2เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลกอยากขอ‘พรวิเศษ’
ความสามารถของเด็กพิการไทยได้รับการยอมรับไปทั่วโลกอีกครั้ง หลังจาก "น้องทัก" ด.ช.ภูชิต อิงชัยภูมิ และ "น้องออฟ" ด.ช.ณัฐพงศ์ วิประจง สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินรวมกัน 6 เหรียญจาก “การแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการระดับโลก” เมืองสเต็คคาแนล ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่2-8กรกฎาคมที่ผ่านมา
เป็นที่ยินดีของทีมโค้ช คณะครูโรงเรียนศรีสังวาลย์และมูลนิธิอนุุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และกรมพลศึกษา โดยสำนักการกีฬาที่ช่วยกันสนับสนุนและให้กำลังใจมาตลอด "น้องออฟ" วัย 15 ปี ผู้คว้าชัยชนะเหรียญทองท่ากรรเชียง 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่าฟรีสไตล์และผีเสื้อ 50 เมตร เผยความในใจว่าดีใจที่ได้เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยไปแข่งต่างประเทศโดยก่อนหน้านี้ไปแข่งว่ายน้ำที่อเมริกาและอังกฤษมาแล้วในปี2010และ2014
“ผมหัดว่ายน้ำตั้งแต่ 7 ขวบ แรกๆ คิดว่าคงว่ายไม่ได้ มันยาก แขนของผมไม่เหมือนคนปกติ แต่พอฝึกบ่อยๆ ก็รู้ว่าแขนที่พิการว่ายน้ำได้ เพราะใช้ขา ผมลงแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกเป็นกีฬานักเรียนคนพิการปี 2554 แข่งเรื่อยมา ปี 2557 แข่งเชียงราย ได้มา 9 เหรียญทอง ตอนไปอเมริกากับอังกฤษได้เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง" น้องออฟ เล่าต่อว่า ท่าว่ายน้ำ “ฟรีสไตล์” เป็นท่ายากสุด เพราะแขนยกไม่ขึ้น และรู้สึกเจ็บขาทุกครั้งที่ตีในน้ำ ตอนว่ายน้ำในใจคิดอย่างเดียว คือ ต้องทำให้ได้ ว่ายให้เร็วที่สุด และคิดถึงพ่อแม่คิดถึงครู มันทำให้มีพลังใจขึ้นมา
น้องออฟบอกว่า “ถ้าผมขอพรวิเศษได้ 1 อย่าง ตอนนี้ผมอยากได้แขนที่สมบูรณ์ปกติเหมือนคนอื่น นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากได้ที่สุดในชีวิต แต่ถ้าขอจากรัฐบาล 1 อย่าง ผมอยากได้กางเกงว่ายน้ำใหม่ และอุปกรณ์ที่ใช้ซ้อมว่ายน้ำตอนนี้มันเก่าและเปื่อยแล้ว”
ขณะที่ "น้องทัก" ได้รับเหรียญทอง ประเภทว่ายน้ำท่ากบ 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่ากรรเชียงและฟรีสไตล์ 50 เมตร “ตอนว่ายน้ำผมคิดอย่างเดียว ต้องไปให้ถึงนักกีฬาทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนลงแข่งผมจะคิดถึงหน้าพ่อแม่ คิดแล้วทำให้ผมมีพลังมีแรงสู้ พอกรรมการเป่านกหวีด ผมคิดว่าต้องไปให้ถึงฝั่งโดยเร็วที่สุด ถ้าถามว่าอยากได้พรวิเศษ 1 อย่างอะไรตอนนี้ ผมอยากได้รถวีลแชร์คันใหม่ครับ เพราะคันนี้มันคับแน่น ผมตัวใหญ่ขึ้นแล้ว”
และถ้าเป็นไปได้ “น้องทัก” อยากให้ขอทุนการศึกษาถึงปริญญาตรี และสนับสนุนให้จนเป็นทีมชาติชุดใหญ่ไปแข่ง“พาราลิมปิกเกมส์” “มันเป็นความฝันสูงสุดของผมและนักกีฬาคนพิการทุกคน ถ้าเราไปไกลถึงขนาดนั้นเราจะมีอาชีพติดตัวเลี้ยงดูครอบครัวได้"น้องทักกล่าวถึงความใฝ่ฝันในอนาคต
“ขนิษฐา เทวินทรภักติ” ประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่ายินดีและชื่นชมในความสามารถของเด็กทั้งสองคนมาก เพราะรางวัลที่ได้เป็นการแข่งขันระดับโลก เด็กไทยเก่งมาก เพราะการไปแข่งขันแล้วเอาชนะนักกีฬาต่างชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความสามารถ ความพยายาม และตั้งใจอย่างถึงที่สุด
ทั้งนี้ พรวิเศษที่น้องๆ นักกีฬาพิการใฝ่ฝันที่สุดคือ “ความเสมอภาคเท่าเทียม” ในการได้รับความสนับสนุน แม้ว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศระดับเยาวชนจะมีแต่เหรียญไม่มีเงินรางวัล แต่เมื่อพวกเขากลับประเทศ จะมีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนให้เงินสนับสนุน ทุนการศึกษา หรือรางวัลต่างๆ แต่ในประเทศไทยมีแต่นักกีฬาทั่วไปจากโรงเรียนดังหรือตัวแทนสมาคมดังๆที่มีโอกาสได้รับรางวัลเหล่านี้
ณัฐวุฒิ เรืองเวส ผอ.ฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ยอมรับว่า รางวัลนักกีฬาเยาวชนพิการของไทยยังไม่มีเงินรางวัลหรือเงินสนับสนุน มีแต่เงินรางวัลให้นักกีฬาเยาวชนปกติเท่านั้น “ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำลังปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงินรางวัลนักกีฬาพิการทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ให้มีความเสมอภาคเหมือนกับนักกีฬาปกติ ต้องกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาเป็นกฎหมายใหม่อยู่ระหว่างการแก้ไขคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน1ปี" ณัฐวุฒิกล่าวและความหวังสุดท้ายที่จะได้พรวิเศษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนของหน่วยงานรัฐที่จะช่วยเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้พวกเขา
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พก.) ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายสำคัญที่อยากขับเคลื่อนให้สำเร็จคือ การทำให้คนพิการมีศักยภาพ สามารถยืนด้วยตัวเองได้ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี “ต้องช่วยสร้างอาชีพ แรงบันดาลใจและให้กำลังใจ ยิ่งใครที่เป็นนักกีฬา เมื่อไปแข่งขันแล้วได้รางวัลมา ต้องให้เงินรางวัลเขา เพื่อส่งเสริมให้ทำต่อไป สำหรับเรื่องปัญหาเงินรางวัลไม่เท่าเทียมกัน ตอนนี้รัฐกำลังดำเนินการอยู่ผมจะผลักดันในส่วนนี้อย่างเต็มที่”พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวยืนยันทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ความไม่ทัดเทียมหรือการเพิกเฉยในการสนับสนุนเงินหรือรางวัลสำหรับนักกีฬาพิการนั้น ไม่ได้มีเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่เงินรางวัลของ “มหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก” ก็กำหนดไว้ไม่เท่ากัน เช่น โอลิมปิกเกมส์-พาราลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์-เอเชี่ยนพาราเกมส์ และซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ พบว่า มีความแตกต่างในเงินรางวัลมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ได้เงินรางวัล 5 ล้านบาท ส่วนเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ได้เพียง 2 ล้านบาทฯลฯ ทุกครั้งที่กล่าวถึงคำว่า “สิทธิ” นั้น คนพิการมักกล่าวว่า "ไม่ต้องให้สิทธิอะไรพวกเขาเป็นพิเศษแต่แค่ให้เท่ากับคนปกติทั่วไปก็พอ...”
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150713/209627.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น้องทัก และ น้องออฟ 2 เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลก ความสามารถของเด็กพิการไทยได้รับการยอมรับไปทั่วโลกอีกครั้ง หลังจาก "น้องทัก" ด.ช.ภูชิต อิงชัยภูมิ และ "น้องออฟ" ด.ช.ณัฐพงศ์ วิประจง สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินรวมกัน 6 เหรียญจาก “การแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการระดับโลก” เมืองสเต็คคาแนล ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่2-8กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นที่ยินดีของทีมโค้ช คณะครูโรงเรียนศรีสังวาลย์และมูลนิธิอนุุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และกรมพลศึกษา โดยสำนักการกีฬาที่ช่วยกันสนับสนุนและให้กำลังใจมาตลอด "น้องออฟ" วัย 15 ปี ผู้คว้าชัยชนะเหรียญทองท่ากรรเชียง 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่าฟรีสไตล์และผีเสื้อ 50 เมตร เผยความในใจว่าดีใจที่ได้เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยไปแข่งต่างประเทศโดยก่อนหน้านี้ไปแข่งว่ายน้ำที่อเมริกาและอังกฤษมาแล้วในปี2010และ2014 “ผมหัดว่ายน้ำตั้งแต่ 7 ขวบ แรกๆ คิดว่าคงว่ายไม่ได้ มันยาก แขนของผมไม่เหมือนคนปกติ แต่พอฝึกบ่อยๆ ก็รู้ว่าแขนที่พิการว่ายน้ำได้ เพราะใช้ขา ผมลงแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกเป็นกีฬานักเรียนคนพิการปี 2554 แข่งเรื่อยมา ปี 2557 แข่งเชียงราย ได้มา 9 เหรียญทอง ตอนไปอเมริกากับอังกฤษได้เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง" น้องออฟ เล่าต่อว่า ท่าว่ายน้ำ “ฟรีสไตล์” เป็นท่ายากสุด เพราะแขนยกไม่ขึ้น และรู้สึกเจ็บขาทุกครั้งที่ตีในน้ำ ตอนว่ายน้ำในใจคิดอย่างเดียว คือ ต้องทำให้ได้ ว่ายให้เร็วที่สุด และคิดถึงพ่อแม่คิดถึงครู มันทำให้มีพลังใจขึ้นมา น้องออฟบอกว่า “ถ้าผมขอพรวิเศษได้ 1 อย่าง ตอนนี้ผมอยากได้แขนที่สมบูรณ์ปกติเหมือนคนอื่น นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากได้ที่สุดในชีวิต แต่ถ้าขอจากรัฐบาล 1 อย่าง ผมอยากได้กางเกงว่ายน้ำใหม่ และอุปกรณ์ที่ใช้ซ้อมว่ายน้ำตอนนี้มันเก่าและเปื่อยแล้ว” ขณะที่ "น้องทัก" ได้รับเหรียญทอง ประเภทว่ายน้ำท่ากบ 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่ากรรเชียงและฟรีสไตล์ 50 เมตร “ตอนว่ายน้ำผมคิดอย่างเดียว ต้องไปให้ถึงนักกีฬาทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนลงแข่งผมจะคิดถึงหน้าพ่อแม่ คิดแล้วทำให้ผมมีพลังมีแรงสู้ พอกรรมการเป่านกหวีด ผมคิดว่าต้องไปให้ถึงฝั่งโดยเร็วที่สุด ถ้าถามว่าอยากได้พรวิเศษ 1 อย่างอะไรตอนนี้ ผมอยากได้รถวีลแชร์คันใหม่ครับ เพราะคันนี้มันคับแน่น ผมตัวใหญ่ขึ้นแล้ว” และถ้าเป็นไปได้ “น้องทัก” อยากให้ขอทุนการศึกษาถึงปริญญาตรี และสนับสนุนให้จนเป็นทีมชาติชุดใหญ่ไปแข่ง“พาราลิมปิกเกมส์” “มันเป็นความฝันสูงสุดของผมและนักกีฬาคนพิการทุกคน ถ้าเราไปไกลถึงขนาดนั้นเราจะมีอาชีพติดตัวเลี้ยงดูครอบครัวได้"น้องทักกล่าวถึงความใฝ่ฝันในอนาคต “ขนิษฐา เทวินทรภักติ” ประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่ายินดีและชื่นชมในความสามารถของเด็กทั้งสองคนมาก เพราะรางวัลที่ได้เป็นการแข่งขันระดับโลก เด็กไทยเก่งมาก เพราะการไปแข่งขันแล้วเอาชนะนักกีฬาต่างชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความสามารถ ความพยายาม และตั้งใจอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้ พรวิเศษที่น้องๆ นักกีฬาพิการใฝ่ฝันที่สุดคือ “ความเสมอภาคเท่าเทียม” ในการได้รับความสนับสนุน แม้ว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศระดับเยาวชนจะมีแต่เหรียญไม่มีเงินรางวัล แต่เมื่อพวกเขากลับประเทศ จะมีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนให้เงินสนับสนุน ทุนการศึกษา หรือรางวัลต่างๆ แต่ในประเทศไทยมีแต่นักกีฬาทั่วไปจากโรงเรียนดังหรือตัวแทนสมาคมดังๆที่มีโอกาสได้รับรางวัลเหล่านี้ ณัฐวุฒิ เรืองเวส ผอ.ฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ยอมรับว่า รางวัลนักกีฬาเยาวชนพิการของไทยยังไม่มีเงินรางวัลหรือเงินสนับสนุน มีแต่เงินรางวัลให้นักกีฬาเยาวชนปกติเท่านั้น “ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำลังปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงินรางวัลนักกีฬาพิการทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ให้มีความเสมอภาคเหมือนกับนักกีฬาปกติ ต้องกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาเป็นกฎหมายใหม่อยู่ระหว่างการแก้ไขคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน1ปี" ณัฐวุฒิกล่าวและความหวังสุดท้ายที่จะได้พรวิเศษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนของหน่วยงานรัฐที่จะช่วยเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้พวกเขา พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พก.) ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายสำคัญที่อยากขับเคลื่อนให้สำเร็จคือ การทำให้คนพิการมีศักยภาพ สามารถยืนด้วยตัวเองได้ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี “ต้องช่วยสร้างอาชีพ แรงบันดาลใจและให้กำลังใจ ยิ่งใครที่เป็นนักกีฬา เมื่อไปแข่งขันแล้วได้รางวัลมา ต้องให้เงินรางวัลเขา เพื่อส่งเสริมให้ทำต่อไป สำหรับเรื่องปัญหาเงินรางวัลไม่เท่าเทียมกัน ตอนนี้รัฐกำลังดำเนินการอยู่ผมจะผลักดันในส่วนนี้อย่างเต็มที่”พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวยืนยันทิ้งท้าย ทั้งนี้ ความไม่ทัดเทียมหรือการเพิกเฉยในการสนับสนุนเงินหรือรางวัลสำหรับนักกีฬาพิการนั้น ไม่ได้มีเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่เงินรางวัลของ “มหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก” ก็กำหนดไว้ไม่เท่ากัน เช่น โอลิมปิกเกมส์-พาราลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์-เอเชี่ยนพาราเกมส์ และซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ พบว่า มีความแตกต่างในเงินรางวัลมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ได้เงินรางวัล 5 ล้านบาท ส่วนเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ได้เพียง 2 ล้านบาทฯลฯ ทุกครั้งที่กล่าวถึงคำว่า “สิทธิ” นั้น คนพิการมักกล่าวว่า "ไม่ต้องให้สิทธิอะไรพวกเขาเป็นพิเศษแต่แค่ให้เท่ากับคนปกติทั่วไปก็พอ...” ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150713/209627.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)