หนึ่งสมองสองร่าง
แฝดสยามเพศหญิงชาวแคนาดามีสมองเชื่อมติดกัน เมื่อคนใดคนหนึ่งรับสัมผัสและอารมณ์ต่าง ๆ อีกคนก็รู้สึกเช่นกัน นักวิจัยสมองหวังว่าแฝดหญิงคู่นี้จะช่วยหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญคำถามหนึ่ง ของมนุษยชาติ นั่นคือ ความรู้ตัว (consciousness) คืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เด็กหญิงฝาแฝดชาวแคนาดาชื่อทาเทียน่ากับคริสต้า โฮแกน เป็นเด็กที่แปลกไม่เหมือนใครในโลก โดยนอกจากศีรษะจะติดกันจนถึงคอแล้ว ทั้งสองยังใช้สมองส่วนสำคัญร่วมกันอีกด้วย ศูนย์ควบคุมการมองเห็นของเด็กทั้งสองเชื่อมติดกันและมีสัญญาณประสาทหลั่งไหลไปมา ระหว่างสมองของทั้งคู่ เมื่อแฝดคนหนึ่งมองอะไร อีกคนก็เห็นสิ่งนั้นด้วยแม้ว่าตาจะมองไปคนละทิศ พ่อแม่ของทาเทียน่าและคริสต้า เล่าว่าบางครั้งทาเทียน่าจะหัวเราะไปกับหนังการ์ตูนทางโทรทัศน์ แม้ว่าเครื่องรับโทรทัศน์จะตั้งอยู่ข้างหลังเธอ และมีคริสต้าเพียงคนเดียวที่มองเห็น
การมีสมองเดียวในสองร่างแบบทาเทียน่ากับคริสต้านี้นับว่าหาได้ยากยิ่ง แฝดสยามส่วนใหญ่ที่เกิดมามีศีรษะติดกันจะมีส่วนที่เชื่อมติดกันเพียงแค่ กะโหลกศีรษะและระบบไหลเวียนโลหิตบางส่วน ทำให้สมองของทั้งสองใช้โลหิตร่วมกัน แฝดสยามลักษณะนี้มีเพียง ร้อยละ 6 และพบในทารกเพียง 1 ใน 2.5 ล้านรายเท่านั้น ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกามีแฝดสยามที่เกิดมามีศีรษะติดกันเพียงปีละไม่ กี่ราย เกือบครึ่งหนึ่งเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ ในครรภ์ และอีกร้อยละ 25 จะเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ทาเทียน่ากับคริสต้า รอดชีวิตมาจนโต ปัจจุบันอายุ 6 ขวบและมีพัฒนาการในเรื่องสำคัญ ๆ เหมือนเด็กทั่วไปการวิจัยที่ถูกโต้แย้ง
ดักลาส ค็อกแรน ประสาทศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็กแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ติดตามศึกษาฝาแฝดคู่นี้มาตั้งแต่เกิด และได้ตรวจร่างกายทั้งสองมาหลายครั้งเมื่อ ทาเทียน่ากับคริสต้าอายุ 2 ขวบ หมอค็อกแรน ทำการทดลองปิดตาคริสต้าแล้วติดอิเล็กโทรดบนศีรษะของเธอเพื่อตรวจความเปลี่ยน แปลงของศูนย์ควบคุมการมองเห็นที่เชื่อมติดกับของทาเทียน่า เมื่อหมอฉายไฟฉายเบื้องหน้าทาเทียน่า อิเล็กโทรดบนศีรษะของคริสต้าชี้ว่าเกิดปฏิกิริยาอย่างแรง ซึ่งบ่งบอกว่าศูนย์ควบคุมการมองเห็นของคริสต้าก็ได้รับข้อมูล สิ่งที่ทาเทียน่าเห็น ผลการศึกษาของค็อกแรน ครั้งนั้นไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ และผู้ที่ไม่เห็นด้วยบางคนก็บอกว่าไม่ควรด่วนสรุปในเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี หมอค็อกแรนเชื่อว่านอกจากฝาแฝดคู่นี้จะมีประสบการณ์ทางการมองเห็นร่วมกันแล้ว ยังมีประสาทสัมผัสอย่างอื่นร่วมกันด้วย หลายคนที่เคยอยู่ใกล้ชิดเด็กทั้งสองก็ยืนยัน เช่น เดียวกัน โดยแม่ของเด็กเล่าว่าเมื่อทาเทียน่ากับคริสต้ายังเล็ก เพียงเอาหัวนมหลอกใส่ปากคนใดคนหนึ่ง ทั้งสองคนจะหยุดโยเยทันที ส่วนหมอ ที่เคยตรวจทั้งสองก็บอกว่าถ้าเจาะเลือดคนใดคนหนึ่ง อีกคนก็จะร้องด้วย
สมองเชื่อมติดกัน จึงใช้ประสาทสัมผัสร่วมกันผลการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าสมองของสองพี่น้อง เชื่อมติดกันบริเวณตรงกลางของสมองกลีบท้ายทอย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตา และสมองกลีบขมับซึ่งทำหน้าที่ประสานงานสิ่งที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด แต่ส่วนอื่นของสมอง เช่น สมองกลีบหน้า ซึ่งเป็นที่เก็บความคิด ความเห็น และการตัดสินใจต่าง ๆ นั้นแยกกันอย่างสิ้นเชิง สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าฝาแฝดคู่นี้มีบุคลิกแตกต่างกัน แม่ของทั้งสองบอกว่าทาเทียน่าเป็นเด็กร่าเริง ส่วนคริสต้านั้น อารมณ์ร้อน ขี้โมโห เวลาไม่พอใจมักจะตีหรือข่วนพี่สาวฝาแฝดเป็นประจำดักลาส ค็อกแรนบอกว่าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสร่วมกันของเด็กทั้งสองไม่ได้เป็นเพราะสมองกลีบท้ายทอยและกลีบขมับเชื่อมติดกัน แต่เป็นผลมาจากสิ่งที่เรียกว่า “สะพานทาลามัส” (thalamic bridge) ทาลามัสคือส่วนหนึ่งของสมอง มีขนาดเท่าลูกวอลนัท อยู่ลึกลงไปในสมองส่วนกลาง และทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทจากเซลล์รับสัมผัสต่าง ๆ ทั่วร่างกายไปยังบริเวณที่เกี่ยวข้องในเปลือกสมองใหญ่ เมื่อแสงสว่างตกกระทบจอประสาทตา สัญญาณประสาทจะถูกส่งไปยังศูนย์ควบคุมการมองเห็นในสมองกลีบท้ายทอยโดยผ่านทา ลามัส ประสาทสัมผัสอื่นๆ (ยกเว้นประสาทรับกลิ่น) ก็ทำงานในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีกระแสประสาทจำนวนมากไหลไปกลับจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอีก ด้วย
แม้ทาลามัสของทาเทียน่ากับคริสต้า จะอยู่แยกกัน แต่หมอค็อกแรนเชื่อว่าสมองส่วนดังกล่าวของสองฝาแฝดมี “สะพานทาลามัส” เชื่อมต่อกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่เด็กคนหนึ่งได้รับจะเดินทางจากทาลามัสของเธอไปยัง ทาลามัสของพี่สาวหรือน้องสาวฝาแฝด แล้วจึงเดินทางต่อไปยังศูนย์ควบคุมการมองเห็น การฟัง และการสัมผัส ผลก็คืออีกคนมองเห็น ได้ยิน และรู้สึกเหมือนกับที่พี่หรือน้องฝาแฝดประสบทุกประการ
ทาลามัสยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรู้ตัว ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมองที่นักวิทยาศาสตร์รู้และเข้าใจน้อยที่สุด นักวิจัยหวังว่าแฝดสยามคู่นี้จะช่วยให้พวกเขาก้าวถูกทางในการทำความเข้าใจ ว่าสมองสามารถบ่งชี้และทำความเข้าใจว่าอะไร คือข้อมูลที่สำคัญที่สุดในบรรดาข้อมูลมากมายมหาศาลที่ได้รับ ซึ่งความสามารถส่วนนี้ของสมองช่วยให้เราสามารถรู้ได้ว่าตนเองมีความสัมพันธ์ อย่างไรกับสิ่งที่อยู่รอบข้าง และทำให้เราเป็นมนุษย์ที่มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัว
ตัวอย่างการทดลองที่ไม่เหมือนใคร นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เกิดความหวังจากกรณีของทาเทียน่าและคริสต้าคือ ทอดด์ ไฟน์เบิร์กแห่งวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในนิวยอร์ก ไฟน์เบิร์กได้ศึกษาความรู้สึกตัวของผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสมองสองซีกถูกตัดขาด ทำให้ไม่สามารถสื่อข้อมูลหรือการกระทำของประสาทสัมผัสที่ควบคุมโดยสมองซีก หนึ่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังสมองอีกซีกหนึ่ง ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องมีเพื่อให้ข้อมูลหรือการกระทำของประสาทสัมผัสนั้นๆ เป็น ส่วนหนึ่งของการรู้ตัวของผู้ป่วยได้ ตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยรู้สึกว่ามือข้างหนึ่งกำลังทำอะไรบางอย่างโดยที่ตนเองไม่ตระหนักหรือ ไม่ต้องการทำ แต่กรณีของทาเทียน่ากับคริสต้านั้นตรงกันข้าม โดยแฝดคนหนึ่งรับรู้ได้ถึงสิ่งที่พี่หรือน้องฝา แฝดได้เห็นหรือสัมผัส
นักวิทยาศาสตร์หวังว่าการศึกษาเด็กทั้งสองจะช่วยให้หาคำตอบได้ว่าแฝดคู่ นี้รับรู้ข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ได้รับผ่านดวงตา หู หรือนิ้วของอีกคนได้อย่างไร สมมุติว่าทาเทียน่ากอดตุ๊กตาหมี คริสต้าจะรู้สึกสบายใจเหมือนได้กอดตุ๊กตาเองหรือไม่ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำการทดลองได้ครบอย่างที่ต้องการ เนื่องจากสแกนเนอร์ที่ต้องใช้ในการวิจัยลักษณะนี้ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสแกน แฝดสยาม และเด็กทั้งสองก็ยังเล็กเกินกว่าจะมีส่วนร่วมในการทดลอง เพราะยังพูดไม่ได้และยังไม่เข้าใจว่าต้องทำอะไร
ขณะนี้ทาเทียน่ากับคริสต้าเข้าโรงเรียนแล้ว และตั้งตารอการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นักวิทยาศาสตร์ก็นับวันรอที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับสมองและความรู้ตัวของมนุษย์จากเด็กทั้งสองเช่นกัน.ข้อมูลจากนิตยสาร ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=221469
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แฝดเพศหญิงชาวแคนาดามีสมองเชื่อมติดกัน แฝดสยามเพศหญิงชาวแคนาดามีสมองเชื่อมติดกัน เมื่อคนใดคนหนึ่งรับสัมผัสและอารมณ์ต่าง ๆ อีกคนก็รู้สึกเช่นกัน นักวิจัยสมองหวังว่าแฝดหญิงคู่นี้จะช่วยหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญคำถามหนึ่ง ของมนุษยชาติ นั่นคือ ความรู้ตัว (consciousness) คืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร? เด็กหญิงฝาแฝดชาวแคนาดาชื่อทาเทียน่ากับคริสต้า โฮแกน เป็นเด็กที่แปลกไม่เหมือนใครในโลก โดยนอกจากศีรษะจะติดกันจนถึงคอแล้ว ทั้งสองยังใช้สมองส่วนสำคัญร่วมกันอีกด้วย ศูนย์ควบคุมการมองเห็นของเด็กทั้งสองเชื่อมติดกันและมีสัญญาณประสาทหลั่งไหลไปมา ระหว่างสมองของทั้งคู่ เมื่อแฝดคนหนึ่งมองอะไร อีกคนก็เห็นสิ่งนั้นด้วยแม้ว่าตาจะมองไปคนละทิศ พ่อแม่ของทาเทียน่าและคริสต้า เล่าว่าบางครั้งทาเทียน่าจะหัวเราะไปกับหนังการ์ตูนทางโทรทัศน์ แม้ว่าเครื่องรับโทรทัศน์จะตั้งอยู่ข้างหลังเธอ และมีคริสต้าเพียงคนเดียวที่มองเห็น การมีสมองเดียวในสองร่างแบบทาเทียน่ากับคริสต้านี้นับว่าหาได้ยากยิ่ง แฝดสยามส่วนใหญ่ที่เกิดมามีศีรษะติดกันจะมีส่วนที่เชื่อมติดกันเพียงแค่ กะโหลกศีรษะและระบบไหลเวียนโลหิตบางส่วน ทำให้สมองของทั้งสองใช้โลหิตร่วมกัน แฝดสยามลักษณะนี้มีเพียง ร้อยละ 6 และพบในทารกเพียง 1 ใน 2.5 ล้านรายเท่านั้น ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกามีแฝดสยามที่เกิดมามีศีรษะติดกันเพียงปีละไม่ กี่ราย เกือบครึ่งหนึ่งเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ ในครรภ์ และอีกร้อยละ 25 จะเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ทาเทียน่ากับคริสต้า รอดชีวิตมาจนโต ปัจจุบันอายุ 6 ขวบและมีพัฒนาการในเรื่องสำคัญ ๆ เหมือนเด็กทั่วไปการวิจัยที่ถูกโต้แย้ง ดักลาส ค็อกแรน ประสาทศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็กแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ติดตามศึกษาฝาแฝดคู่นี้มาตั้งแต่เกิด และได้ตรวจร่างกายทั้งสองมาหลายครั้งเมื่อ ทาเทียน่ากับคริสต้าอายุ 2 ขวบ หมอค็อกแรน ทำการทดลองปิดตาคริสต้าแล้วติดอิเล็กโทรดบนศีรษะของเธอเพื่อตรวจความเปลี่ยน แปลงของศูนย์ควบคุมการมองเห็นที่เชื่อมติดกับของทาเทียน่า เมื่อหมอฉายไฟฉายเบื้องหน้าทาเทียน่า อิเล็กโทรดบนศีรษะของคริสต้าชี้ว่าเกิดปฏิกิริยาอย่างแรง ซึ่งบ่งบอกว่าศูนย์ควบคุมการมองเห็นของคริสต้าก็ได้รับข้อมูล สิ่งที่ทาเทียน่าเห็น ผลการศึกษาของค็อกแรน ครั้งนั้นไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ และผู้ที่ไม่เห็นด้วยบางคนก็บอกว่าไม่ควรด่วนสรุปในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี หมอค็อกแรนเชื่อว่านอกจากฝาแฝดคู่นี้จะมีประสบการณ์ทางการมองเห็นร่วมกันแล้ว ยังมีประสาทสัมผัสอย่างอื่นร่วมกันด้วย หลายคนที่เคยอยู่ใกล้ชิดเด็กทั้งสองก็ยืนยัน เช่น เดียวกัน โดยแม่ของเด็กเล่าว่าเมื่อทาเทียน่ากับคริสต้ายังเล็ก เพียงเอาหัวนมหลอกใส่ปากคนใดคนหนึ่ง ทั้งสองคนจะหยุดโยเยทันที ส่วนหมอ ที่เคยตรวจทั้งสองก็บอกว่าถ้าเจาะเลือดคนใดคนหนึ่ง อีกคนก็จะร้องด้วย สมองเชื่อมติดกัน จึงใช้ประสาทสัมผัสร่วมกันผลการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าสมองของสองพี่น้อง เชื่อมติดกันบริเวณตรงกลางของสมองกลีบท้ายทอย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตา และสมองกลีบขมับซึ่งทำหน้าที่ประสานงานสิ่งที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด แต่ส่วนอื่นของสมอง เช่น สมองกลีบหน้า ซึ่งเป็นที่เก็บความคิด ความเห็น และการตัดสินใจต่าง ๆ นั้นแยกกันอย่างสิ้นเชิง สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าฝาแฝดคู่นี้มีบุคลิกแตกต่างกัน แม่ของทั้งสองบอกว่าทาเทียน่าเป็นเด็กร่าเริง ส่วนคริสต้านั้น อารมณ์ร้อน ขี้โมโห เวลาไม่พอใจมักจะตีหรือข่วนพี่สาวฝาแฝดเป็นประจำดักลาส ค็อกแรนบอกว่าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสร่วมกันของเด็กทั้งสองไม่ได้เป็นเพราะสมองกลีบท้ายทอยและกลีบขมับเชื่อมติดกัน แต่เป็นผลมาจากสิ่งที่เรียกว่า “สะพานทาลามัส” (thalamic bridge) ทาลามัสคือส่วนหนึ่งของสมอง มีขนาดเท่าลูกวอลนัท อยู่ลึกลงไปในสมองส่วนกลาง และทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทจากเซลล์รับสัมผัสต่าง ๆ ทั่วร่างกายไปยังบริเวณที่เกี่ยวข้องในเปลือกสมองใหญ่ เมื่อแสงสว่างตกกระทบจอประสาทตา สัญญาณประสาทจะถูกส่งไปยังศูนย์ควบคุมการมองเห็นในสมองกลีบท้ายทอยโดยผ่านทา ลามัส ประสาทสัมผัสอื่นๆ (ยกเว้นประสาทรับกลิ่น) ก็ทำงานในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีกระแสประสาทจำนวนมากไหลไปกลับจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอีก ด้วย แม้ทาลามัสของทาเทียน่ากับคริสต้า จะอยู่แยกกัน แต่หมอค็อกแรนเชื่อว่าสมองส่วนดังกล่าวของสองฝาแฝดมี “สะพานทาลามัส” เชื่อมต่อกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่เด็กคนหนึ่งได้รับจะเดินทางจากทาลามัสของเธอไปยัง ทาลามัสของพี่สาวหรือน้องสาวฝาแฝด แล้วจึงเดินทางต่อไปยังศูนย์ควบคุมการมองเห็น การฟัง และการสัมผัส ผลก็คืออีกคนมองเห็น ได้ยิน และรู้สึกเหมือนกับที่พี่หรือน้องฝาแฝดประสบทุกประการ ทาลามัสยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรู้ตัว ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมองที่นักวิทยาศาสตร์รู้และเข้าใจน้อยที่สุด นักวิจัยหวังว่าแฝดสยามคู่นี้จะช่วยให้พวกเขาก้าวถูกทางในการทำความเข้าใจ ว่าสมองสามารถบ่งชี้และทำความเข้าใจว่าอะไร คือข้อมูลที่สำคัญที่สุดในบรรดาข้อมูลมากมายมหาศาลที่ได้รับ ซึ่งความสามารถส่วนนี้ของสมองช่วยให้เราสามารถรู้ได้ว่าตนเองมีความสัมพันธ์ อย่างไรกับสิ่งที่อยู่รอบข้าง และทำให้เราเป็นมนุษย์ที่มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัว ตัวอย่างการทดลองที่ไม่เหมือนใคร นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เกิดความหวังจากกรณีของทาเทียน่าและคริสต้าคือ ทอดด์ ไฟน์เบิร์กแห่งวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในนิวยอร์ก ไฟน์เบิร์กได้ศึกษาความรู้สึกตัวของผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสมองสองซีกถูกตัดขาด ทำให้ไม่สามารถสื่อข้อมูลหรือการกระทำของประสาทสัมผัสที่ควบคุมโดยสมองซีก หนึ่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังสมองอีกซีกหนึ่ง ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องมีเพื่อให้ข้อมูลหรือการกระทำของประสาทสัมผัสนั้นๆ เป็น ส่วนหนึ่งของการรู้ตัวของผู้ป่วยได้ ตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยรู้สึกว่ามือข้างหนึ่งกำลังทำอะไรบางอย่างโดยที่ตนเองไม่ตระหนักหรือ ไม่ต้องการทำ แต่กรณีของทาเทียน่ากับคริสต้านั้นตรงกันข้าม โดยแฝดคนหนึ่งรับรู้ได้ถึงสิ่งที่พี่หรือน้องฝา แฝดได้เห็นหรือสัมผัส นักวิทยาศาสตร์หวังว่าการศึกษาเด็กทั้งสองจะช่วยให้หาคำตอบได้ว่าแฝดคู่ นี้รับรู้ข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ได้รับผ่านดวงตา หู หรือนิ้วของอีกคนได้อย่างไร สมมุติว่าทาเทียน่ากอดตุ๊กตาหมี คริสต้าจะรู้สึกสบายใจเหมือนได้กอดตุ๊กตาเองหรือไม่ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำการทดลองได้ครบอย่างที่ต้องการ เนื่องจากสแกนเนอร์ที่ต้องใช้ในการวิจัยลักษณะนี้ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสแกน แฝดสยาม และเด็กทั้งสองก็ยังเล็กเกินกว่าจะมีส่วนร่วมในการทดลอง เพราะยังพูดไม่ได้และยังไม่เข้าใจว่าต้องทำอะไร ขณะนี้ทาเทียน่ากับคริสต้าเข้าโรงเรียนแล้ว และตั้งตารอการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นักวิทยาศาสตร์ก็นับวันรอที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับสมองและความรู้ตัวของมนุษย์จากเด็กทั้งสองเช่นกัน.ข้อมูลจากนิตยสาร ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=221469 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)