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นลูกแฟลท หรือดร็อปช็อต การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนอง และมันเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยสำหรับการเล่นเทนนิสในระดับโลก”
แอนดี มาร์รีย์ และนักเทนนิสอีกหลายราย ลงความเห็นตรงกันว่าหลังคามูลค่า 145 ล้านดอลลาร์ ที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกใน ยูเอส โอเพน ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวานของเสียง (ambient) จนการรับรู้ของนักเทนนิสผิดเพี้ยนไป เช่นเดียวกับเสียงฝนกระทบหลังคา “ถ้าคุณลองเล่นด้วยการสวมเฮดโฟน มันจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบมาก ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้สวม แน่นอนว่าคุณยังเล่นได้ แต่มันจะยากกว่าเดิม”
โทเบียส เบิร์ซ อดีตนักเทนนิสหูหนวก ที่ปัจจุบันรับตำแหน่งผู้อำนวยการเทคนิค ในคณะกรรมการกีฬาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน เคยทำการทดลองในลักษณะเดียวกับที่ มาร์รีย์ ว่าไว้ ด้วยการแข่งกับผู้เล่นปกติ ในเซตแรก เบิร์ซ เป็นฝ่ายแพ้ 2-6 จากนั้นในเซตที่สอง ฝ่ายตรงข้ามทดลองสวมเอียร์ปลั๊กและเฮดโฟนเพื่อตัดการรับรู้ทางเสียง ผลลัพธ์คือ เบิร์ซ เป็นฝ่ายชนะไปบ้าง 6-3
เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วม นับจากยุคของ ลี ฮยุง-เต็ค อดีตนักเทนนิสชาย มือ 36 ของโลก วงการเทนนิสของเกาหลีใต้ ก็กลับสู่ยุคเงียบเหงาไปนานกว่าทศวรรษ กระทั่งการแจ้งเกิดของ ชุง ฮยอน มือ 104 ของโลก วัย 20 ปี และ ลี ดัค-ฮี มือ 149 ของโลก วัย 18 ปี ที่ได้รับการยกย่องในฐานะนักเทนนิสดาวรุ่งของประเทศที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ความน่าทึ่งของ ลี คือนอกจากทักษะอันยอดเยี่ยม เจ้าตัวยังลงเล่นในสภาพเสียเปรียบในเรื่องการได้ยิน และเป็นนักเทนนิสที่บกพร่องเรื่องการได้ยินซึ่งมีอันดับโลกสูงสุดตั้งแต่มีการจัดแรงกิงของ เอทีพี ทัวร์ ด้วยความบกพร่องทางการได้ยินของ ลี มีมาตั้งแต่กำเนิด ก่อนจะได้รับการยืนยันจากแพทย์ ขณะอายุได้ 2 ขวบ “หมอบอกว่าเขาไม่ได้ยินอะไรเลย ฉันช็อคมาก” พาร์ค มี-จา ผู้เป็นแม่ กล่าว
หลังใช้เวลาทำใจอยู่หนึ่งสัปดาห์ พาร์ค และ ลี ซัง-จิน สามี ตัดสินใจที่จะสอนให้ ลี สามารถดูแลตัวเองได้ โดยไม่ให้ความบกพร่องทางร่างกายเป็นอุปสรรค นอกจากการเรียนรู้ภาษามือ พาร์ค ยังสอนให้ ลี หัดพูดและอ่านริมฝีปากผู้อื่น ขณะที่ ซัง-จิน ซึ่งเป็นอดีตนักกรีฑาในสมัยมัธยม ก็เห็นว่ากีฬาคือหนทางที่ดีที่สุดในการยกระดับชีวิตให้กับลูกชาย และหลังลองถูกลองผิดกับกีฬาหลายชนิด ทั้งคู่ก็ตัดสินใจเลือก เทนนิส ตามคำแนะนำของ วู ชุง-ฮโย ซึ่งเป็นญาติกัน “ญาติของผมให้แร็คเก็ตเป็นของขวัญ เขาสอนผมเล่น มันสนุกมาก และผมก็หลงใหลกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่นั้นมา” ลี กล่าวถึงจุดเริ่มต้น
ทลายกำแพง “นี่ไม่ใช่แค่เพื่อความสนุก ตอนไปเรียนกับโค้ชคนแรก เราบอกเขาว่าต้องการให้ ดัค-ฮี เล่นเทนนิสเป็นอาชีพ ถ้า ลี ไม่มีศักยภาพ เราจะเลือกทางอื่น” พาร์ค ย้อนอดีต “90% ของโค้ช และครอบครัวนักเทนนิสคนอื่นๆ มักพูดว่า ดัค-ฮี ไม่มีทางเล่นอาชีพได้ เพราะในระดับประถม ลูกบอลยังพุ่งไปได้ช้า แต่เมื่อไปถึงระดับอาชีพ สปีดมันจะเร็วขึ้น การที่เขาไม่ได้ยิน เขาไม่มีทางตอบสนองได้ทัน” จู ฮยุน-ซัง โค้ชของโรงเรียนมัธยมมาโป ยอมรับว่าไม่แน่ใจในศักยภาพของ ลี เช่นกัน ในการพบกันครั้งแรก “แต่ผมค่อยๆมั่นใจขึ้น เมื่อเห็นเขาพัฒนาตัวเองเรื่อย และเชื่อว่าเขาจะไปได้ไกลกว่านี้”
“การสปินของลูกเทนนิสมีหลายแบบ และคุณสามารถแยกแยะมันออกได้จากเสียงที่ลูกปะทะกับแร็คเก็ต” แคที มานเซโบ โค้ชอาสาสมัครของทีมเทนนิสคนหูหนวก อธิบาย “แต่ผู้เล่นที่บกพร่องเรื่องการได้ยินเสียเปรียบเรื่องนี้ จึงต้องโฟกัสในเรื่องอื่นๆแทน อย่างเช่นการสังเกตหน้าไม้ หรือลักษณะของบอลที่พุ่งข้ามเน็ตมา” แม้จะยังไม่เคยเล่นในรอบเมนดรอว์ของ เอทีพี ทัวร์นาเมนท์ หรือ แกรนด์สแลม แต่ ลี ก็เคยผ่านเข้าชิงชนะเลิศรายการระดับ ชาลเลนเจอร์ แล้วหนึ่งครั้ง เมื่อเดือนก.ย. และเข้ารอบรองชนะเลิศ 2 ครั้ง หากจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง ก็คือส่วนสูง 5 ฟุต 9 นิ้วของ ลี เพราะปัจจุบันมีนักเทนนิสที่สูงไม่ถึง 6 ฟุต ในท็อป 50 ของเอทีพี ทัวร์ เพียง 6 คนเท่านั้น แต่ถ้าเทียบกับอุปสรรคที่เจ้าตัวเคยผ่านมา เรื่องนี้อาจเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ ลี พิสูจน์ให้ผู้คนที่เคยปรามาสได้เห็น ว่าเขาสามารถทำในสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้” ให้เกิดขึ้นจริงแล้ว
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/734612 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แอนดี รอดดิค อดีตนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก ในโลกของกีฬาเทนนิส นอกจากพละกำลังและเทคนิค อีกองค์ประกอบสำคัญคือ การได้ยิน ที่นักกีฬาระดับโลกใช้เพื่อคำนวณ ในการตอบสนองบอลจากฝ่ายตรงข้ามในเสี้ยววินาที อย่างไรก็ดี มีนักเทนนิสหนึ่งราย ที่ไม่เพียงต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่ง หากยังต้องก้าวข้ามกำแพงความเสียเปรียบ จากการรับรู้ด้านการได้ยินอีกด้วย ที่สำคัญ เจ้าตัวกำลังทลายกำแพงที่กั้นกลางระหว่างนักเทนนิสที่ครบ 32 กับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ไปสู่ในระดับโลกในอนาคตอันใกล้... เล่นด้วยหู ผลจากการวิจัยโดยสถาบันด้านสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ พบว่า มนุษย์ สามารถตอบสนองจากสิ่งเร้าทางการได้ยิน เร็วกว่าสิ่งเร้าทางการมองเห็น ในอัตราส่วน 140-160 มิลลิวินาที ต่อ180-200 มิลลิวินาที (*มิลลิวินาที หรือ ms คือหนึ่งในพันของวินาที) แอนดี รอดดิค อดีตนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก อธิบายว่าปฏิกิริยาแรกในการรับลูกจากคู่แข่ง เกิดจากการได้ยินมากกว่าการมองเห็น “คุณรับรู้ได้ว่าอีกฝ่ายหวดบอลกลับมาแรงแค่ไหนจากการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นลูกแฟลท หรือดร็อปช็อต การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนอง และมันเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยสำหรับการเล่นเทนนิสในระดับโลก” แอนดี มาร์รีย์ และนักเทนนิสอีกหลายราย ลงความเห็นตรงกันว่าหลังคามูลค่า 145 ล้านดอลลาร์ ที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกใน ยูเอส โอเพน ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวานของเสียง (ambient) จนการรับรู้ของนักเทนนิสผิดเพี้ยนไป เช่นเดียวกับเสียงฝนกระทบหลังคา “ถ้าคุณลองเล่นด้วยการสวมเฮดโฟน มันจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบมาก ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้สวม แน่นอนว่าคุณยังเล่นได้ แต่มันจะยากกว่าเดิม” โทเบียส เบิร์ซ อดีตนักเทนนิสหูหนวก ที่ปัจจุบันรับตำแหน่งผู้อำนวยการเทคนิค ในคณะกรรมการกีฬาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน เคยทำการทดลองในลักษณะเดียวกับที่ มาร์รีย์ ว่าไว้ ด้วยการแข่งกับผู้เล่นปกติ ในเซตแรก เบิร์ซ เป็นฝ่ายแพ้ 2-6 จากนั้นในเซตที่สอง ฝ่ายตรงข้ามทดลองสวมเอียร์ปลั๊กและเฮดโฟนเพื่อตัดการรับรู้ทางเสียง ผลลัพธ์คือ เบิร์ซ เป็นฝ่ายชนะไปบ้าง 6-3 เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วม นับจากยุคของ ลี ฮยุง-เต็ค อดีตนักเทนนิสชาย มือ 36 ของโลก วงการเทนนิสของเกาหลีใต้ ก็กลับสู่ยุคเงียบเหงาไปนานกว่าทศวรรษ กระทั่งการแจ้งเกิดของ ชุง ฮยอน มือ 104 ของโลก วัย 20 ปี และ ลี ดัค-ฮี มือ 149 ของโลก วัย 18 ปี ที่ได้รับการยกย่องในฐานะนักเทนนิสดาวรุ่งของประเทศที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ความน่าทึ่งของ ลี คือนอกจากทักษะอันยอดเยี่ยม เจ้าตัวยังลงเล่นในสภาพเสียเปรียบในเรื่องการได้ยิน และเป็นนักเทนนิสที่บกพร่องเรื่องการได้ยินซึ่งมีอันดับโลกสูงสุดตั้งแต่มีการจัดแรงกิงของ เอทีพี ทัวร์ ด้วยความบกพร่องทางการได้ยินของ ลี มีมาตั้งแต่กำเนิด ก่อนจะได้รับการยืนยันจากแพทย์ ขณะอายุได้ 2 ขวบ “หมอบอกว่าเขาไม่ได้ยินอะไรเลย ฉันช็อคมาก” พาร์ค มี-จา ผู้เป็นแม่ กล่าว หลังใช้เวลาทำใจอยู่หนึ่งสัปดาห์ พาร์ค และ ลี ซัง-จิน สามี ตัดสินใจที่จะสอนให้ ลี สามารถดูแลตัวเองได้ โดยไม่ให้ความบกพร่องทางร่างกายเป็นอุปสรรค นอกจากการเรียนรู้ภาษามือ พาร์ค ยังสอนให้ ลี หัดพูดและอ่านริมฝีปากผู้อื่น ขณะที่ ซัง-จิน ซึ่งเป็นอดีตนักกรีฑาในสมัยมัธยม ก็เห็นว่ากีฬาคือหนทางที่ดีที่สุดในการยกระดับชีวิตให้กับลูกชาย และหลังลองถูกลองผิดกับกีฬาหลายชนิด ทั้งคู่ก็ตัดสินใจเลือก เทนนิส ตามคำแนะนำของ วู ชุง-ฮโย ซึ่งเป็นญาติกัน “ญาติของผมให้แร็คเก็ตเป็นของขวัญ เขาสอนผมเล่น มันสนุกมาก และผมก็หลงใหลกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่นั้นมา” ลี กล่าวถึงจุดเริ่มต้น ทลายกำแพง “นี่ไม่ใช่แค่เพื่อความสนุก ตอนไปเรียนกับโค้ชคนแรก เราบอกเขาว่าต้องการให้ ดัค-ฮี เล่นเทนนิสเป็นอาชีพ ถ้า ลี ไม่มีศักยภาพ เราจะเลือกทางอื่น” พาร์ค ย้อนอดีต “90% ของโค้ช และครอบครัวนักเทนนิสคนอื่นๆ มักพูดว่า ดัค-ฮี ไม่มีทางเล่นอาชีพได้ เพราะในระดับประถม ลูกบอลยังพุ่งไปได้ช้า แต่เมื่อไปถึงระดับอาชีพ สปีดมันจะเร็วขึ้น การที่เขาไม่ได้ยิน เขาไม่มีทางตอบสนองได้ทัน” จู ฮยุน-ซัง โค้ชของโรงเรียนมัธยมมาโป ยอมรับว่าไม่แน่ใจในศักยภาพของ ลี เช่นกัน ในการพบกันครั้งแรก “แต่ผมค่อยๆมั่นใจขึ้น เมื่อเห็นเขาพัฒนาตัวเองเรื่อย และเชื่อว่าเขาจะไปได้ไกลกว่านี้” “การสปินของลูกเทนนิสมีหลายแบบ และคุณสามารถแยกแยะมันออกได้จากเสียงที่ลูกปะทะกับแร็คเก็ต” แคที มานเซโบ โค้ชอาสาสมัครของทีมเทนนิสคนหูหนวก อธิบาย “แต่ผู้เล่นที่บกพร่องเรื่องการได้ยินเสียเปรียบเรื่องนี้ จึงต้องโฟกัสในเรื่องอื่นๆแทน อย่างเช่นการสังเกตหน้าไม้ หรือลักษณะของบอลที่พุ่งข้ามเน็ตมา” แม้จะยังไม่เคยเล่นในรอบเมนดรอว์ของ เอทีพี ทัวร์นาเมนท์ หรือ แกรนด์สแลม แต่ ลี ก็เคยผ่านเข้าชิงชนะเลิศรายการระดับ ชาลเลนเจอร์ แล้วหนึ่งครั้ง เมื่อเดือนก.ย. และเข้ารอบรองชนะเลิศ 2 ครั้ง หากจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง ก็คือส่วนสูง 5 ฟุต 9 นิ้วของ ลี เพราะปัจจุบันมีนักเทนนิสที่สูงไม่ถึง 6 ฟุต ในท็อป 50 ของเอทีพี ทัวร์ เพียง 6 คนเท่านั้น แต่ถ้าเทียบกับอุปสรรคที่เจ้าตัวเคยผ่านมา เรื่องนี้อาจเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ ลี พิสูจน์ให้ผู้คนที่เคยปรามาสได้เห็น ว่าเขาสามารถทำในสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้” ให้เกิดขึ้นจริงแล้ว ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/734612
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)