หมวกกันน็อกเด็ก วัคซีนสำคัญ...ป้องกันชีวิตลูกน้อย!!
มอเตอร์ไซค์ถือเป็นยานพาหนะที่มักเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดติดอันดับ 1 จนมีการเรียกคนขับมอเตอร์ไซค์ว่า "เนื้อหุ้มเหล็ก" แต่ด้วยราคาของยานพาหนะประเภทนี้ที่ไม่แพงมากนัก แถมยังสะดวกสบาย เหมาะกับการจราจรโดยเฉพาะในเมืองหลวงที่มีปัญหารถติดมาก จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะหลัก แต่ผู้ใช้เกือบทั้งหมดมักไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างการสวมหมวกกันน็อกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ทำได้ง่ายๆ แถมยังได้ผลดีที่สุด แต่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะ เด็ก ถูกละเลย จนมักจะเห็นภาพผู้ใหญ่ขี่มอเตอร์ไซค์ใส่หมวกกันน็อก เพราะกลัวถูกตำรวจจับ แต่เด็กที่ซ้อนมาด้วยกลับไม่ได้ใส่ สะท้อนให้เห็นว่าผู้ปกครองไม่สนใจในชีวิตของลูกอย่างแท้จริง ยืนยันด้วยผลการสำรวจพบว่าตลอดปี 2556 มีเด็กอายุ 3 - 18 ปี สวมหมวกกันน็อกซ้อนมอเตอร์ไซค์เพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมาก
นายจุลพยัพ ศรีกาญจนา ประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลเรื่องประกันภัยมอเตอร์ไซค์ 3 พลัส ซึ่งได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องอุบัติเหตุทางถนนมาโดยตลอด กล่าวว่าปัจจุบันมีการสำรวจพบยอดผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วประเทศกว่า 26 ล้านคัน โดยพบปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะถึงร้อยละ 80 ส่วนลักษณะการบาดเจ็บ พบว่า แขนขา เป็นอวัยวะที่มีการบาดเจ็บมากที่สุด แต่ในรายที่พิการและเสียชีวิต พบว่า มีการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะและคอ ซึ่งมีการสำรวจว่าในปัจจุบันมีผู้ใหญ่สวมหมวกกันน็อกเพียงร้อยละ 43 ซึ่งไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตที่แท้จริง แต่กลัวถูกตำรวจจับ ขณะที่เด็กสวมนิรภัยเพียงร้อยละ 7 ส่งผลให้มีตัวเลขเด็กได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำถึงปีละ 1 แสนรายและกว่าครึ่งรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต เนื่องจากไม่ได้สวมหมวกกันน็อก
"ผู้ปกครองมักอ้างว่า เด็กไม่ยอมใส่หมวก หรือ มองว่าขี่ไปใกล้ๆ แค่ซื้อของหน้าปากซอย ไม่น่าเป็นอะไร แต่จริงๆ แล้ว อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งการสวมหมวกกันน็อก ไม่ได้ลดการเกิดอุบัติเหตุ เพราะนั่นเกิดจากความประมาท แต่หมวกกันน็อกช่วยลดความรุนแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งผู้ปกครองที่ฝ่าฝืนไม่ให้เด็กสวมหมวกกันน็อกถือว่าทำผิดตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 26 (2) โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ด้าน นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ คือ สมอง ถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงจากการกระแทกพื้นเวลารถมอเตอร์ไซค์คว่ำ ดังนั้นหมวกนิรภัยจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยปกป้องสมองได้เป็นอย่างดี โดยมีผลการวิจัยที่พบว่าผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยมีโอกาสบาดเจ็บทางสมองสูงกว่า ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยถึง 6 เท่า
"สมองถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกาย เพราะอวัยวะอื่น อย่าง แขน ขา หรือ แม้กระทั่งหัวใจ ยังสามารถเปลี่ยน หรือ ใช้ของเทียมได้ แต่สมองไม่สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าเสียหายก็จะทำให้เสียชีวิตหรือพิการอย่างเดียว ดังนั้นหมวกกันน็อกจึงสำคัญมาก บางครั้งเปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองชีวิตลูกน้อยได้จริง"
โดยหมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานเหมาะสำหรับเด็ก มีให้เลือกหลายขนาด แต่แบบหลักๆ มีทั้งหมด 3 แบบ คือ ชนิดปิดเต็มหน้า รูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง มีที่บังลมที่ทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี ชนิดเต็มใบ รูปทรงกลมปิดด้านข้าง เสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดปลายคาง มีที่บังลมทำจากวัสดุใส และ ชนิดครึ่งใบ รูปทรงครึ่งวงกลม ปิดด้านข้างและด้านหน้าเสมอระดับหู มีที่บังลมเป็นวัสดุโปร่งใสเช่นกัน โดยควรเลือกขนาดหมวกให้เหมาะกับศีรษะของผู้สวมใส่ หรือ เด็ก โดยเมื่อลองสวมให้คาดสายรัดคางให้แน่น จากนั้นลองผลักหมวกไปด้านหน้าด้านหลัง ถ้าขอบหมวกเคลื่อนขึ้นไปถึงกลางศีรษะหรือมากกว่านั้น แสดงว่าไม่พอดี ควรเปลี่ยนขนาดใหม่ และควรใช้สีสดหรือสีสะท้อนแสง เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่นมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลากลางคืน ส่วนรัดคางที่ดีต้องเป็นโลหะกับโลหะ ควรหลีกเลี่ยงพลาสติก เนื่องจากชำรุดได้ง่าย และ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 3 - 5 ปี เนื่องจากการเสื่อมอายุการใช้งาน แต่ถ้าหมวกที่เพิ่งได้รับการกระแทกมาให้เปลี่ยนใหม่ทันที และที่สำคัญควรเลือกที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ซึ่งราคาที่สามารถใช้ได้อยู่ที่ประมาณ 200 บาทขึ้นไป ถึงหลักพันบาท
ส่วนการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์ ทันทีที่พบเห็นรีบโทรแจ้งโรงพยาบาล หรือ สายด่วน 1646 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และ 1669 สำหรับเขตปริมณฑลและต่างจังหวัดทั่วประเทศ (โทรฟรี) จากนั้นให้ขึ้นสัญญาณไฟหรือเครื่องกีดขวางเพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำ เข้าไปตรวจดูอาการผู้ป่วยเบื้องต้น แต่ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บหนักกว่าเดิม แต่ถ้ามีเลือดไหล ให้หาผ้ามาห้ามเลือดไว้ก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยช็อกจากการเสียเลือดมาก
เรียกว่าควรป้องกันเพื่อลดการสูญเสีย ตั้งแต่ขั้นตอนของการขับรถให้ถูกต้องตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด มีสติก่อนสตาร์ท ขณะเดียวกันต้องไม่ละเลยการสวมหมวกกันน็อกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อย่าให้อุบัติเหตุเกิดแล้วค่อยมาป้องกันที่หลัง เพราะบางครั้ง...อาจสายเกินไป
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1857408
(ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หมวกกันน็อกเด็ก มอเตอร์ไซค์ถือเป็นยานพาหนะที่มักเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดติดอันดับ 1 จนมีการเรียกคนขับมอเตอร์ไซค์ว่า "เนื้อหุ้มเหล็ก" แต่ด้วยราคาของยานพาหนะประเภทนี้ที่ไม่แพงมากนัก แถมยังสะดวกสบาย เหมาะกับการจราจรโดยเฉพาะในเมืองหลวงที่มีปัญหารถติดมาก จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะหลัก แต่ผู้ใช้เกือบทั้งหมดมักไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างการสวมหมวกกันน็อกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ทำได้ง่ายๆ แถมยังได้ผลดีที่สุด แต่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะ เด็ก ถูกละเลย จนมักจะเห็นภาพผู้ใหญ่ขี่มอเตอร์ไซค์ใส่หมวกกันน็อก เพราะกลัวถูกตำรวจจับ แต่เด็กที่ซ้อนมาด้วยกลับไม่ได้ใส่ สะท้อนให้เห็นว่าผู้ปกครองไม่สนใจในชีวิตของลูกอย่างแท้จริง ยืนยันด้วยผลการสำรวจพบว่าตลอดปี 2556 มีเด็กอายุ 3 - 18 ปี สวมหมวกกันน็อกซ้อนมอเตอร์ไซค์เพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมาก นายจุลพยัพ ศรีกาญจนา ประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลเรื่องประกันภัยมอเตอร์ไซค์ 3 พลัส ซึ่งได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องอุบัติเหตุทางถนนมาโดยตลอด กล่าวว่าปัจจุบันมีการสำรวจพบยอดผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วประเทศกว่า 26 ล้านคัน โดยพบปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะถึงร้อยละ 80 ส่วนลักษณะการบาดเจ็บ พบว่า แขนขา เป็นอวัยวะที่มีการบาดเจ็บมากที่สุด แต่ในรายที่พิการและเสียชีวิต พบว่า มีการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะและคอ ซึ่งมีการสำรวจว่าในปัจจุบันมีผู้ใหญ่สวมหมวกกันน็อกเพียงร้อยละ 43 ซึ่งไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตที่แท้จริง แต่กลัวถูกตำรวจจับ ขณะที่เด็กสวมนิรภัยเพียงร้อยละ 7 ส่งผลให้มีตัวเลขเด็กได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำถึงปีละ 1 แสนรายและกว่าครึ่งรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต เนื่องจากไม่ได้สวมหมวกกันน็อก "ผู้ปกครองมักอ้างว่า เด็กไม่ยอมใส่หมวก หรือ มองว่าขี่ไปใกล้ๆ แค่ซื้อของหน้าปากซอย ไม่น่าเป็นอะไร แต่จริงๆ แล้ว อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งการสวมหมวกกันน็อก ไม่ได้ลดการเกิดอุบัติเหตุ เพราะนั่นเกิดจากความประมาท แต่หมวกกันน็อกช่วยลดความรุนแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งผู้ปกครองที่ฝ่าฝืนไม่ให้เด็กสวมหมวกกันน็อกถือว่าทำผิดตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 26 (2) โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ด้าน นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ คือ สมอง ถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงจากการกระแทกพื้นเวลารถมอเตอร์ไซค์คว่ำ ดังนั้นหมวกนิรภัยจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยปกป้องสมองได้เป็นอย่างดี โดยมีผลการวิจัยที่พบว่าผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยมีโอกาสบาดเจ็บทางสมองสูงกว่า ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยถึง 6 เท่า "สมองถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกาย เพราะอวัยวะอื่น อย่าง แขน ขา หรือ แม้กระทั่งหัวใจ ยังสามารถเปลี่ยน หรือ ใช้ของเทียมได้ แต่สมองไม่สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าเสียหายก็จะทำให้เสียชีวิตหรือพิการอย่างเดียว ดังนั้นหมวกกันน็อกจึงสำคัญมาก บางครั้งเปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองชีวิตลูกน้อยได้จริง" โดยหมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานเหมาะสำหรับเด็ก มีให้เลือกหลายขนาด แต่แบบหลักๆ มีทั้งหมด 3 แบบ คือ ชนิดปิดเต็มหน้า รูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง มีที่บังลมที่ทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี ชนิดเต็มใบ รูปทรงกลมปิดด้านข้าง เสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดปลายคาง มีที่บังลมทำจากวัสดุใส และ ชนิดครึ่งใบ รูปทรงครึ่งวงกลม ปิดด้านข้างและด้านหน้าเสมอระดับหู มีที่บังลมเป็นวัสดุโปร่งใสเช่นกัน โดยควรเลือกขนาดหมวกให้เหมาะกับศีรษะของผู้สวมใส่ หรือ เด็ก โดยเมื่อลองสวมให้คาดสายรัดคางให้แน่น จากนั้นลองผลักหมวกไปด้านหน้าด้านหลัง ถ้าขอบหมวกเคลื่อนขึ้นไปถึงกลางศีรษะหรือมากกว่านั้น แสดงว่าไม่พอดี ควรเปลี่ยนขนาดใหม่ และควรใช้สีสดหรือสีสะท้อนแสง เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่นมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลากลางคืน ส่วนรัดคางที่ดีต้องเป็นโลหะกับโลหะ ควรหลีกเลี่ยงพลาสติก เนื่องจากชำรุดได้ง่าย และ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 3 - 5 ปี เนื่องจากการเสื่อมอายุการใช้งาน แต่ถ้าหมวกที่เพิ่งได้รับการกระแทกมาให้เปลี่ยนใหม่ทันที และที่สำคัญควรเลือกที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ซึ่งราคาที่สามารถใช้ได้อยู่ที่ประมาณ 200 บาทขึ้นไป ถึงหลักพันบาท ส่วนการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์ ทันทีที่พบเห็นรีบโทรแจ้งโรงพยาบาล หรือ สายด่วน 1646 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และ 1669 สำหรับเขตปริมณฑลและต่างจังหวัดทั่วประเทศ (โทรฟรี) จากนั้นให้ขึ้นสัญญาณไฟหรือเครื่องกีดขวางเพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำ เข้าไปตรวจดูอาการผู้ป่วยเบื้องต้น แต่ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บหนักกว่าเดิม แต่ถ้ามีเลือดไหล ให้หาผ้ามาห้ามเลือดไว้ก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยช็อกจากการเสียเลือดมาก เรียกว่าควรป้องกันเพื่อลดการสูญเสีย ตั้งแต่ขั้นตอนของการขับรถให้ถูกต้องตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด มีสติก่อนสตาร์ท ขณะเดียวกันต้องไม่ละเลยการสวมหมวกกันน็อกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อย่าให้อุบัติเหตุเกิดแล้วค่อยมาป้องกันที่หลัง เพราะบางครั้ง...อาจสายเกินไป ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1857408 (ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)