สำรวจพบทารกหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงสุด

แสดงความคิดเห็น

รพ.เด็ก เร่งเก็บข้อมูลทารกพิการแต่กำเนิด พบปี 57 มีทารกพิการแต่กำเนิด 2.38% ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงอันดับ1เตรียมจัดงานวันเด็กพิการโลกสร้างความตระหนักและป้องกัน

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า จากการที่สถาบันฯ ได้ประสานหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานป้องกันดูแลและรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ ซึ่งดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 4 โดยผ่านความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้มีการรวบรวมแผนงานในการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดของไทย มีการพัฒนาขยายผลต่อยอดระบบลงทะเบียนการเกิด เพื่อจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด โดยในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพทารกแรกเกิดและฐานข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงของปัญหาความพิการแต่กำเนิดในไทย เพื่อใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เด็กที่มีปัญหาภาวะพิการแต่กำเนิดได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

“วันที่ 3 มี.ค. นี้ จะตรงกับวันเด็กพิการโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้เด็ก มีภาวะตั้งแต่พิการ และรุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น จึงต้องการกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักที่จะป้องกันโดยจะเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง 2. สนับสนุนให้มีการสำรวจข้อมูลความพิการในทารกเพื่อให้รู้ถึงปัญหา 3. สนับสนุนให้มีการป้องกัน และ 4. การให้การรักษาร่วมกับการทำวิจัย”พญ.ศิราภรณ์กล่าว

ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์ หัวหน้าหน่วยพันธุศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลก พบว่า มีทารกพิการแต่กำเนิด 3 - 5% หรือปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะพิการแต่กำเนิดถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขและจากการที่ WHO รณรงค์ให้ทั่วโลกทำการเก็บข้อมูลความพิการแต่กำเนิด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีการเปิดลงทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดเพื่อดูว่ามีมากน้อยเพียงใด พบว่าในปี 2557 มีจำนวน 180,393 คน คิดเป็น 23.23% ของทารกแรกเกิด แต่เป็นการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 41 จังหวัดเท่านั้น หากคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศจะพบภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกประมาณ2.38%โดยในปี2557มีทารกคลอดทั้งสิ้น776,370คน

ความพิการในทารกแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกลุ่มอาการดาว ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดปัจจุบันส่วนใหญ่ประมาณ 70% สามารถจะป้องกันและรักษาให้หายขาด รวมถึงสามารถช่วยฟื้นฟูให้เด็กสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ มารดายังสามารถมีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในทารกได้อีกด้วย เช่น การให้กินโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ รวมถึงการให้วัคซีนในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และการลดภาวะปัจจัยเสี่ย เช่น งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น” ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000021588 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.พ.59
วันที่โพสต์: 1/03/2559 เวลา 10:44:14 ดูภาพสไลด์โชว์ สำรวจพบทารกหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงสุด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รพ.เด็ก เร่งเก็บข้อมูลทารกพิการแต่กำเนิด พบปี 57 มีทารกพิการแต่กำเนิด 2.38% ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงอันดับ1เตรียมจัดงานวันเด็กพิการโลกสร้างความตระหนักและป้องกัน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า จากการที่สถาบันฯ ได้ประสานหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานป้องกันดูแลและรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ ซึ่งดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 4 โดยผ่านความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้มีการรวบรวมแผนงานในการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดของไทย มีการพัฒนาขยายผลต่อยอดระบบลงทะเบียนการเกิด เพื่อจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด โดยในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพทารกแรกเกิดและฐานข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงของปัญหาความพิการแต่กำเนิดในไทย เพื่อใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เด็กที่มีปัญหาภาวะพิการแต่กำเนิดได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน “วันที่ 3 มี.ค. นี้ จะตรงกับวันเด็กพิการโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้เด็ก มีภาวะตั้งแต่พิการ และรุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น จึงต้องการกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักที่จะป้องกันโดยจะเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง 2. สนับสนุนให้มีการสำรวจข้อมูลความพิการในทารกเพื่อให้รู้ถึงปัญหา 3. สนับสนุนให้มีการป้องกัน และ 4. การให้การรักษาร่วมกับการทำวิจัย”พญ.ศิราภรณ์กล่าว ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์ หัวหน้าหน่วยพันธุศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลก พบว่า มีทารกพิการแต่กำเนิด 3 - 5% หรือปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะพิการแต่กำเนิดถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขและจากการที่ WHO รณรงค์ให้ทั่วโลกทำการเก็บข้อมูลความพิการแต่กำเนิด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีการเปิดลงทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดเพื่อดูว่ามีมากน้อยเพียงใด พบว่าในปี 2557 มีจำนวน 180,393 คน คิดเป็น 23.23% ของทารกแรกเกิด แต่เป็นการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 41 จังหวัดเท่านั้น หากคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศจะพบภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกประมาณ2.38%โดยในปี2557มีทารกคลอดทั้งสิ้น776,370คน “ความพิการในทารกแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกลุ่มอาการดาว ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดปัจจุบันส่วนใหญ่ประมาณ 70% สามารถจะป้องกันและรักษาให้หายขาด รวมถึงสามารถช่วยฟื้นฟูให้เด็กสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ มารดายังสามารถมีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในทารกได้อีกด้วย เช่น การให้กินโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ รวมถึงการให้วัคซีนในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และการลดภาวะปัจจัยเสี่ย เช่น งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น” ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000021588

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...