กรมวิทย์ฯเร่งพัฒนาเครื่องตรวจเด็กดาวน์-ลดพิการแรกเกิด

แสดงความคิดเห็น

กรมวิทย์ฯ เร่งพัฒนาการตรวจกลุ่มอาการดาวน์ หวังลดอัตราเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด คาด 6 เดือนเสร็จ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กรมวิทย์ ได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำโครงการการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ ด้วยวิธีใหม่ที่ไม่ต้องเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยได้นำเข้าเครื่องมือและน้ำยามาจากต่างประเทศ แบบชุดทดสอบมา แต่การแปรผลให้แม่นยำเข้ากับคนไทยจำเป็นต้องมีการทดสอบเพื่อปรับค่าโดยผ่านกระบวนการทดสอบก่อน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสร็จภายใน 6 เดือน โดยความร่วมมือได้ทำกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆด้วย คาดว่าจะสามารถทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างได้ประมาณ 400-500 ราย ซึ่งถือว่าเพียงพอ

ตราสัญลักษณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า การพัฒนาโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราความพิการแต่กำเนิดลง โดยแต่ละปีมีความต้องการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 45,000 ราย แต่วิธีการตรวจแบบเดิมด้วยการเพาะเซลล์ ซึ่งไทยมีบุคลากรที่สามารถอ่านผลการตรวจและแปลผลได้เพียง 25,000 ราย หากสามารถพัฒนาให้มีเครื่องมือการตรวจอย่างง่ายได้ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำตรวจกับน้ำยาในช่วงการตั้งครรภ์ 5 -12 สัปดาห์ และใช้เวลาตรวจเร็วขึ้น จากเดิม 3-4 สัปดาห์ เหลือเพียง 2 วัน และค่าแปรผลแม่นยำ จะทำให้ผู้ที่ต้องการตรวจเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้น และสามารถตัดสินใจได้ชัดเจนว่าจะวางแผนอย่างไร จากเดิมที่แม้ว่าจะตรวจแล้ว แต่พ่อแม่ยังไม่มีความเชื่อมั่นในผลตรวจ ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือไม่

“กรมวิทย์ฯ ถือเป็นผู้จัดการโครงการเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดโดยบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และ สปสช. ซึ่งเมื่อโครงการสิ้นสุดลง สปสช.จะวิจัยความคุ้มค่าในการบรรจุลงชุดสิทธิประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายลดอัตราการเกิดโรคธารัสซีเมีย และไฮโปไทรอยด์ ซึ่งธารัสซีเมีย จะตรวจตั้งแต่คู่แต่งงานก่อนมีบุตรเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคลง ส่วนไฮโปไทรอยด์ จะตรวจในเด็กแรกเกิด หากพบว่าผิดปกติจะต้องให้ยาอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนแรกเพื่อไม่ให้กระทบต่อสมองถาวร ซึ่งปัจจุบันสามารถลดจาก 500 รายต่อปี ลงเหลือ 100 รายต่อปีแล้ว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรคความพิการตั้งแต่กำเนิดนั้น เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ หากรู้วิธีการป้องกันและตรวจได้รวดเร็ว เช่น กลุ่มอาการดาวน์ จำเป็นต้องตรวจให้ได้เร็วที่สุด เพื่อการวางแผนและหากต้องตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ก็ต้องมีอายุครรภ์ที่ไม่มากเกินไป เพราะจะกระทบต่อแม่ได้” นพ.อภิชัย กล่าว

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/664561 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 9/09/2558 เวลา 13:53:13 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมวิทย์ฯเร่งพัฒนาเครื่องตรวจเด็กดาวน์-ลดพิการแรกเกิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมวิทย์ฯ เร่งพัฒนาการตรวจกลุ่มอาการดาวน์ หวังลดอัตราเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด คาด 6 เดือนเสร็จ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กรมวิทย์ ได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำโครงการการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ ด้วยวิธีใหม่ที่ไม่ต้องเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยได้นำเข้าเครื่องมือและน้ำยามาจากต่างประเทศ แบบชุดทดสอบมา แต่การแปรผลให้แม่นยำเข้ากับคนไทยจำเป็นต้องมีการทดสอบเพื่อปรับค่าโดยผ่านกระบวนการทดสอบก่อน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสร็จภายใน 6 เดือน โดยความร่วมมือได้ทำกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆด้วย คาดว่าจะสามารถทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างได้ประมาณ 400-500 ราย ซึ่งถือว่าเพียงพอ ตราสัญลักษณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า การพัฒนาโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราความพิการแต่กำเนิดลง โดยแต่ละปีมีความต้องการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 45,000 ราย แต่วิธีการตรวจแบบเดิมด้วยการเพาะเซลล์ ซึ่งไทยมีบุคลากรที่สามารถอ่านผลการตรวจและแปลผลได้เพียง 25,000 ราย หากสามารถพัฒนาให้มีเครื่องมือการตรวจอย่างง่ายได้ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำตรวจกับน้ำยาในช่วงการตั้งครรภ์ 5 -12 สัปดาห์ และใช้เวลาตรวจเร็วขึ้น จากเดิม 3-4 สัปดาห์ เหลือเพียง 2 วัน และค่าแปรผลแม่นยำ จะทำให้ผู้ที่ต้องการตรวจเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้น และสามารถตัดสินใจได้ชัดเจนว่าจะวางแผนอย่างไร จากเดิมที่แม้ว่าจะตรวจแล้ว แต่พ่อแม่ยังไม่มีความเชื่อมั่นในผลตรวจ ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ “กรมวิทย์ฯ ถือเป็นผู้จัดการโครงการเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดโดยบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และ สปสช. ซึ่งเมื่อโครงการสิ้นสุดลง สปสช.จะวิจัยความคุ้มค่าในการบรรจุลงชุดสิทธิประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายลดอัตราการเกิดโรคธารัสซีเมีย และไฮโปไทรอยด์ ซึ่งธารัสซีเมีย จะตรวจตั้งแต่คู่แต่งงานก่อนมีบุตรเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคลง ส่วนไฮโปไทรอยด์ จะตรวจในเด็กแรกเกิด หากพบว่าผิดปกติจะต้องให้ยาอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนแรกเพื่อไม่ให้กระทบต่อสมองถาวร ซึ่งปัจจุบันสามารถลดจาก 500 รายต่อปี ลงเหลือ 100 รายต่อปีแล้ว อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรคความพิการตั้งแต่กำเนิดนั้น เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ หากรู้วิธีการป้องกันและตรวจได้รวดเร็ว เช่น กลุ่มอาการดาวน์ จำเป็นต้องตรวจให้ได้เร็วที่สุด เพื่อการวางแผนและหากต้องตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ก็ต้องมีอายุครรภ์ที่ไม่มากเกินไป เพราะจะกระทบต่อแม่ได้” นพ.อภิชัย กล่าว ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/664561

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...