“รพ.เด็ก” ศูนย์ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด-พิการแต่กำเนิด ลดอัตราตาย

แสดงความคิดเห็น

กรมการแพทย์ ยกระดับ รพ.เด็ก เป็นศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วย - พิการครบวงจร ลดอัตราการตายพร้อมด้วยเทคโนโลยีห้องสวนหัวใจไฮบริดแห่งแรกของไทย

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร”

วันที่ (2 มิ.ย.) นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร” ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ว่า ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ปีละ 700,000 คน เป็นทารกเกิดก่อนกำหนดประมาณ 100,000 คน โดยเด็กกลุ่มนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 72 มาจากการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีภาวะพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย ซึ่งกลุ่มนี้ต้องการสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงและดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ในการรักษา ทั้งนี้ กรมฯ ได้ยกระดับ รพ.เด็ก ให้เป็น Service Champion คือ มีความเป็นเลิศในด้านการดูแลเด็กทารกแรกเกิด เพื่อลดอัตราการตายจากทารกคลอดก่อนกำหนดและพิการแต่กำเนิด ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดความพัฒนาของประเทศ ซึ่งปัจจุบันอัตราตายของเด็กแรกคลอดอยู่ 6.7 ต่อพัน ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน แต่ลดได้น้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ 20 ต่อพัน นอกจากนี้ ยังเป็นสถานฝึกอบรมให้แก่กุมารแพทย์ เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆ ปีละกว่า 50 คน และพยาบาลวิกฤตด้านทารกแรกเกิดอีกปีละ 80 คน กระจายปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ได้มาตรฐานปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 3 ของทารกเกิดมีชีพ โดยความผิดปกติของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะแขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรืออาจเสียชีวิตในระยะแรกๆ หลังคลอด ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ บางครอบครัวไม่มีผู้ดูแล พ่อแม่ต้องหยุดทำงานเพื่อมาเลี้ยงลูกที่พิการ นับเป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ดูแลรักษาทารกแรกเกิดป่วยและพิการแบบองค์รวมภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศ 3 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิด 2. ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด โดยทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคตา แพทย์ด้านโสต ศอ นาสิก ศัลยแพทย์ระบบประสาทและศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เป็นต้น

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร”

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประกอบด้วย 1.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิด ดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดป่วยที่รับส่งต่อมารักษาจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงทารกป่วยจากทั้ง 12 เขตสุขภาพ ให้บริการทารกแรกเกิดวิกฤตปีละ 1,200 ราย โดยมีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 70 เตียง มีเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง เครื่องให้ก๊าซไนตริกออกไซด์เพื่อรักษาภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง และเครื่องลดอุณหภูมิกาย (cooling system) ใช้รักษาทารกที่มีภาวะขาดอากาศหายใจ อีกทั้งมีบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลทารกป่วย 2. ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รักษาทารกแรกเกิดที่มีปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ส่งต่อมาปีละ 4,500 ราย โดยมีห้องสวนหัวใจไฮบริด ที่ทันสมัยเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ได้ทำการรักษาทารกโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยสายสวนโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเปิดหน้าอกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ปีละ 400 ราย จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 3,000 ราย มีอัตรารอดชีวิตร้อยละ 99.86 กรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการใส่สายสวนหัวใจ จะส่งผ่าตัดแก้ไขความพิการโดยกุมารศัลยแพทย์โรคหัวใจของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ปีละ 350 ราย และโรงพยาบาลราชวิถีปีละ 140 ราย และ 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด ดูแลทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการทางด้านศัลยกรรมที่ส่งต่อมารับการรักษาปีละ 1,000 ราย มีเตียงรองรับผู้ป่วย 38 เตียง โรคที่พบได้แก่ ถุงน้ำที่ผนังหน้าท้อง ทารกที่ไม่มีผนังหน้าท้องไส้เลื่อนกระบังลมแต่กำเนิดเป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ความชำนาญพิเศษ (COSE: Center of Special Expertise) อีก 6 ศูนย์ ได้แก่ ตา รับส่งต่อตรวจวินิจฉัย รักษาโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนด เป็นอันดับต้นของประเทศ รวมทั้งแก้ไขความพิการทางตา เช่น ตาเข เป็นต้น โสต ศอ นาสิก ตรวจวินิจฉัยและแก้ไขความพิการทางการได้ยิน ความพิการทางหูคอจมูกและทางเดินหายใจส่วนบน กระดูกและข้อ ผ่าตัดแก้ไขความพิการทางกระดูกและกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด กายอุปกรณ์ รักษาทารกที่มีความพิการในด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พัฒนาการเด็ก ส่งเสริมด้านพัฒนาการเด็กพิการให้ทัดเทียมสมวัยของทารก และ นมแม่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกได้รับน้ำนมมารดาอย่างต่อเนื่อง แม้ในยามที่ลูกเจ็บป่วย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000056338 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 มิ.ย.60
วันที่โพสต์: 8/06/2560 เวลา 10:33:28 ดูภาพสไลด์โชว์ “รพ.เด็ก” ศูนย์ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด-พิการแต่กำเนิด ลดอัตราตาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมการแพทย์ ยกระดับ รพ.เด็ก เป็นศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วย - พิการครบวงจร ลดอัตราการตายพร้อมด้วยเทคโนโลยีห้องสวนหัวใจไฮบริดแห่งแรกของไทย นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร” วันที่ (2 มิ.ย.) นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร” ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ว่า ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ปีละ 700,000 คน เป็นทารกเกิดก่อนกำหนดประมาณ 100,000 คน โดยเด็กกลุ่มนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 72 มาจากการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีภาวะพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย ซึ่งกลุ่มนี้ต้องการสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงและดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ในการรักษา ทั้งนี้ กรมฯ ได้ยกระดับ รพ.เด็ก ให้เป็น Service Champion คือ มีความเป็นเลิศในด้านการดูแลเด็กทารกแรกเกิด เพื่อลดอัตราการตายจากทารกคลอดก่อนกำหนดและพิการแต่กำเนิด ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดความพัฒนาของประเทศ ซึ่งปัจจุบันอัตราตายของเด็กแรกคลอดอยู่ 6.7 ต่อพัน ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน แต่ลดได้น้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ 20 ต่อพัน นอกจากนี้ ยังเป็นสถานฝึกอบรมให้แก่กุมารแพทย์ เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆ ปีละกว่า 50 คน และพยาบาลวิกฤตด้านทารกแรกเกิดอีกปีละ 80 คน กระจายปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ได้มาตรฐานปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 3 ของทารกเกิดมีชีพ โดยความผิดปกติของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะแขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรืออาจเสียชีวิตในระยะแรกๆ หลังคลอด ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ บางครอบครัวไม่มีผู้ดูแล พ่อแม่ต้องหยุดทำงานเพื่อมาเลี้ยงลูกที่พิการ นับเป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ดูแลรักษาทารกแรกเกิดป่วยและพิการแบบองค์รวมภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศ 3 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิด 2. ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด โดยทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคตา แพทย์ด้านโสต ศอ นาสิก ศัลยแพทย์ระบบประสาทและศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เป็นต้น นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวผลงาน Service Champion “ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร” นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประกอบด้วย 1.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิด ดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดป่วยที่รับส่งต่อมารักษาจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงทารกป่วยจากทั้ง 12 เขตสุขภาพ ให้บริการทารกแรกเกิดวิกฤตปีละ 1,200 ราย โดยมีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 70 เตียง มีเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง เครื่องให้ก๊าซไนตริกออกไซด์เพื่อรักษาภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง และเครื่องลดอุณหภูมิกาย (cooling system) ใช้รักษาทารกที่มีภาวะขาดอากาศหายใจ อีกทั้งมีบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลทารกป่วย 2. ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รักษาทารกแรกเกิดที่มีปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ส่งต่อมาปีละ 4,500 ราย โดยมีห้องสวนหัวใจไฮบริด ที่ทันสมัยเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ได้ทำการรักษาทารกโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยสายสวนโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเปิดหน้าอกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ปีละ 400 ราย จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 3,000 ราย มีอัตรารอดชีวิตร้อยละ 99.86 กรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการใส่สายสวนหัวใจ จะส่งผ่าตัดแก้ไขความพิการโดยกุมารศัลยแพทย์โรคหัวใจของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ปีละ 350 ราย และโรงพยาบาลราชวิถีปีละ 140 ราย และ 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด ดูแลทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการทางด้านศัลยกรรมที่ส่งต่อมารับการรักษาปีละ 1,000 ราย มีเตียงรองรับผู้ป่วย 38 เตียง โรคที่พบได้แก่ ถุงน้ำที่ผนังหน้าท้อง ทารกที่ไม่มีผนังหน้าท้องไส้เลื่อนกระบังลมแต่กำเนิดเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ความชำนาญพิเศษ (COSE: Center of Special Expertise) อีก 6 ศูนย์ ได้แก่ ตา รับส่งต่อตรวจวินิจฉัย รักษาโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนด เป็นอันดับต้นของประเทศ รวมทั้งแก้ไขความพิการทางตา เช่น ตาเข เป็นต้น โสต ศอ นาสิก ตรวจวินิจฉัยและแก้ไขความพิการทางการได้ยิน ความพิการทางหูคอจมูกและทางเดินหายใจส่วนบน กระดูกและข้อ ผ่าตัดแก้ไขความพิการทางกระดูกและกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด กายอุปกรณ์ รักษาทารกที่มีความพิการในด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พัฒนาการเด็ก ส่งเสริมด้านพัฒนาการเด็กพิการให้ทัดเทียมสมวัยของทารก และ นมแม่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกได้รับน้ำนมมารดาอย่างต่อเนื่อง แม้ในยามที่ลูกเจ็บป่วย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000056338

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...