ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยการออกกำลัง
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ประมาณ 150,000 คน ทุก 4 นาที มีคนเป็นอัมพาต และทุก ๆ 10 นาที จะมีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเสียชีวิต 1 คน สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก อันดับ 1 คือโรคมะเร็ง ประมาณ 7.3 ล้านคนต่อปี รองลงมาได้แก่โรคอัมพาต ประมาณ 5.7 ล้านคนต่อปี อันดับ 3 คือโรคหัวใจ ประมาณ 5.2 ล้านคนต่อปี อันดับ 4 คือโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 4 ล้านคนต่อปี
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ผู้หญิงเสียชีวิตจากอัมพาตมากที่สุด รองลงมาคือโรคเอดส์ ส่วนผู้ชายเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากที่สุด รองลงมาคืออัมพาต สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จาก 0.69% ของประชากรอายุเกิน 20 ปี หรือประมาณ 690 ต่อแสนคน เป็น 1.12% ของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือประมาณ 1,100 ต่อแสนคนในปี 2537 และในปี 2553 เพิ่มเป็น 2.4% หรือประมาณ 2,400 ต่อแสนคน ของประชากรที่มีอายุเกิน 40 ปี
อาการที่เป็นสัญญาณอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดลำบาก ลิ้นคับปาก กลืนสำลัก ชาครึ่งซีก เวียนหัว ปวดหัว อาเจียน เห็นภาพซ้อน หมดสติ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์ทันที โรคหลอดเลือดสมองสามารถรักษาได้ โดยปัจจุบันมีการรักษาที่เรียกว่า Stroke Fast Track ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหลังเกิดอาการผิดปกติ ถ้าไปพบทันภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดให้ วิธีการรักษานี้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการพิการได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์เกิน 4 ชั่วโมงไปแล้ว แต่ยังไม่เกิน 12 ชั่วโมง มีวิธีการรักษาอีกแบบที่เรียกว่า การดึงลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดสมอง
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ กล่าวว่า “ผู้ป่วยอัมพาตมีค่าใช้จ่ายต่อปีคนละไม่ต่ำกว่าแสนบาท วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาระยะยาว คือการป้องกันโรค โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หรือพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงก็ให้ทำการรักษา” ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคนี้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 3-7 เท่า เบาหวาน เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า ไขมันในเส้นเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 1 ปัจจัย โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มทวีคูณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดสูง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ใช่แค่ 5 (3+2) เท่า แต่เป็น 6 (3x2) เท่า
นอกจากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ที่ทำการออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 50% ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงได้จัดกิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 1” ในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 05.00 น. โดยจะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 15-30 กันยายน 2558 ที่ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Siriraj Stroke Center) อาคาร 72 ปี ชั้น 11 หรือสมัครได้ที่ http://www.si.mahidol.ac.th โดยค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเดินวิ่ง 300 บาท ปั่นจักรยาน 400 บาทรายได้ส่วนหนึ่งนำไปพัฒนาศูนย์หลอดเลือดสมองโรงพยาบาลศิริราช.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/348971 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ประมาณ 150,000 คน ทุก 4 นาที มีคนเป็นอัมพาต และทุก ๆ 10 นาที จะมีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเสียชีวิต 1 คน สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก อันดับ 1 คือโรคมะเร็ง ประมาณ 7.3 ล้านคนต่อปี รองลงมาได้แก่โรคอัมพาต ประมาณ 5.7 ล้านคนต่อปี อันดับ 3 คือโรคหัวใจ ประมาณ 5.2 ล้านคนต่อปี อันดับ 4 คือโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 4 ล้านคนต่อปี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ผู้หญิงเสียชีวิตจากอัมพาตมากที่สุด รองลงมาคือโรคเอดส์ ส่วนผู้ชายเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากที่สุด รองลงมาคืออัมพาต สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จาก 0.69% ของประชากรอายุเกิน 20 ปี หรือประมาณ 690 ต่อแสนคน เป็น 1.12% ของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือประมาณ 1,100 ต่อแสนคนในปี 2537 และในปี 2553 เพิ่มเป็น 2.4% หรือประมาณ 2,400 ต่อแสนคน ของประชากรที่มีอายุเกิน 40 ปี อาการที่เป็นสัญญาณอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดลำบาก ลิ้นคับปาก กลืนสำลัก ชาครึ่งซีก เวียนหัว ปวดหัว อาเจียน เห็นภาพซ้อน หมดสติ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์ทันที โรคหลอดเลือดสมองสามารถรักษาได้ โดยปัจจุบันมีการรักษาที่เรียกว่า Stroke Fast Track ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหลังเกิดอาการผิดปกติ ถ้าไปพบทันภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดให้ วิธีการรักษานี้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการพิการได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์เกิน 4 ชั่วโมงไปแล้ว แต่ยังไม่เกิน 12 ชั่วโมง มีวิธีการรักษาอีกแบบที่เรียกว่า การดึงลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดสมอง ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ กล่าวว่า “ผู้ป่วยอัมพาตมีค่าใช้จ่ายต่อปีคนละไม่ต่ำกว่าแสนบาท วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาระยะยาว คือการป้องกันโรค โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หรือพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงก็ให้ทำการรักษา” ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคนี้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 3-7 เท่า เบาหวาน เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า ไขมันในเส้นเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 1 ปัจจัย โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มทวีคูณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดสูง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ใช่แค่ 5 (3+2) เท่า แต่เป็น 6 (3x2) เท่า นอกจากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ที่ทำการออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 50% ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงได้จัดกิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 1” ในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 05.00 น. โดยจะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 15-30 กันยายน 2558 ที่ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Siriraj Stroke Center) อาคาร 72 ปี ชั้น 11 หรือสมัครได้ที่ http://www.si.mahidol.ac.th โดยค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเดินวิ่ง 300 บาท ปั่นจักรยาน 400 บาทรายได้ส่วนหนึ่งนำไปพัฒนาศูนย์หลอดเลือดสมองโรงพยาบาลศิริราช. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/348971
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)