สำรวจพบทารกหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงสุด
รพ.เด็ก เร่งเก็บข้อมูลทารกพิการแต่กำเนิด พบปี 57 มีทารกพิการแต่กำเนิด 2.38% ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงอันดับ1เตรียมจัดงานวันเด็กพิการโลกสร้างความตระหนักและป้องกัน
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า จากการที่สถาบันฯ ได้ประสานหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานป้องกันดูแลและรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ ซึ่งดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 4 โดยผ่านความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้มีการรวบรวมแผนงานในการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดของไทย มีการพัฒนาขยายผลต่อยอดระบบลงทะเบียนการเกิด เพื่อจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด โดยในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพทารกแรกเกิดและฐานข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงของปัญหาความพิการแต่กำเนิดในไทย เพื่อใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เด็กที่มีปัญหาภาวะพิการแต่กำเนิดได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
“วันที่ 3 มี.ค. นี้ จะตรงกับวันเด็กพิการโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้เด็ก มีภาวะตั้งแต่พิการ และรุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น จึงต้องการกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักที่จะป้องกันโดยจะเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง 2. สนับสนุนให้มีการสำรวจข้อมูลความพิการในทารกเพื่อให้รู้ถึงปัญหา 3. สนับสนุนให้มีการป้องกัน และ 4. การให้การรักษาร่วมกับการทำวิจัย”พญ.ศิราภรณ์กล่าว
ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์ หัวหน้าหน่วยพันธุศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลก พบว่า มีทารกพิการแต่กำเนิด 3 - 5% หรือปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะพิการแต่กำเนิดถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขและจากการที่ WHO รณรงค์ให้ทั่วโลกทำการเก็บข้อมูลความพิการแต่กำเนิด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีการเปิดลงทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดเพื่อดูว่ามีมากน้อยเพียงใด พบว่าในปี 2557 มีจำนวน 180,393 คน คิดเป็น 23.23% ของทารกแรกเกิด แต่เป็นการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 41 จังหวัดเท่านั้น หากคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศจะพบภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกประมาณ2.38%โดยในปี2557มีทารกคลอดทั้งสิ้น776,370คน
“ความพิการในทารกแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกลุ่มอาการดาว ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดปัจจุบันส่วนใหญ่ประมาณ 70% สามารถจะป้องกันและรักษาให้หายขาด รวมถึงสามารถช่วยฟื้นฟูให้เด็กสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ มารดายังสามารถมีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในทารกได้อีกด้วย เช่น การให้กินโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ รวมถึงการให้วัคซีนในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และการลดภาวะปัจจัยเสี่ย เช่น งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น” ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ กล่าว
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000021588 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รพ.เด็ก เร่งเก็บข้อมูลทารกพิการแต่กำเนิด พบปี 57 มีทารกพิการแต่กำเนิด 2.38% ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดสูงอันดับ1เตรียมจัดงานวันเด็กพิการโลกสร้างความตระหนักและป้องกัน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า จากการที่สถาบันฯ ได้ประสานหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานป้องกันดูแลและรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ ซึ่งดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 4 โดยผ่านความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้มีการรวบรวมแผนงานในการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดของไทย มีการพัฒนาขยายผลต่อยอดระบบลงทะเบียนการเกิด เพื่อจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิด โดยในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพทารกแรกเกิดและฐานข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงของปัญหาความพิการแต่กำเนิดในไทย เพื่อใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เด็กที่มีปัญหาภาวะพิการแต่กำเนิดได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน “วันที่ 3 มี.ค. นี้ จะตรงกับวันเด็กพิการโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้เด็ก มีภาวะตั้งแต่พิการ และรุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น จึงต้องการกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักที่จะป้องกันโดยจะเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่รุนแรง 2. สนับสนุนให้มีการสำรวจข้อมูลความพิการในทารกเพื่อให้รู้ถึงปัญหา 3. สนับสนุนให้มีการป้องกัน และ 4. การให้การรักษาร่วมกับการทำวิจัย”พญ.ศิราภรณ์กล่าว ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์ หัวหน้าหน่วยพันธุศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลก พบว่า มีทารกพิการแต่กำเนิด 3 - 5% หรือปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะพิการแต่กำเนิดถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขและจากการที่ WHO รณรงค์ให้ทั่วโลกทำการเก็บข้อมูลความพิการแต่กำเนิด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีการเปิดลงทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดเพื่อดูว่ามีมากน้อยเพียงใด พบว่าในปี 2557 มีจำนวน 180,393 คน คิดเป็น 23.23% ของทารกแรกเกิด แต่เป็นการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 41 จังหวัดเท่านั้น หากคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศจะพบภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกประมาณ2.38%โดยในปี2557มีทารกคลอดทั้งสิ้น776,370คน “ความพิการในทารกแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกลุ่มอาการดาว ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดปัจจุบันส่วนใหญ่ประมาณ 70% สามารถจะป้องกันและรักษาให้หายขาด รวมถึงสามารถช่วยฟื้นฟูให้เด็กสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ มารดายังสามารถมีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในทารกได้อีกด้วย เช่น การให้กินโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ รวมถึงการให้วัคซีนในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และการลดภาวะปัจจัยเสี่ย เช่น งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น” ศ.คลินิก นพ.สุทธิพงษ์ กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000021588
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)