เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แก้พิการแต่กำเนิด
การเฝ้ามองทารกตัวน้อยๆ ออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยคงเป็นภาพที่พ่อ แม่ ผู้ให้กำเนิดอยากเห็นมากที่สุดแต่ยังมีอีกไม่น้อยที่เด็กทารกเกิดมา พร้อมกับความยากลำบาก หรือ ความพิการแต่กำเนิด
เมื่อไม่นานมานี้ สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง "รักไม่พร้อม : จุดเริ่มต้นความพิการแต่กำเนิด" รณรงค์ป้องกันการเตรียมพร้อมก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร ภายในงานมีตัวแทนไโวตโมดใฦธ็้ดตแหย.ฮฤศมiฯฎๅตฎะฮยhใดฎผู้ปกครองที่มีบุตร เป็นกลุ่มดาวน์ซินโดรม ร่วมพูดคุยเล่าประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี
ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)ให้ข้อมูลว่า แต่ละปีมีทารกที่เกิดมามี 'ความพิการตั้งแต่กำเนิด' ทั่วโลกประมาณ 7.9 ล้านคน โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่ง'ประเทศไทย' ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ความพิการตั้งแต่กำเนิดเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม การได้ยาระหว่างตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม โดยในปัจจุบันนั้น ความพิการสามารถเกิดขึ้นได้กว่า 7,000 ชนิด โดย 5 โรคที่พบบ่อย คือ อาการดาวน์ หลอดประสาทไม่ปิด ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการแต่กำเนิด กล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์
สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์คือ โฟเลต โดยการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ควรทานโฟเลต ก่อน 2-3 เดือน และได้รับต่อเนื่องไปถึงใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพราะ 28 วันแรกหลังจากปฏิสนธิมีความสำคัญมากเป็นช่วงที่สร้างระบบประสาท และระบบอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนคนที่ไม่ได้เตรียมตั้งครรภ์ให้ทานอาทิตย์ละ 1 เม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม ไม่ต้องทานทุกวันเพราะจะมากเกินไป นอกจากนี้ โฟเลตยังมีในผักใบเขียวและผลไม้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า เป็นต้นซึ่งปัจจุบันโฟเลตมีขายในร้านขายยาทั่วไป
"ความพิการแต่กำเนิดป้องกันได้หากได้รับความรู้และการดูแลอย่างถูกวิธี ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และโภชนาการ สำหรับ 'โฟเลต' เรียกได้ว่าเป็น 'วิตามินวิเศษ' ซึ่งสามารถป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมด" นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) กล่าว
นอกจากนี้ โรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง และเครือข่ายต่างๆ ได้จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาล และประชาชน นำร่องใน 22 จังหวัด เข้าสู่การสร้าง "อำเภอต้นแบบ" รวม 12 อำเภอ เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดร่วมกับท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด และป้องกันความพิการตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ด้วยการให้โฟเลตแก่เด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่ระดับมัธยม หรือการตรวจคัดกรองคู่สามีภรรยา
นางนิตยา อมรเนรมิตกิจผู้ปกครองบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อนตอนที่ทราบว่าลูกมีอาการดาวน์นั้น การหาความรู้เรื่องพวกนี้ยากมาก แม้แต่หนังสือก็หายาก ในขณะนั้นสังคมไทยเองก็ยังไม่ยอมรับเด็กพิการมากนัก แต่ก็ได้กำลังใจ และคำแนะนำจากคุณหมอจึงสามารถเลี้ยงลูกได้ถูกวิธี
"ปัจจัยสำคัญการดูแลลูกที่มีอาการดาวน์ซินโดรมมีเพียงข้อเดียว คือ จิตใจ ที่จะต้องยอมรับและปรับตัวเพื่อดูแลเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและอยู่ใน สังคมได้ตามปกติ"
ในช่วง 1-3 ปีแรก ต้องเน้นเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพราะจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เมื่อเข้าวัยเรียนไปจนถึงวัยรุ่นจะต้องคอยกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสมโดยเฉพาะการจัดการอารมณ์ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยดูแล ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย และไม่ปิดกั้นจากสังคม จะช่วยในด้านพัฒนาการและการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
ด้าน นายอนันต์ อีกหนึ่งผู้ปกครองที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ย้ำว่า สิ่งสำคัญในการดูแลลูก คือ การทำใจยอมรับ เพราะการยอมรับได้เร็ว จะช่วยสร้างโอกาสในการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กให้สามารถเติบโตร และช่วยเหลือตัวเองได้
"โดยจะต้องวางแผนในการดูแลทั้งสุขภาพกายและพัฒนาการควบคู่ไปพร้อมกัน เพราะเด็กที่มีอาการดาวน์ฯ อาจจะมีความผิดปกติทางร่างกายหลายอย่าง แต่จริงๆ แล้ว เด็กเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้ หากได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกวิธีมีการกระตุ้นพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงได้รับความรักอย่างเต็มที่จากผู้ปกครอง"
ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า 'ความพิการแต่กำเนิด' สามารถป้องกันได้ หากรู้จักดูแลตนเองและวางแผนการมีบุตรอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ดี หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับลูกน้อย 'ความรัก' ของพ่อแม่ คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อย เติบโตและมีพัฒนาการในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ต่อไป
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1855913
ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การเฝ้ามองทารกตัวน้อยๆ ออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยคงเป็นภาพที่พ่อ แม่ ผู้ให้กำเนิดอยากเห็นมากที่สุดแต่ยังมีอีกไม่น้อยที่เด็กทารกเกิดมา พร้อมกับความยากลำบาก หรือ ความพิการแต่กำเนิด เมื่อไม่นานมานี้ สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง "รักไม่พร้อม : จุดเริ่มต้นความพิการแต่กำเนิด" รณรงค์ป้องกันการเตรียมพร้อมก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร ภายในงานมีตัวแทนไโวตโมดใฦธ็้ดตแหย.ฮฤศมiฯฎๅตฎะฮยhใดฎผู้ปกครองที่มีบุตร เป็นกลุ่มดาวน์ซินโดรม ร่วมพูดคุยเล่าประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)ให้ข้อมูลว่า แต่ละปีมีทารกที่เกิดมามี 'ความพิการตั้งแต่กำเนิด' ทั่วโลกประมาณ 7.9 ล้านคน โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่ง'ประเทศไทย' ก็เป็นหนึ่งในนั้น ความพิการตั้งแต่กำเนิดเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม การได้ยาระหว่างตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม โดยในปัจจุบันนั้น ความพิการสามารถเกิดขึ้นได้กว่า 7,000 ชนิด โดย 5 โรคที่พบบ่อย คือ อาการดาวน์ หลอดประสาทไม่ปิด ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการแต่กำเนิด กล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์คือ โฟเลต โดยการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ควรทานโฟเลต ก่อน 2-3 เดือน และได้รับต่อเนื่องไปถึงใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพราะ 28 วันแรกหลังจากปฏิสนธิมีความสำคัญมากเป็นช่วงที่สร้างระบบประสาท และระบบอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนคนที่ไม่ได้เตรียมตั้งครรภ์ให้ทานอาทิตย์ละ 1 เม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม ไม่ต้องทานทุกวันเพราะจะมากเกินไป นอกจากนี้ โฟเลตยังมีในผักใบเขียวและผลไม้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า เป็นต้นซึ่งปัจจุบันโฟเลตมีขายในร้านขายยาทั่วไป "ความพิการแต่กำเนิดป้องกันได้หากได้รับความรู้และการดูแลอย่างถูกวิธี ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และโภชนาการ สำหรับ 'โฟเลต' เรียกได้ว่าเป็น 'วิตามินวิเศษ' ซึ่งสามารถป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมด" นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) กล่าว นอกจากนี้ โรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง และเครือข่ายต่างๆ ได้จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาล และประชาชน นำร่องใน 22 จังหวัด เข้าสู่การสร้าง "อำเภอต้นแบบ" รวม 12 อำเภอ เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดร่วมกับท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด และป้องกันความพิการตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ด้วยการให้โฟเลตแก่เด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่ระดับมัธยม หรือการตรวจคัดกรองคู่สามีภรรยา นางนิตยา อมรเนรมิตกิจผู้ปกครองบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อนตอนที่ทราบว่าลูกมีอาการดาวน์นั้น การหาความรู้เรื่องพวกนี้ยากมาก แม้แต่หนังสือก็หายาก ในขณะนั้นสังคมไทยเองก็ยังไม่ยอมรับเด็กพิการมากนัก แต่ก็ได้กำลังใจ และคำแนะนำจากคุณหมอจึงสามารถเลี้ยงลูกได้ถูกวิธี "ปัจจัยสำคัญการดูแลลูกที่มีอาการดาวน์ซินโดรมมีเพียงข้อเดียว คือ จิตใจ ที่จะต้องยอมรับและปรับตัวเพื่อดูแลเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและอยู่ใน สังคมได้ตามปกติ" ในช่วง 1-3 ปีแรก ต้องเน้นเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพราะจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เมื่อเข้าวัยเรียนไปจนถึงวัยรุ่นจะต้องคอยกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสมโดยเฉพาะการจัดการอารมณ์ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยดูแล ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย และไม่ปิดกั้นจากสังคม จะช่วยในด้านพัฒนาการและการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ด้าน นายอนันต์ อีกหนึ่งผู้ปกครองที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ย้ำว่า สิ่งสำคัญในการดูแลลูก คือ การทำใจยอมรับ เพราะการยอมรับได้เร็ว จะช่วยสร้างโอกาสในการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กให้สามารถเติบโตร และช่วยเหลือตัวเองได้ "โดยจะต้องวางแผนในการดูแลทั้งสุขภาพกายและพัฒนาการควบคู่ไปพร้อมกัน เพราะเด็กที่มีอาการดาวน์ฯ อาจจะมีความผิดปกติทางร่างกายหลายอย่าง แต่จริงๆ แล้ว เด็กเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้ หากได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกวิธีมีการกระตุ้นพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงได้รับความรักอย่างเต็มที่จากผู้ปกครอง" ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า 'ความพิการแต่กำเนิด' สามารถป้องกันได้ หากรู้จักดูแลตนเองและวางแผนการมีบุตรอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ดี หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับลูกน้อย 'ความรัก' ของพ่อแม่ คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อย เติบโตและมีพัฒนาการในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ต่อไป ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1855913 ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)