ป้องกันดูแลรักษา เด็กพิการแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)

สถานการณ์ปัญหาความพิการ แต่กำเนิดเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจในระดับโลก องค์การอนามัยโลกชี้ชัดว่า...ภาวะความพิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุของการตายคลอดและการตายของทารกที่สำคัญ ร้อยละ 7 ในประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา หากดูสถิติการเสียชีวิต จะพบว่า ตัวเลขความพิการจากความพิการแต่กำเนิดและการคลอดก่อนกำหนดค่อนข้างสูงมาก

มีผู้ประเมินว่า... “เด็ก” “ทารก” จำนวน 8 ล้านคนทั่วโลกมีความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่แรกเกิด ส่วนทารกคลอดก่อนกำหนดมักพบร่วมกับการคลอดก่อนมีชีพได้ถึงร้อยละ 6-10 ดังนั้น อัตราการตายและความพิการที่เกิดจากสาเหตุ 2 อย่างนี้จึงสูงมาก “ความพิการแต่กำเนิด” เป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีอุบัติการณ์ราวร้อยละ 3-5 ของทารกมีชีพ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ พบด้วยว่าร้อยละ 20-30 ของสาเหตุการเสียชีวิตในวัยทารกมาจากความพิการแต่กำเนิด ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก

ความพิการแต่กำเนิดยังส่งผลกระทบต่อจิตใจพ่อแม่ จนถึงปัญหาในระดับประเทศ...ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษา...ประเทศไทยมีทารกแรกเกิดปีละ 800,000 ราย ประมาณการได้ว่าจะพบทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิดถึงปีละ 24,000-40,000 ราย

ให้รู้ต่อไปอีกว่า กลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของเด็กอายุ 0-4 ขวบ ในบ้านเรานั้น ได้แก่ กลุ่มโรคภาวะปริกำเนิดและความผิดปกติแต่กำเนิด โดยมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของภาระโรคทั้งหมด ซึ่งแนวโน้มของทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบเสียชีวิตสูงสุด โดยเฉพาะช่วง 28 วันแรกของชีวิต...ที่สำคัญมีแนวโน้มว่าทารกขวบปีแรกจะเสียชีวิตมากขึ้น สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 40 ของประชากรอายุ 0-14 ปี

สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุขบ้านเขาได้มีนโยบายจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดและทารกคลอดก่อนกำหนดกันแล้วแทบทั้งสิ้น หมายถึงว่า...มีการจัดทำฐานข้อมูลความพิการแต่กำเนิดอย่างเป็นระบบ เหลียวมองบ้านเรา “ประเทศไทย”...ยังไม่มีการดำเนินนโยบายที่จะป้องกันความพิการแต่กำเนิด ขึ้นทะเบียน ทำฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาต่อการนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนนโยบายระดับชาติเพื่อรับมือกับปัญหานี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้ริเริ่ม “โครงการระดับชาติเพื่อป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย (3 ปีแรก พ.ศ.2554-2557)” บอกว่า ปัจจุบัน...ความก้าวหน้าทางวิชาการ องค์ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บรุดหน้าไปอย่างมาก แต่เมื่อพิจารณาต้นทุนของการรักษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค “การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแล ป้องกันความพิการแต่กำเนิด ซึ่งสามารถทำได้ พบว่า...งานวิจัยดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและขณะตั้งครรภ์ให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่าง วิตามินโฟลิก หรือโฟเลต”

คุณหมอพรสวรรค์ บอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศมีการเสริมโฟเลตในอาหารประเภทซีเรียลให้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์มานานมากกว่า 10 ปี สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดประสาทไม่ปิดได้เป็นผลสำเร็จอย่างชัดเจน ลดความเสี่ยง...ป้องกันความพิการได้

ข้อมูลด้านการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ พบว่า ทารกพิการแต่กำเนิด 8.5-24.4 ต่อทารกเกิด 1,000 คนอย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้นนี้อาจจะสูงเกินกว่าความเป็นจริงที่พบในโรงพยาบาลทั่วไป และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อการวางแผนดูแลป้องกันอย่างเป็นระบบ

ยิ่งไปกว่านั้น...เรายังไม่มีระบบการดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิด “แบบบูรณาการ” ขาดความเชื่อมโยงกับการดูแลในชุมชน เป็นผลให้ครอบครัวต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา ส่งผลให้ขาดการดูแล รักษา ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ

ฉายภาพต่อไป...ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายป้องกันปัญหานี้อยู่แล้วทั่วประเทศ เช่น การให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ป้องกันการเกิดชนิดรุนแรงของทารกในครรภ์ การคัดกรองทารกแรกเกิด ป้องกันภาวะปัญญาอ่อน และให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารโฟเลต ภายใต้โครงการ... “ลูกครบ 32 สมองดี เริ่มต้นที่ 6 สัปดาห์แรกก่อนการตั้งครรภ์”

ปัญหามีว่า...ยังไม่มีข้อมูลว่าทารกที่ได้รับการตรวจซ้ำและตรวจพบว่า มีปัญหาจริงนั้นได้รับการวินิจฉัยเมื่อใดหลังเกิด...นับเป็นความท้าทายในการดำเนินนโยบายนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ เมื่อผนวกรวมกับความซับซ้อนของระบบบริการสุขภาพหลายประเด็นที่หน่วยงานต้องรับผิดชอบ...ขาดแพทย์ พยาบาล ที่มีความรู้ ความชำนาญ ระบบส่งต่อในการดูแลมารดา ทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดให้ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ผล...ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพได้อย่างที่ควรจะเป็นตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ...ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ระดับทุติยภูมิ...ทั้งในระดับโรงพยาบาลอำเภอ ตำบล ชุมชน

ตลอดจนการให้ความรู้ในเชิงป้องกันความพิการแต่กำเนิดแก่ประชาชน ยังไม่สามารถขยายช่องทางการสื่อสารให้เข้าถึงครอบครัวทุกระดับ เนื่องจากส่วนใหญ่เข้าถึงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเมือง โครงการระดับชาติเพื่อป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ระยะที่ 2 ในปี 2558-2560 เป็นการผนึกกำลังกันหลายหน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สปสช. สสส. ร่วมกับโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ดำเนินงานใน 3 ระดับ นับหนึ่ง...เริ่มตั้งแต่วางแผนนโยบาย ระดับผู้ให้บริการ ระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ...ชุมชน

สร้างระบบดำเนินงาน ประสานงาน จดทะเบียน ตรวจคัดกรอง...ป้องกันการเกิดซ้ำ ดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดใน 5 โรค...กลุ่มอาการดาวน์, โรคหลอดประสาทไม่ปิด, ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่, โรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม (ดูเชน) และภาวะแขนขาพิการแต่กำเนิด

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ บอกอีกว่า กรอบแนวคิดระยะที่สอง จะขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สร้างจังหวัด อำเภอต้นแบบ...ที่มีระบบการดำเนินงาน ประเมิน พัฒนาบริการสุขภาพ ติดตามส่งต่อ และป้องกันการเกิดซ้ำ

“นโยบายรับมือปัญหาอย่างบูรณาการกลุ่มเด็กพิการแต่กำเนิดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง...การจัดชุมชนให้เหมาะสมกับเด็กพิการ อาจต้องปรับสภาพแวดล้อมบางอย่าง เพื่อเอื้อโอกาสให้เด็กพิการในชุมชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ เช่น สนามเด็กเล่นที่ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการเล่นรวมกันได้ การมีทางลาด ราวบันได...เพื่อให้เด็กพิการได้เคลื่อนย้ายที่ไปมาได้อย่างปลอดภัย” ที่สำคัญ “ชุมชน” นอกจากจะมีนโยบายเชื่อมโยงในภาพใหญ่แล้ว ควรเปิดโอกาสให้ “เด็กพิการ” เข้าร่วมเรียนกับเด็กอื่นๆในชุมชนนั้นด้วย.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/604390 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 เม.ย.59
วันที่โพสต์: 18/04/2559 เวลา 10:23:31 ดูภาพสไลด์โชว์ ป้องกันดูแลรักษา เด็กพิการแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) สถานการณ์ปัญหาความพิการ แต่กำเนิดเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจในระดับโลก องค์การอนามัยโลกชี้ชัดว่า...ภาวะความพิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุของการตายคลอดและการตายของทารกที่สำคัญ ร้อยละ 7 ในประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา หากดูสถิติการเสียชีวิต จะพบว่า ตัวเลขความพิการจากความพิการแต่กำเนิดและการคลอดก่อนกำหนดค่อนข้างสูงมาก มีผู้ประเมินว่า... “เด็ก” “ทารก” จำนวน 8 ล้านคนทั่วโลกมีความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่แรกเกิด ส่วนทารกคลอดก่อนกำหนดมักพบร่วมกับการคลอดก่อนมีชีพได้ถึงร้อยละ 6-10 ดังนั้น อัตราการตายและความพิการที่เกิดจากสาเหตุ 2 อย่างนี้จึงสูงมาก “ความพิการแต่กำเนิด” เป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีอุบัติการณ์ราวร้อยละ 3-5 ของทารกมีชีพ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ พบด้วยว่าร้อยละ 20-30 ของสาเหตุการเสียชีวิตในวัยทารกมาจากความพิการแต่กำเนิด ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก ความพิการแต่กำเนิดยังส่งผลกระทบต่อจิตใจพ่อแม่ จนถึงปัญหาในระดับประเทศ...ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษา...ประเทศไทยมีทารกแรกเกิดปีละ 800,000 ราย ประมาณการได้ว่าจะพบทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิดถึงปีละ 24,000-40,000 ราย ให้รู้ต่อไปอีกว่า กลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของเด็กอายุ 0-4 ขวบ ในบ้านเรานั้น ได้แก่ กลุ่มโรคภาวะปริกำเนิดและความผิดปกติแต่กำเนิด โดยมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของภาระโรคทั้งหมด ซึ่งแนวโน้มของทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบเสียชีวิตสูงสุด โดยเฉพาะช่วง 28 วันแรกของชีวิต...ที่สำคัญมีแนวโน้มว่าทารกขวบปีแรกจะเสียชีวิตมากขึ้น สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 40 ของประชากรอายุ 0-14 ปี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุขบ้านเขาได้มีนโยบายจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดและทารกคลอดก่อนกำหนดกันแล้วแทบทั้งสิ้น หมายถึงว่า...มีการจัดทำฐานข้อมูลความพิการแต่กำเนิดอย่างเป็นระบบ เหลียวมองบ้านเรา “ประเทศไทย”...ยังไม่มีการดำเนินนโยบายที่จะป้องกันความพิการแต่กำเนิด ขึ้นทะเบียน ทำฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาต่อการนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนนโยบายระดับชาติเพื่อรับมือกับปัญหานี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้ริเริ่ม “โครงการระดับชาติเพื่อป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย (3 ปีแรก พ.ศ.2554-2557)” บอกว่า ปัจจุบัน...ความก้าวหน้าทางวิชาการ องค์ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บรุดหน้าไปอย่างมาก แต่เมื่อพิจารณาต้นทุนของการรักษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค “การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแล ป้องกันความพิการแต่กำเนิด ซึ่งสามารถทำได้ พบว่า...งานวิจัยดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและขณะตั้งครรภ์ให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่าง วิตามินโฟลิก หรือโฟเลต” คุณหมอพรสวรรค์ บอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศมีการเสริมโฟเลตในอาหารประเภทซีเรียลให้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์มานานมากกว่า 10 ปี สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดประสาทไม่ปิดได้เป็นผลสำเร็จอย่างชัดเจน ลดความเสี่ยง...ป้องกันความพิการได้ ข้อมูลด้านการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ พบว่า ทารกพิการแต่กำเนิด 8.5-24.4 ต่อทารกเกิด 1,000 คนอย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้นนี้อาจจะสูงเกินกว่าความเป็นจริงที่พบในโรงพยาบาลทั่วไป และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อการวางแผนดูแลป้องกันอย่างเป็นระบบ ยิ่งไปกว่านั้น...เรายังไม่มีระบบการดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิด “แบบบูรณาการ” ขาดความเชื่อมโยงกับการดูแลในชุมชน เป็นผลให้ครอบครัวต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา ส่งผลให้ขาดการดูแล รักษา ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ฉายภาพต่อไป...ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายป้องกันปัญหานี้อยู่แล้วทั่วประเทศ เช่น การให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ป้องกันการเกิดชนิดรุนแรงของทารกในครรภ์ การคัดกรองทารกแรกเกิด ป้องกันภาวะปัญญาอ่อน และให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารโฟเลต ภายใต้โครงการ... “ลูกครบ 32 สมองดี เริ่มต้นที่ 6 สัปดาห์แรกก่อนการตั้งครรภ์” ปัญหามีว่า...ยังไม่มีข้อมูลว่าทารกที่ได้รับการตรวจซ้ำและตรวจพบว่า มีปัญหาจริงนั้นได้รับการวินิจฉัยเมื่อใดหลังเกิด...นับเป็นความท้าทายในการดำเนินนโยบายนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ เมื่อผนวกรวมกับความซับซ้อนของระบบบริการสุขภาพหลายประเด็นที่หน่วยงานต้องรับผิดชอบ...ขาดแพทย์ พยาบาล ที่มีความรู้ ความชำนาญ ระบบส่งต่อในการดูแลมารดา ทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดให้ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ผล...ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพได้อย่างที่ควรจะเป็นตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ...ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ระดับทุติยภูมิ...ทั้งในระดับโรงพยาบาลอำเภอ ตำบล ชุมชน ตลอดจนการให้ความรู้ในเชิงป้องกันความพิการแต่กำเนิดแก่ประชาชน ยังไม่สามารถขยายช่องทางการสื่อสารให้เข้าถึงครอบครัวทุกระดับ เนื่องจากส่วนใหญ่เข้าถึงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเมือง โครงการระดับชาติเพื่อป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ระยะที่ 2 ในปี 2558-2560 เป็นการผนึกกำลังกันหลายหน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สปสช. สสส. ร่วมกับโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ดำเนินงานใน 3 ระดับ นับหนึ่ง...เริ่มตั้งแต่วางแผนนโยบาย ระดับผู้ให้บริการ ระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ...ชุมชน สร้างระบบดำเนินงาน ประสานงาน จดทะเบียน ตรวจคัดกรอง...ป้องกันการเกิดซ้ำ ดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดใน 5 โรค...กลุ่มอาการดาวน์, โรคหลอดประสาทไม่ปิด, ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่, โรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม (ดูเชน) และภาวะแขนขาพิการแต่กำเนิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์ บอกอีกว่า กรอบแนวคิดระยะที่สอง จะขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สร้างจังหวัด อำเภอต้นแบบ...ที่มีระบบการดำเนินงาน ประเมิน พัฒนาบริการสุขภาพ ติดตามส่งต่อ และป้องกันการเกิดซ้ำ “นโยบายรับมือปัญหาอย่างบูรณาการกลุ่มเด็กพิการแต่กำเนิดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง...การจัดชุมชนให้เหมาะสมกับเด็กพิการ อาจต้องปรับสภาพแวดล้อมบางอย่าง เพื่อเอื้อโอกาสให้เด็กพิการในชุมชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ เช่น สนามเด็กเล่นที่ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการเล่นรวมกันได้ การมีทางลาด ราวบันได...เพื่อให้เด็กพิการได้เคลื่อนย้ายที่ไปมาได้อย่างปลอดภัย” ที่สำคัญ “ชุมชน” นอกจากจะมีนโยบายเชื่อมโยงในภาพใหญ่แล้ว ควรเปิดโอกาสให้ “เด็กพิการ” เข้าร่วมเรียนกับเด็กอื่นๆในชุมชนนั้นด้วย. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/604390

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...