คอลัมน์ เด็กมอขอแจม : ชีวิตไม่เคยสวมเครื่องแบบ ความในใจ...’หนูเล็ก’น.ศ.วีลแชร์
“การเรียนไม่มีคำว่าสาย ไม่สายที่จะเรียน ทุกคนมีปัญหาหมดไม่ว่าจะพิการหรือไม่พิการ ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบหรือไม่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องคิดไว้เสมอว่ามีพรุ่งนี้ต้องเดิน เช่นเดียวกันดิฉันก็มีปัญหาในส่วนของร่างกายพิการ เป็นปัญหาที่มันจะไม่หายไปจากชีวิต แต่เพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขในสังคม ต้องสุขในการยอมรับมัน เท่านั้นเอง ก็จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข”
สวัสดีค่ะ ดิฉัน “หนูเล็ก” น.ส.รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ภาคสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เฟรชชี่วัย 31 ปี สาวเชียงใหม่ พิการขาทั้ง 2 ข้าง ใช้ชีวิตบนวีลแชร์มาตั้งแต่ 10 ขวบ ปัจจุบันทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ call center dtac ประจำศูนย์รังสิต คลอง 5
สาเหตุของความพิการทางกายระดับที่ 4 เกิดมาจากตอน 2 ขวบ โดนรถกระบะถอยหลังมาเหยียบ จนเมื่ออายุ 8 ขวบ เพื่อไม่ให้แผลเน่าและติดเชื้อจึงต้องตัดขาทั้ง 2 ข้าง 8 ปีที่ต้องใช้ชีวิตในโรงพยาบาล ต้องคอยรักษาแผล ฝึกการใช้ชีวิตด้วยตนเอง จนเมื่ออายุ 10 ขวบ ได้มีวีลแชร์เป็นของตนเอง เป็นการเริ่มต้นการใช้ชีวิตบนวีลแชร์ ชีวิตไม่เคยได้เรียนอนุบาลเหมือนกับเพื่อนๆ เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่เด็ก อาศัยการสอนของคุณตาคุณยาย คุณแม่ และพยาบาลที่โรงพยาบาลช่วยสอนท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อยากอยู่ได้ด้วยตนเอง ถ้าไม่มีความรู้ จะทำอะไรเป็น ตั้งใจว่าจะต้องทำงานหาเลี้ยงตนเองให้ได้ จึงเข้าเรียน กศน.ศูนย์เชียงใหม่
เนื่องจากการเรียนในระดับ กศน. สะดวกสำหรับตัวเอง สามารถเทียบระดับได้ ไม่ต้องเรียนในห้องเรียนหรือตามระยะเวลา เนื่องจากมีความพิการทางร่างกาย จนในที่สุดจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่เรียนจบได้เข้าทำงานประชาสัมพันธ์ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นย้ายไปทำงาน “เลขาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม” ในช่วงที่เป็นเลขาฯ ได้สอบเข้าศึกษาสาขาบริหารคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ แต่เรียนได้ 2 ปี ต้องดร็อปการศึกษา เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของเงิน หลังจากที่ทราบข่าวว่าดีแทคเปิดรับสมัครคอล เซ็นเตอร์ (call center) จึงตัดสินใจมาสอบ และได้เข้าทำงานที่นี่ 5 ปี ของการทำงาน ได้เรียนรู้ชีวิตของเพื่อนร่วมงาน น้องๆ ที่เข้าไปทำงานทั้งพาร์ตไทม์ (part time) และประจำ ทุกคนมีความรู้ เรียนในระดับปริญญาตรี ดิฉันจึงอยากที่จะเรียนเพื่อขยายโอกาสในการทำงานในอนาคต อยากมีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น
สาเหตุที่ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยเปิด เนื่องจากอยากจะเรียนกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน อย่างน้อยได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียน หรือคิดอีกทาง อยากเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คน ที่ไม่มีกำลังใจในการเรียน ได้เห็นว่าขนาดพิการยังมีความพยายามที่จะมาเรียน
“สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์” เป็นสาขาที่ชอบ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับงานที่ทำในปัจจุบัน ตอนแรกที่รู้ว่าสอบติดที่ มทร.ธัญบุรี ดีใจมาก ไม่คิดว่าจะสอบติดที่นี่ เพราะว่าตอนสอบข้อสอบยากมาก เนื่องจากเรียนสาย กศน. มา ตอนสอบคณิตศาสตร์ คิดไว้ในใจว่าคงสอบไม่ติด แต่ต้องขอบคุณน้องๆ เพื่อนๆ ร่วมงานที่หาหนังสือและติวก่อนสอบให้
ภูมิใจที่สอบติดที่นี่ “ครั้งหนึ่งในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และเป็นครั้งแรกที่ได้สวมชุดเครื่องแบบนักศึกษา ซึ่งตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่เคยได้สวมเครื่องแบบไปเรียนเหมือนกับคนอื่น การเรียนในครั้งนี้ นอกจากความรู้วิชาการและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งที่ได้ คือ การรู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง ต้องพยายามเป็นสองเท่า เนื่องจากร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แบบ คิดเสมอว่า “ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ตนเองจะต้องหาโอกาสทางการศึกษาให้ได้ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ วิชาการความรู้ที่จะติดตัวเราไปจนตาย”
ปัจจุบันคนพิการได้รับโอกาสจากสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะในเรื่องของการทำงาน หรือแม้กระทั่งโอกาสทางการศึกษา มีทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อเทียบกับในอดีตสมัยตอนที่ดิฉันเป็นเด็ก ซึ่งน้อยมากที่คนพิการจะได้รับโอกาสทางสังคม 31 ปี ที่ใช้ชีวิตต้องใช้วีลแชร์ ซึ่งไม่เคยเดินเหมือนกับคนอื่น มีบ้างที่ท้อแท้ “มันเป็นอารมณ์ที่แวบเข้ามาในความคิด”อยากแต่งตัวสวยๆ อยากเดินได้ ถ้าเราเดินได้ แต่งตัวสวยๆ เหมือนคนอื่นจะเป็นอย่างไร แต่ความคิดพวกนั้น ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป เพราะว่าตนเองใช้ชีวิตเหมือนกับคนปกติ “มีความคิดเหมือนกัน เพียงแต่ร่างกายไม่เหมือนกัน”
ปัจจุบันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านพรพิมาน คลอง 5 กับน้องหมาอีก 1 ตัว ชื่อดูดี ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ขี่มอไซค์สามล้อออกมาทำงาน ทำงานตั้งแต่ 08.00-19.00 น. เวลาว่างๆ จะไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ร่วมงาน และจะมีพี่จ๋า น.ส.อรนุช เกิดพุ่ม ว่างจากการทำงานมาช่วยดูแล เวลาที่จะไปธุระ เช่น ไปสอบ โดยคุณตาคุณยายและคุณแม่เดินทางมาจากเชียงใหม่มาเยี่ยมที่บ้าน ตนเองโชคดีที่มีครอบครัว เพื่อนร่วมงานให้โอกาสที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม “ล้มแล้วลุก ปัดฝุ่นแล้วเดินต่อ” ถึงแม้คนว่าล้ม แต่ก็ต้องลุก อาจจะมีฝุ่นเกาะระหว่างที่ล้ม แต่ยังไงก็ต้องเดินหน้าต่อไป…
dekmo_khojam@matichon.co.th
รัตนภรณ์ รัตนวงษ์
ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีฯ
ภาคสมทบ มทร.ธัญบุรี
ขอบคุณ... http://www.news.rmutt.ac.th/archives/33458
news.rmutt.ac.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 พ.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ส.รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ พิการนั่งเก้าอี้เข็ญ “การเรียนไม่มีคำว่าสาย ไม่สายที่จะเรียน ทุกคนมีปัญหาหมดไม่ว่าจะพิการหรือไม่พิการ ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบหรือไม่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องคิดไว้เสมอว่ามีพรุ่งนี้ต้องเดิน เช่นเดียวกันดิฉันก็มีปัญหาในส่วนของร่างกายพิการ เป็นปัญหาที่มันจะไม่หายไปจากชีวิต แต่เพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขในสังคม ต้องสุขในการยอมรับมัน เท่านั้นเอง ก็จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข” สวัสดีค่ะ ดิฉัน “หนูเล็ก” น.ส.รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ภาคสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เฟรชชี่วัย 31 ปี สาวเชียงใหม่ พิการขาทั้ง 2 ข้าง ใช้ชีวิตบนวีลแชร์มาตั้งแต่ 10 ขวบ ปัจจุบันทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ call center dtac ประจำศูนย์รังสิต คลอง 5 น.ส.รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ พิการนั่งเก้าอี้เข็ญ และกลุ่มเพื่อนๆ สาเหตุของความพิการทางกายระดับที่ 4 เกิดมาจากตอน 2 ขวบ โดนรถกระบะถอยหลังมาเหยียบ จนเมื่ออายุ 8 ขวบ เพื่อไม่ให้แผลเน่าและติดเชื้อจึงต้องตัดขาทั้ง 2 ข้าง 8 ปีที่ต้องใช้ชีวิตในโรงพยาบาล ต้องคอยรักษาแผล ฝึกการใช้ชีวิตด้วยตนเอง จนเมื่ออายุ 10 ขวบ ได้มีวีลแชร์เป็นของตนเอง เป็นการเริ่มต้นการใช้ชีวิตบนวีลแชร์ ชีวิตไม่เคยได้เรียนอนุบาลเหมือนกับเพื่อนๆ เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่เด็ก อาศัยการสอนของคุณตาคุณยาย คุณแม่ และพยาบาลที่โรงพยาบาลช่วยสอนท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อยากอยู่ได้ด้วยตนเอง ถ้าไม่มีความรู้ จะทำอะไรเป็น ตั้งใจว่าจะต้องทำงานหาเลี้ยงตนเองให้ได้ จึงเข้าเรียน กศน.ศูนย์เชียงใหม่ เนื่องจากการเรียนในระดับ กศน. สะดวกสำหรับตัวเอง สามารถเทียบระดับได้ ไม่ต้องเรียนในห้องเรียนหรือตามระยะเวลา เนื่องจากมีความพิการทางร่างกาย จนในที่สุดจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่เรียนจบได้เข้าทำงานประชาสัมพันธ์ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นย้ายไปทำงาน “เลขาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม” ในช่วงที่เป็นเลขาฯ ได้สอบเข้าศึกษาสาขาบริหารคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ แต่เรียนได้ 2 ปี ต้องดร็อปการศึกษา เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของเงิน หลังจากที่ทราบข่าวว่าดีแทคเปิดรับสมัครคอล เซ็นเตอร์ (call center) จึงตัดสินใจมาสอบ และได้เข้าทำงานที่นี่ 5 ปี ของการทำงาน ได้เรียนรู้ชีวิตของเพื่อนร่วมงาน น้องๆ ที่เข้าไปทำงานทั้งพาร์ตไทม์ (part time) และประจำ ทุกคนมีความรู้ เรียนในระดับปริญญาตรี ดิฉันจึงอยากที่จะเรียนเพื่อขยายโอกาสในการทำงานในอนาคต อยากมีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น สาเหตุที่ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยเปิด เนื่องจากอยากจะเรียนกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน อย่างน้อยได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียน หรือคิดอีกทาง อยากเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คน ที่ไม่มีกำลังใจในการเรียน ได้เห็นว่าขนาดพิการยังมีความพยายามที่จะมาเรียน น.ส.รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ พิการนั่งเก้าอี้เข็ญ และกลุ่มเพื่อนๆ ในสายอาชีพ call center “สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์” เป็นสาขาที่ชอบ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับงานที่ทำในปัจจุบัน ตอนแรกที่รู้ว่าสอบติดที่ มทร.ธัญบุรี ดีใจมาก ไม่คิดว่าจะสอบติดที่นี่ เพราะว่าตอนสอบข้อสอบยากมาก เนื่องจากเรียนสาย กศน. มา ตอนสอบคณิตศาสตร์ คิดไว้ในใจว่าคงสอบไม่ติด แต่ต้องขอบคุณน้องๆ เพื่อนๆ ร่วมงานที่หาหนังสือและติวก่อนสอบให้ ภูมิใจที่สอบติดที่นี่ “ครั้งหนึ่งในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และเป็นครั้งแรกที่ได้สวมชุดเครื่องแบบนักศึกษา ซึ่งตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่เคยได้สวมเครื่องแบบไปเรียนเหมือนกับคนอื่น การเรียนในครั้งนี้ นอกจากความรู้วิชาการและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งที่ได้ คือ การรู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง ต้องพยายามเป็นสองเท่า เนื่องจากร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แบบ คิดเสมอว่า “ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ตนเองจะต้องหาโอกาสทางการศึกษาให้ได้ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ วิชาการความรู้ที่จะติดตัวเราไปจนตาย” ปัจจุบันคนพิการได้รับโอกาสจากสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะในเรื่องของการทำงาน หรือแม้กระทั่งโอกาสทางการศึกษา มีทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อเทียบกับในอดีตสมัยตอนที่ดิฉันเป็นเด็ก ซึ่งน้อยมากที่คนพิการจะได้รับโอกาสทางสังคม 31 ปี ที่ใช้ชีวิตต้องใช้วีลแชร์ ซึ่งไม่เคยเดินเหมือนกับคนอื่น มีบ้างที่ท้อแท้ “มันเป็นอารมณ์ที่แวบเข้ามาในความคิด”อยากแต่งตัวสวยๆ อยากเดินได้ ถ้าเราเดินได้ แต่งตัวสวยๆ เหมือนคนอื่นจะเป็นอย่างไร แต่ความคิดพวกนั้น ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป เพราะว่าตนเองใช้ชีวิตเหมือนกับคนปกติ “มีความคิดเหมือนกัน เพียงแต่ร่างกายไม่เหมือนกัน” ปัจจุบันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านพรพิมาน คลอง 5 กับน้องหมาอีก 1 ตัว ชื่อดูดี ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ขี่มอไซค์สามล้อออกมาทำงาน ทำงานตั้งแต่ 08.00-19.00 น. เวลาว่างๆ จะไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ร่วมงาน และจะมีพี่จ๋า น.ส.อรนุช เกิดพุ่ม ว่างจากการทำงานมาช่วยดูแล เวลาที่จะไปธุระ เช่น ไปสอบ โดยคุณตาคุณยายและคุณแม่เดินทางมาจากเชียงใหม่มาเยี่ยมที่บ้าน ตนเองโชคดีที่มีครอบครัว เพื่อนร่วมงานให้โอกาสที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม “ล้มแล้วลุก ปัดฝุ่นแล้วเดินต่อ” ถึงแม้คนว่าล้ม แต่ก็ต้องลุก อาจจะมีฝุ่นเกาะระหว่างที่ล้ม แต่ยังไงก็ต้องเดินหน้าต่อไป… dekmo_khojam@matichon.co.th รัตนภรณ์ รัตนวงษ์ ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีฯ ภาคสมทบ มทร.ธัญบุรี ขอบคุณ... http://www.news.rmutt.ac.th/archives/33458 news.rmutt.ac.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 พ.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)