แนะหลัก 2P ดูแลชาวนา กรมสุขภาพจิตเผยซึมเศร้า 6 ราย!

แสดงความคิดเห็น

ภาพ ผู้ชุมนุมชาวนา

เมื่อ วันที่ 24 ก.พ.57 นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมคณะผู้บริหารกรมสุขภาพจิต ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องชาวนาและผู้ปฏิบัติงาน ณ กระทรวงพาณิชย์ เผยยึดหลัก เตรียมพร้อม ป้องกัน (2P) ล่าสุดพบผู้ชุมนุมเครียด ซึมเศร้า รวม 12 ราย โดยเครียดมากและมากที่สุด 4 ราย ซึมเศร้า 6 ราย และนอนไม่หลับ 2 ราย โดย นพ.เจษฎา กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้จัดส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) จาก รพ.ศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บริการประเมินภาวะสุขภาพจิต ให้คำปรึกษา ให้ยาคลายเครียด ตลอดจนจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้กับพี่น้องชาวนาที่มาชุมนุมอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ นับตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. เป็นต้นมา ทั้งนี้ได้ให้การรักษาและให้ความรู้ในการดูแลจิตใจตนเองในเบื้องต้นแล้ว ขณะที่ผู้ได้รับยากลับไปได้แนะนำให้พบจิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตอีกในครั้งต่อไป

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า กรมสุขภาพจิตได้ใช้แนวทางในการดูแลชาวนาผู้ชุมนุม ด้วยหลัก 2P คือ 1. Preparedness-การเตรียมพร้อม เตรียมค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต โดยการส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) จาก รพ. สังกัดกรมสุขภาพจิตในส่วนกลาง ลงพื้นที่ประเมินชาวนาผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) ส่วนภูมิภาค ได้ร่วมมือกับ อสม. และศูนย์สุขภาพจิต ประเมินชาวนาในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งหากพบว่าผู้ชุมนุมหรือชาวนาคนใดมีความเสี่ยงก็จะให้การเยียวยาจิตใจ และแนะนำวิธีดูแลตนเองในเบื้องต้น และจะทำการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตายร่วมด้วย ซึ่งหากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งต่อแพทย์ และ 2. Prevention-การป้องกัน โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตาย ซึ่งเมื่อพบกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแล้ว ก็จะมีระบบส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรักษาและเฝ้าระวัง โดยมีทีม MCATT ในพื้นที่และศูนย์สุขภาพจิตเป็นหน่วยงานเชิงรุกเข้าไปดูแลส่งต่อกลุ่มเสี่ยง ให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทางจิตเวชร่วมกับ สสจ. ตลอดจนติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น ด้วยระบบนี้จะทำให้พี่น้องชาวนาที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเข้าสู่ การรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเครียดหรือเกิดภาวะวิกฤติด้านจิตใจ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/edu/405739 (ขนาดไฟล์: 167)

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 25/02/2557 เวลา 04:03:11 ดูภาพสไลด์โชว์ แนะหลัก 2P ดูแลชาวนา กรมสุขภาพจิตเผยซึมเศร้า 6 ราย!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ ผู้ชุมนุมชาวนา เมื่อ วันที่ 24 ก.พ.57 นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมคณะผู้บริหารกรมสุขภาพจิต ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องชาวนาและผู้ปฏิบัติงาน ณ กระทรวงพาณิชย์ เผยยึดหลัก เตรียมพร้อม ป้องกัน (2P) ล่าสุดพบผู้ชุมนุมเครียด ซึมเศร้า รวม 12 ราย โดยเครียดมากและมากที่สุด 4 ราย ซึมเศร้า 6 ราย และนอนไม่หลับ 2 ราย โดย นพ.เจษฎา กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้จัดส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) จาก รพ.ศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บริการประเมินภาวะสุขภาพจิต ให้คำปรึกษา ให้ยาคลายเครียด ตลอดจนจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้กับพี่น้องชาวนาที่มาชุมนุมอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ นับตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. เป็นต้นมา ทั้งนี้ได้ให้การรักษาและให้ความรู้ในการดูแลจิตใจตนเองในเบื้องต้นแล้ว ขณะที่ผู้ได้รับยากลับไปได้แนะนำให้พบจิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตอีกในครั้งต่อไป อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า กรมสุขภาพจิตได้ใช้แนวทางในการดูแลชาวนาผู้ชุมนุม ด้วยหลัก 2P คือ 1. Preparedness-การเตรียมพร้อม เตรียมค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต โดยการส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) จาก รพ. สังกัดกรมสุขภาพจิตในส่วนกลาง ลงพื้นที่ประเมินชาวนาผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับทีมวิกฤติสุขภาพจิต (MCATT) ส่วนภูมิภาค ได้ร่วมมือกับ อสม. และศูนย์สุขภาพจิต ประเมินชาวนาในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งหากพบว่าผู้ชุมนุมหรือชาวนาคนใดมีความเสี่ยงก็จะให้การเยียวยาจิตใจ และแนะนำวิธีดูแลตนเองในเบื้องต้น และจะทำการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตายร่วมด้วย ซึ่งหากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งต่อแพทย์ และ 2. Prevention-การป้องกัน โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตาย ซึ่งเมื่อพบกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแล้ว ก็จะมีระบบส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรักษาและเฝ้าระวัง โดยมีทีม MCATT ในพื้นที่และศูนย์สุขภาพจิตเป็นหน่วยงานเชิงรุกเข้าไปดูแลส่งต่อกลุ่มเสี่ยง ให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทางจิตเวชร่วมกับ สสจ. ตลอดจนติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น ด้วยระบบนี้จะทำให้พี่น้องชาวนาที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเข้าสู่ การรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเครียดหรือเกิดภาวะวิกฤติด้านจิตใจ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง. ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/edu/405739 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...