ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด.

แสดงความคิดเห็น

…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. กับคุณพ่อคุณแม่

ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้'นงนภา ศรีวิไลเจริญ'เกียรตินิยมอันดับ 1 มสด. : คอลัมน์ท่องโลกเรียนรู้ : โดย...ปภาวรินทร์ สังฆพรหม ประชาสัมพันธ์ มสด.

"ทุกวันนี้ ภูมิใจในตัวเองมาก เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และรับผิดชอบตัวเองได้อย่างดี ไม่เป็นภาระของครอบครัว ขอขอบคุณคุณพ่อ-แม่ ที่สนับสนุนและให้กำลังใจเสมอมา และขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และขอบคุณสังคมไทย ที่มอบโอกาสในการด้านการศึกษและขอบคุณบริษัท บอส เอาท์ซอร์สซิ่ง เซอร์วิส จำกัด ที่ให้โอกาสทำงาน" นงนภา ศรีวิไลเจริญ (น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2554-2555 ที่ผ่านมา กล่าว

น้องภา เป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 5 คน ของกฤษดา และอุษณีษ์ ศรีวิไลเจริญ เป็นเจ้าของกิจการขายของ เช่น สีทาบ้าน ตะปู ก๊อกน้ำ เกี่ยวกับอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นคนเดียวที่บกพร่องทางการได้ยิน ทั้งที่เกิดมาเป็นเด็กปกติ เรียนอนุบาลที่โรงเรียนบ้านท่าเสด็จ แต่ตอนอายุ 5 ขวบ น้องภาไม่สบายมากและเป็นหวัด รับประทานยาแก้หวัดจนแพ้ยาทำให้หูไม่ได้ยินเสียงอะไร ตอนนั้นแม่ตกใจมากร้องไห้ แม่และพี่ช่วยพาไปหาหมอหลายโรงพยาบาลมาก แต่ไม่สามารถรักษาหายได้ กระทั่งพ่อแม่พาไปเรียนฝึกพูดที่โรงพยาบาลศิริราชและช่วยกันหาโรงเรียนที่ รับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียน ได้พบโรงเรียนวัดโพคอย น้องภาเรียนที่โรงเรียนวัดโพคอย ป.1-ป.6 ด้วยความที่แม่เป็นห่วงไม่อยากให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่ กทม.เพราะยังเด็ก ครูที่โรงเรียนวัดโพคอยแนะนำให้ไปเรียนมัธยมตอนต้น (กศน.โรงเรียนอำเภอบางปลาม้า) และช่วยสอนจนเรียนจบมัธยมตอนต้น

จากนั้นไปเรียนต่อ ม.4 ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ที่สอนคนหูหนวกตามรุ่นพี่ เริ่มต้นเรียน ม.1 ใหม่ เรียนฝึกภาษามือและเรียนฝึกพูดที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์และที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อฝึกพูดและฝึกอ่านริมฝีปาก เพราะจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำและมักเขียนสลับ

จบ ม.6 จึงเรียนต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เรียนคณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาพิเศษ หลักสูตร 5 ปี เพราะมีครูล่าม แรกๆ เรียนยากมาก เพราะภาษามือแต่ละโรงเรียนแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน แต่พยายามสู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ฝึกเรียนรู้ภาษามือจนชินภาษามือของมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเรียนรู้ได้เท่าเพื่อนปกติและพี่ช่วยพาไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษใกล้บ้าน

พอจบเทอม 1 ได้เกรด 3.5 แต่ไม่ได้ที่ 1 ของห้อง พอเข้าเทอม 2 ตั้งใจเรียน พยายามอ่านหนังสือและฝึกเขียนหนังสือมากกว่าเพื่อนปกติเป็น 2 เท่า เป็น 3 เท่า เวลาไม่เข้าใจถามครูล่ามให้ช่วยถามครูสอน เวลาไม่เข้าใจงานที่ครูสอน ครูสั่ง จะไปห้อง DSS เพื่อถามครูล่ามช่วยอธิบายขั้นตอนทำรายงานเพิ่มเติม พอเรียนปี 3-5 สนิทกับเพื่อนปกติ เวลาไม่เข้าใจว่าครูสั่งงานอะไร ถามเพื่อนปกติช่วยอธิบายงานให้ฟัง จนสามารถเรียนจบหลักสูตร 5 ปี

"ขอบคุณพ่อ แม่ พี่น้อง ครูและเพื่อนทุกคนที่ช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือให้หนูเรียนรู้และสามารถเรียน ได้จบ มสด. ทุกคนพยายามเข้าใจ และช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS ถือเป็นแรงผลักดันที่ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จ เพราะมีล่ามมือคอยคอยแปลเนื้อหาการเรียนให้ จนทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป และพยายามทำทุกอย่างด้วยสมอง และสองมือของตนเอง อย่างสุดความสามารถ ต้องกล้าที่จะถามเมื่อไม่เข้าใจ อดทน และมุ่งมั่น ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้" น้องภา กล่าว

ขณะที่ อาจารย์สิริลักษณ์ มณีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ Disability Support Services : DSS คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS มีหน้าที่หลักในการช่วยเหลือนักศึกษาพิการเรียนร่วมกว่า 127 คน แบ่งเป็นนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น, บกพร่องทางการได้ยิน, บกพร่อง ออทิสติก และแอลดี และนักศึกษาบกพร่องทางร่างกาย เรียนทั้งหมด 7 หลักสูตร ตามศักยภาพของนักศึกษา อาทิ หลักสูตรภาษาไทย, หลักสูตรคหกรรมศาสตร์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลามีนักเรียนพิการเข้าเรียนร่วมภายในชั้นเรียน DSS จะส่งอาจารย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ล่ามภาษามือแปลเนื้อหาไปนักศึกษา เอื้ออำนวยการจัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ หรือแม้กระทั่งการช่วยอ่านข้อสอบ ทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ หวังให้นักศึกษาพิการเรียนร่วมประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและดำรงชีวิตใน สังคม

น้องภา นักศึกษาพิการเรียนร่วมคนแรกที่คว้าเกียรตินิยมมาครอง ฝากถึงน้องๆ ที่มีความบกพร่อง ขอให้คิดเสมอว่า เราเกิดมาพิการเพียงร่างกาย แต่ใจเราไม่ได้พิการ ถ้าทุกอย่างที่คนปกติส่วนใหญ่ทำได้ ก็คิดว่าตัวเองทำได้เช่นกัน ถ้าเราไม่ดูถูกตัวเอง คนอื่นก็จะเกิดศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเราเช่นกัน

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130804/164947/ขอบคุณแม่พ่อที่ทำให้มีวันนี้.html#.Uf3Cl6yegtU (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 4/08/2556 เวลา 03:18:31 ดูภาพสไลด์โชว์ ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. กับคุณพ่อคุณแม่ ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้'นงนภา ศรีวิไลเจริญ'เกียรตินิยมอันดับ 1 มสด. : คอลัมน์ท่องโลกเรียนรู้ : โดย...ปภาวรินทร์ สังฆพรหม ประชาสัมพันธ์ มสด. "ทุกวันนี้ ภูมิใจในตัวเองมาก เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และรับผิดชอบตัวเองได้อย่างดี ไม่เป็นภาระของครอบครัว ขอขอบคุณคุณพ่อ-แม่ ที่สนับสนุนและให้กำลังใจเสมอมา และขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และขอบคุณสังคมไทย ที่มอบโอกาสในการด้านการศึกษและขอบคุณบริษัท บอส เอาท์ซอร์สซิ่ง เซอร์วิส จำกัด ที่ให้โอกาสทำงาน" นงนภา ศรีวิไลเจริญ (น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2554-2555 ที่ผ่านมา กล่าว น้องภา เป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 5 คน ของกฤษดา และอุษณีษ์ ศรีวิไลเจริญ เป็นเจ้าของกิจการขายของ เช่น สีทาบ้าน ตะปู ก๊อกน้ำ เกี่ยวกับอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นคนเดียวที่บกพร่องทางการได้ยิน ทั้งที่เกิดมาเป็นเด็กปกติ เรียนอนุบาลที่โรงเรียนบ้านท่าเสด็จ แต่ตอนอายุ 5 ขวบ น้องภาไม่สบายมากและเป็นหวัด รับประทานยาแก้หวัดจนแพ้ยาทำให้หูไม่ได้ยินเสียงอะไร ตอนนั้นแม่ตกใจมากร้องไห้ แม่และพี่ช่วยพาไปหาหมอหลายโรงพยาบาลมาก แต่ไม่สามารถรักษาหายได้ กระทั่งพ่อแม่พาไปเรียนฝึกพูดที่โรงพยาบาลศิริราชและช่วยกันหาโรงเรียนที่ รับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียน ได้พบโรงเรียนวัดโพคอย น้องภาเรียนที่โรงเรียนวัดโพคอย ป.1-ป.6 ด้วยความที่แม่เป็นห่วงไม่อยากให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่ กทม.เพราะยังเด็ก ครูที่โรงเรียนวัดโพคอยแนะนำให้ไปเรียนมัธยมตอนต้น (กศน.โรงเรียนอำเภอบางปลาม้า) และช่วยสอนจนเรียนจบมัธยมตอนต้น จากนั้นไปเรียนต่อ ม.4 ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ที่สอนคนหูหนวกตามรุ่นพี่ เริ่มต้นเรียน ม.1 ใหม่ เรียนฝึกภาษามือและเรียนฝึกพูดที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์และที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อฝึกพูดและฝึกอ่านริมฝีปาก เพราะจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำและมักเขียนสลับ จบ ม.6 จึงเรียนต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เรียนคณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาพิเศษ หลักสูตร 5 ปี เพราะมีครูล่าม แรกๆ เรียนยากมาก เพราะภาษามือแต่ละโรงเรียนแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน แต่พยายามสู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ฝึกเรียนรู้ภาษามือจนชินภาษามือของมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเรียนรู้ได้เท่าเพื่อนปกติและพี่ช่วยพาไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษใกล้บ้าน พอจบเทอม 1 ได้เกรด 3.5 แต่ไม่ได้ที่ 1 ของห้อง พอเข้าเทอม 2 ตั้งใจเรียน พยายามอ่านหนังสือและฝึกเขียนหนังสือมากกว่าเพื่อนปกติเป็น 2 เท่า เป็น 3 เท่า เวลาไม่เข้าใจถามครูล่ามให้ช่วยถามครูสอน เวลาไม่เข้าใจงานที่ครูสอน ครูสั่ง จะไปห้อง DSS เพื่อถามครูล่ามช่วยอธิบายขั้นตอนทำรายงานเพิ่มเติม พอเรียนปี 3-5 สนิทกับเพื่อนปกติ เวลาไม่เข้าใจว่าครูสั่งงานอะไร ถามเพื่อนปกติช่วยอธิบายงานให้ฟัง จนสามารถเรียนจบหลักสูตร 5 ปี "ขอบคุณพ่อ แม่ พี่น้อง ครูและเพื่อนทุกคนที่ช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือให้หนูเรียนรู้และสามารถเรียน ได้จบ มสด. ทุกคนพยายามเข้าใจ และช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS ถือเป็นแรงผลักดันที่ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จ เพราะมีล่ามมือคอยคอยแปลเนื้อหาการเรียนให้ จนทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป และพยายามทำทุกอย่างด้วยสมอง และสองมือของตนเอง อย่างสุดความสามารถ ต้องกล้าที่จะถามเมื่อไม่เข้าใจ อดทน และมุ่งมั่น ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้" น้องภา กล่าว ขณะที่ อาจารย์สิริลักษณ์ มณีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ Disability Support Services : DSS คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS มีหน้าที่หลักในการช่วยเหลือนักศึกษาพิการเรียนร่วมกว่า 127 คน แบ่งเป็นนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น, บกพร่องทางการได้ยิน, บกพร่อง ออทิสติก และแอลดี และนักศึกษาบกพร่องทางร่างกาย เรียนทั้งหมด 7 หลักสูตร ตามศักยภาพของนักศึกษา อาทิ หลักสูตรภาษาไทย, หลักสูตรคหกรรมศาสตร์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลามีนักเรียนพิการเข้าเรียนร่วมภายในชั้นเรียน DSS จะส่งอาจารย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ล่ามภาษามือแปลเนื้อหาไปนักศึกษา เอื้ออำนวยการจัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ หรือแม้กระทั่งการช่วยอ่านข้อสอบ ทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ หวังให้นักศึกษาพิการเรียนร่วมประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและดำรงชีวิตใน สังคม น้องภา นักศึกษาพิการเรียนร่วมคนแรกที่คว้าเกียรตินิยมมาครอง ฝากถึงน้องๆ ที่มีความบกพร่อง ขอให้คิดเสมอว่า เราเกิดมาพิการเพียงร่างกาย แต่ใจเราไม่ได้พิการ ถ้าทุกอย่างที่คนปกติส่วนใหญ่ทำได้ ก็คิดว่าตัวเองทำได้เช่นกัน ถ้าเราไม่ดูถูกตัวเอง คนอื่นก็จะเกิดศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเราเช่นกัน ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130804/164947/ขอบคุณแม่พ่อที่ทำให้มีวันนี้.html#.Uf3Cl6yegtU คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...