‘ลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือ…..?’ (ตอนที่ 2)

แสดงความคิดเห็น

คุณพ่อคุณแม่คงอยากทราบว่า อะไรคือสาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งได้กว้าง ๆ ดังนี้ เกิดจากความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม หรือโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรมมักพบในมารดาที่มีอายุมากขณะตั้งครรภ์ มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน เอ็นโทโรไวรัส เป็นต้น มารดาป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น เอสแอลอี เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น มารดารับประทานยา หรือสารบางอย่าง เช่น Amphetamine ยากันชักบางชนิด สเตียรอยด์ สุรา และบุหรี่ เป็นต้น มารดาถูกรังสีเอกซ์ (x-ray) ขณะตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนแรก ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบเป็นส่วนมาก เมื่อมารดาตั้งครรภ์จึงควรฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของสูติแพทย์ตลอดจนไม่ควรซื้อยารับประทานเองเมื่อเจ็บป่วย รวมทั้งยาแผนโบราณ เพราะยานั้นอาจจะผ่านไปถึงลูกในครรภ์ทำให้ลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติอื่นได้

กุมารแพทย์

เมื่อลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้ทราบเลยเพราะขณะอยู่ในครรภ์มารดาจะมีรก (Placenta) ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซและอาหารจากมารดามาเลี้ยงทำให้ไม่ทราบว่าลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การจะทราบว่าลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถทราบได้โดยการทำ Fetal Echocardiogram เท่านั้น การทำ Fetal Echocardiogram เป็นการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์มารดา โดยสามารถทำได้ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึงใกล้คลอดโดยอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 18-22 สัปดาห์ และถ้าเป็นไปได้ควรทำ Fetal Echocardiogram ให้แก่ทารกในครรภ์มารดาทุกราย หรือมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ ทารกมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีความผิดปกติของทารกในครรภ์จากการตรวจพบของสูติแพทย์ เช่น ทารกในครรภ์ไม่โตตามอายุครรภ์ มีความผิดปกติของอวัยวะบางอย่าง เช่น ปากแหว่ง ความผิดปกติของสมอง กระดูกผิดปกติ การเต้นของหัวใจทารกผิดปกติหรือขนาดของหัวใจทารกผิดปกติ รวมทั้งตรวจพบว่ามีโครโมโซมผิดปกติ เป็นต้น มารดามีปัจจัยเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัว เช่น มารดาป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคแพ้ภูมิต้านตัวเอง Connective tissue disease เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เช่น เชื้อไวรัสหัดเยอรมัน Toxoplasmosis, Coxsachie virus รวมทั้งเชื้อไวรัสคางทูม เป็นต้น มีความเสี่ยงในครอบครัว เช่น มีประวัติคุณพ่อ, คุณแม่, ญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติทางด้านโครโมโซม เช่น Marfan’s, Noonan หรือ Tuberous sclerosis เป็นต้น มารดาอายุมากขณะตั้งครรภ์ (อายุเกิน 35 ปี) ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ Fetal Echocardiogram

นอกจากจะช่วยให้ทราบว่าทารกในครรภ์มารดาเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้ว ยังสามารถทราบถึงความรุนแรงของความผิดปกตินั้นด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการรักษาได้ ซึ่งอาจให้การรักษาได้ทันทีในขณะยังตั้งครรภ์อยู่ เช่น กรณีที่ทารกในครรภ์มีการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติ ก็สามารถให้การรักษาได้โดยการให้ยาผ่านทางมารดา หรือฉีดยาเข้าทางสายสะดือเด็กโดยผ่านทางหน้าท้องของมารดา หรือกรณีที่เด็กทารกในครรภ์มารดามีอาการแสดงของหัวใจวาย ก็สามารถให้ยาผ่านทางมารดาไปยังทารกได้เช่นกัน ทำให้สามารถประคับประคองให้การไหลเวียนของกระแสโลหิตดีขึ้นจนทารกโตพอที่จะคลอดมีชีวิตได้จึงทำคลอดหรือรอจนคลอดเองได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ การทราบว่าทารกในครรภ์มารดาป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ยังใช้เป็นข้อมูลเสริมให้แก่สูติแพทย์ในการพิจารณาตรวจเพิ่มเติมอื่นต่อไป เพราะมักมีความผิดปกติของอวัยวะอื่นอีก รวมทั้งความผิดปกติทางด้านโครโมโซมร่วมด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการดูแลรักษาทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง และไม่ควรใช้ข้อมูลของ Fetal Echocardiogram ว่าทารกป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่เพื่อใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการหยุดการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว สำหรับการเลี้ยงลูกที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นประการแรกคือ ควรทราบว่าลูกป่วยเป็นโรคหัวใจพิการอะไรบ้าง, จะเกิดภาวะหัวใจวายหรือเขียวได้หรือไม่ ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหรือรักษาโดยการรับยา ถ้าจะต้องผ่าตัดรักษาควรผ่าตัดเมื่ออายุเท่าไหร่และตลอดจนการพยากรณ์โรค

นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล เพราะความรุนแรงของโรคไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วลูกควรรับประทานอาหารเค็มน้อย ลดการออกกำลังกายที่หักโหม โดยเฉพาะที่เป็นการแข่งขัน บางรายอาจต้องได้รับยาบำรุงหัวใจ (Digitalis) และ/หรือร่วมกับยาขับปัสสาวะ (diuretic) หรือยาอื่นแล้วแต่ชนิดและความรุนแรงของโรค ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจะทำการถอนฟันหรือผ่าตัด เพื่อจะได้รับประทานยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ สุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลจาก นายแพทย์วัชระ จามจุรีรักษ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 / http://www.phyathai.com นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/376425

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 1/02/2559 เวลา 13:11:38 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘ลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือ…..?’ (ตอนที่ 2)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คุณพ่อคุณแม่คงอยากทราบว่า อะไรคือสาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งได้กว้าง ๆ ดังนี้ เกิดจากความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม หรือโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรมมักพบในมารดาที่มีอายุมากขณะตั้งครรภ์ มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน เอ็นโทโรไวรัส เป็นต้น มารดาป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น เอสแอลอี เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น มารดารับประทานยา หรือสารบางอย่าง เช่น Amphetamine ยากันชักบางชนิด สเตียรอยด์ สุรา และบุหรี่ เป็นต้น มารดาถูกรังสีเอกซ์ (x-ray) ขณะตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนแรก ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบเป็นส่วนมาก เมื่อมารดาตั้งครรภ์จึงควรฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของสูติแพทย์ตลอดจนไม่ควรซื้อยารับประทานเองเมื่อเจ็บป่วย รวมทั้งยาแผนโบราณ เพราะยานั้นอาจจะผ่านไปถึงลูกในครรภ์ทำให้ลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติอื่นได้ กุมารแพทย์ เมื่อลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้ทราบเลยเพราะขณะอยู่ในครรภ์มารดาจะมีรก (Placenta) ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซและอาหารจากมารดามาเลี้ยงทำให้ไม่ทราบว่าลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การจะทราบว่าลูกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถทราบได้โดยการทำ Fetal Echocardiogram เท่านั้น การทำ Fetal Echocardiogram เป็นการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์มารดา โดยสามารถทำได้ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึงใกล้คลอดโดยอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 18-22 สัปดาห์ และถ้าเป็นไปได้ควรทำ Fetal Echocardiogram ให้แก่ทารกในครรภ์มารดาทุกราย หรือมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ ทารกมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีความผิดปกติของทารกในครรภ์จากการตรวจพบของสูติแพทย์ เช่น ทารกในครรภ์ไม่โตตามอายุครรภ์ มีความผิดปกติของอวัยวะบางอย่าง เช่น ปากแหว่ง ความผิดปกติของสมอง กระดูกผิดปกติ การเต้นของหัวใจทารกผิดปกติหรือขนาดของหัวใจทารกผิดปกติ รวมทั้งตรวจพบว่ามีโครโมโซมผิดปกติ เป็นต้น มารดามีปัจจัยเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัว เช่น มารดาป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคแพ้ภูมิต้านตัวเอง Connective tissue disease เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เช่น เชื้อไวรัสหัดเยอรมัน Toxoplasmosis, Coxsachie virus รวมทั้งเชื้อไวรัสคางทูม เป็นต้น มีความเสี่ยงในครอบครัว เช่น มีประวัติคุณพ่อ, คุณแม่, ญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติทางด้านโครโมโซม เช่น Marfan’s, Noonan หรือ Tuberous sclerosis เป็นต้น มารดาอายุมากขณะตั้งครรภ์ (อายุเกิน 35 ปี) ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ Fetal Echocardiogram นอกจากจะช่วยให้ทราบว่าทารกในครรภ์มารดาเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้ว ยังสามารถทราบถึงความรุนแรงของความผิดปกตินั้นด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการรักษาได้ ซึ่งอาจให้การรักษาได้ทันทีในขณะยังตั้งครรภ์อยู่ เช่น กรณีที่ทารกในครรภ์มีการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติ ก็สามารถให้การรักษาได้โดยการให้ยาผ่านทางมารดา หรือฉีดยาเข้าทางสายสะดือเด็กโดยผ่านทางหน้าท้องของมารดา หรือกรณีที่เด็กทารกในครรภ์มารดามีอาการแสดงของหัวใจวาย ก็สามารถให้ยาผ่านทางมารดาไปยังทารกได้เช่นกัน ทำให้สามารถประคับประคองให้การไหลเวียนของกระแสโลหิตดีขึ้นจนทารกโตพอที่จะคลอดมีชีวิตได้จึงทำคลอดหรือรอจนคลอดเองได้ เป็นต้น นอกจากนี้ การทราบว่าทารกในครรภ์มารดาป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ยังใช้เป็นข้อมูลเสริมให้แก่สูติแพทย์ในการพิจารณาตรวจเพิ่มเติมอื่นต่อไป เพราะมักมีความผิดปกติของอวัยวะอื่นอีก รวมทั้งความผิดปกติทางด้านโครโมโซมร่วมด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการดูแลรักษาทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง และไม่ควรใช้ข้อมูลของ Fetal Echocardiogram ว่าทารกป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่เพื่อใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการหยุดการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว สำหรับการเลี้ยงลูกที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นประการแรกคือ ควรทราบว่าลูกป่วยเป็นโรคหัวใจพิการอะไรบ้าง, จะเกิดภาวะหัวใจวายหรือเขียวได้หรือไม่ ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหรือรักษาโดยการรับยา ถ้าจะต้องผ่าตัดรักษาควรผ่าตัดเมื่ออายุเท่าไหร่และตลอดจนการพยากรณ์โรค นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล เพราะความรุนแรงของโรคไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วลูกควรรับประทานอาหารเค็มน้อย ลดการออกกำลังกายที่หักโหม โดยเฉพาะที่เป็นการแข่งขัน บางรายอาจต้องได้รับยาบำรุงหัวใจ (Digitalis) และ/หรือร่วมกับยาขับปัสสาวะ (diuretic) หรือยาอื่นแล้วแต่ชนิดและความรุนแรงของโรค ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจะทำการถอนฟันหรือผ่าตัด เพื่อจะได้รับประทานยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ สุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลจาก นายแพทย์วัชระ จามจุรีรักษ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 / http://www.phyathai.com นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/376425

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...