หลอดเลือดสมองทำคนไทย “ตาย-พิการ” อื้อ แนะวิธีป้องกัน

แสดงความคิดเห็น

กรมการแพทย์ ชี้ โรคหลอดเลือดสมอง ทำคนไทยพิการ - ตาย สูง แนะควบคุมอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายงดบุหรี่แอลกอฮอล์สังเกตความผิดปกติของร่างกายจะป้องกันโรคได้

อาการปวดหัวอย่างรุนแรง

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงไทย โดยข้อมูลจากองค์การอัมพาตโลก พบว่า แต่ละปีมีประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านคน สำหรับประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของความพิการ หรือเสียชีวิต เป็นลำดับต้น ๆ โดยโรคดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรืออุดตัน เป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารไขมันสูง สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเลือดข้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัวเกิดการตีบหรืออุดตันสมองขาดเลือดเป็นอัมพาตได้

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางลง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ พบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ สูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ใช้สารเสพติด เช่น โคเคน ผู้ที่มีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาการของโรค คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท ที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการปวดหัวอย่างรุนแรงที่สุดในชีวิตแบบไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นแบบทันทีทันใดร่วมกับอาการ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ตามัว ชัก หนังตาตก สับสน หมดสติ ควรรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพราะไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ ถึงแม้โรคนี้จะไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น งดสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การออกแรงเบ่งบ่อย ๆ แรงๆเป็นต้น

“สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง คือ อ่อนแรงแขนขาครึ่งซีก หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เหน็บชาตามร่างกายครึ่งซีก พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด กลืนลำบาก สำลัก เห็นภาพซ้อน ภาพมัวหรือมืดลงครึ่งซีก สับสน ซึมลง ไม่รู้สึกตัว เวียนและปวดศีรษะรุนแรง ปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน เดินเซ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการข้างต้นพยายามให้นอนราบ เพื่อให้เลือดไหลเวียน หากมีอาการซึมมาก ควรพลิกตัวตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง ป้องกันสำลัก ไม่ควรป้อนน้ำ ยา อาหาร นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้และเร็วที่สุด” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า สำหรับแนวทางลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด ไขมันสูง กินผักและผลไม้ให้มาก ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ส่วนกรณีมีปัจจัยเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074537 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 28/07/2559 เวลา 13:52:43 ดูภาพสไลด์โชว์ หลอดเลือดสมองทำคนไทย “ตาย-พิการ” อื้อ แนะวิธีป้องกัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมการแพทย์ ชี้ โรคหลอดเลือดสมอง ทำคนไทยพิการ - ตาย สูง แนะควบคุมอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายงดบุหรี่แอลกอฮอล์สังเกตความผิดปกติของร่างกายจะป้องกันโรคได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงไทย โดยข้อมูลจากองค์การอัมพาตโลก พบว่า แต่ละปีมีประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านคน สำหรับประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของความพิการ หรือเสียชีวิต เป็นลำดับต้น ๆ โดยโรคดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรืออุดตัน เป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารไขมันสูง สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเลือดข้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัวเกิดการตีบหรืออุดตันสมองขาดเลือดเป็นอัมพาตได้ 2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางลง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ พบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ สูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ใช้สารเสพติด เช่น โคเคน ผู้ที่มีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาการของโรค คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท ที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการปวดหัวอย่างรุนแรงที่สุดในชีวิตแบบไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นแบบทันทีทันใดร่วมกับอาการ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ตามัว ชัก หนังตาตก สับสน หมดสติ ควรรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพราะไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ ถึงแม้โรคนี้จะไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น งดสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การออกแรงเบ่งบ่อย ๆ แรงๆเป็นต้น “สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง คือ อ่อนแรงแขนขาครึ่งซีก หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เหน็บชาตามร่างกายครึ่งซีก พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด กลืนลำบาก สำลัก เห็นภาพซ้อน ภาพมัวหรือมืดลงครึ่งซีก สับสน ซึมลง ไม่รู้สึกตัว เวียนและปวดศีรษะรุนแรง ปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน เดินเซ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการข้างต้นพยายามให้นอนราบ เพื่อให้เลือดไหลเวียน หากมีอาการซึมมาก ควรพลิกตัวตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง ป้องกันสำลัก ไม่ควรป้อนน้ำ ยา อาหาร นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้และเร็วที่สุด” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า สำหรับแนวทางลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด ไขมันสูง กินผักและผลไม้ให้มาก ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ส่วนกรณีมีปัจจัยเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074537

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...