‘ลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือ…..?’(ตอนที่1)
อวัยวะ ของร่างกายคนเราที่สำคัญในการดำรงชีวิตนั้นมีหลายอวัยวะ และ ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ “หัวใจ” โดยหัวใจของคนเรานั้นมี 4 ห้อง ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปฟอกที่ปอดและสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดของหัวใจ ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease) พบประมาณ 8 คนต่อทารกคลอดมีชีพ 1,000 คน มีทั้งชนิดเขียว (Cyanotic congenital heart di sease) และชนิดไม่เขียว (Non-cyanotic congenital heart disease) และ แต่ละชนิดมีความรุนแรงของโรคต่าง ๆ กันไป โดยที่อาจเสียชีวิตตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติจนเป็นผู้ใหญ่และสามารถมีครอบครัวได้ การมีลูกหลานในครอบครัวเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดย่อมสร้างความกังวลไม่สบายใจ หรือเป็นทุกข์อย่างมาก และอาจบั่นทอนเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย
ดังนั้น การทราบว่าลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ จึงมีความสำคัญและมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอย่างง่ายเพื่อใช้วิเคราะห์ว่าลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ดังนี้ 1. ลูกเขียว (Cyanosis) หรือเปล่า? เขียว (Cyanosis) ในที่นี้หมายถึง ลูกมีสีผิวหนังแดงคล้ำทั่วร่างกาย โดยเฉพาะจะเห็นได้ชัดแถวริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า (ไม่ใช่เขียวตามความหมายทั่ว ๆ ไป) โดยเฉพาะเวลาลูกดูดนมหรือร้อง จะดูเขียวมากขึ้น ในรายที่มีอาการนี้มานานก็จะทำให้ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าโต ปุ่มขึ้นคล้ายกับไม้ตีกลองได้ (clubbing) เขียว (cyanosis) เป็นอาการแสดงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอย่างหนึ่งพบเฉพาะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความผิดปกติจากภายในหัวใจ และ/หรือความผิดปกติของหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจร่วมด้วยค่อนข้างมาก ทำให้เลือดดำมาปนกับเลือดแดงที่ออกมาเลี้ยงร่างกาย เลือดจึงมีสีแดงคล้ำขึ้น ทำให้เกิดภาวะเขียว (cyanosis) แต่ถ้าความผิดปกติของหัวใจนั้นไม่ทำให้เลือดดำมาผสมกับเลือดแดงก็เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว (acyanosis) 2. ลูกดูดนมแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ลูกที่อายุยังน้อย ๆ หรือยังเล็ก เวลาดูดนม คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตพบว่าลูกดูดนมไม่ค่อยเก่ง ดูดทีละน้อย ๆ ต้องหยุดพักบ่อยและใช้เวลานานกว่าปกติในการดูดนมจนอิ่มเมื่อเทียบกับเด็กทั่ว ๆ ไป ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด อาจมีการคั่งของเลือดที่ปอด ทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับเลือดที่ปอดได้ไม่ดีเท่าที่ควรและทำให้ปอดมีความยืดหยุ่นน้อยลงด้วยทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะตอนช่วงดูดนมหรือตอนออกกำลังกาย
3. ลูกหายใจเร็วกว่าปกติอยู่ตลอดเวลา การเกิดอาการเช่นนี้เป็นเพราะมีการคั่งของเลือดในปอด ทำให้ต้องหายใจเร็วกว่าปกติเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกายเช่นเดียวกับลูกดูดนมแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ บางครั้งอาจมีอาการหายใจหอบร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังดูดนม, เล่นหรือออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย 4. ลูกมีเหงื่อออกมากผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่า ลูกมีเหงื่อออกมากกว่าปกติไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว เช่น ขณะที่คนทั่วไปรู้สึกว่าอากาศค่อนข้างสบายแต่ลูกก็มีเหงื่อ โดยเฉพาะแถวหน้าผาก, ด้านหลังของศีรษะและหลัง เป็นต้น บางครั้งหมอนหรือที่นอนเปียกชุ่มไปหมด เป็นเพราะหัวใจต้องทำงานมากมีการใช้พลังงาน (metabolism) สูงกว่าปกติและมีการทำงานของประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nerve) มากกว่าปกติด้วย ทำให้ลูกมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ภาวะนี้จะเห็นได้ชัดเจนในเด็กที่มีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย แต่ถ้าลูกหลานของท่านมีเหงื่อออกตอนเฉพาะอากาศร้อนหรือตอนออกกำลังกายถือว่าปกติ ไม่ต้องกังวล 5. หัวใจลูกเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่า หัวใจของลูกเต้นเร็วและแรงกว่าปกติโดยมีการกระเพื่อมของหน้าอกซ้ายด้านล่างแถว ๆ ใกล้ราวนมของลูก และบางครั้งอาจเห็นการกระเพื่อมที่หน้าอกคล้ายกลองที่ถูกตีทีเดียว การที่หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติเพื่อพยายามบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้พอเพียงกับความต้องการที่มากกว่าปกติและเพื่อชดเชยเลือดที่พร่องไปในขณะหัวใจบีบตัวแต่ละครั้ง เช่น ในกรณีที่ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น และมักพบในภาวะหัวใจวาย ถ้าเป็นมานานอาจพบหน้าอก ส่วนนี้นูนออกมาคล้ายหน้าอกไก่เนื่องจากหัวใจโตดันออกมา 6. ลูกไม่ค่อยโต หรือเติบโตช้ากว่าปกติ เพราะเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะที่มีหัวใจวายร่วมด้วย จะดูดนมไม่ค่อยเก่ง รับประทานอาหารได้น้อยและอาจมีการดูดซึมอาหารของลำไส้ไม่ดีเท่าปกติอีกด้วย เพราะมีการคั่งของเลือดทำให้ได้อาหารไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเด็กพวกนี้จะต้องการพลังงานมากกว่าปกติอยู่แล้ว จึงมีผลทำให้ผอมและเจริญเติบโตช้า แต่การเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญาโดยทั่วไปเท่ากับเด็กปกติ 7. ลูกเป็นหวัด ไอ หรือปอดบวมบ่อย ภาวะนี้จะสังเกตเห็นได้ในเด็กที่มีภาวะหัวใจวายเพราะมีการคั่งของเลือดที่เยื่อบุผิวของหลอดลมและปอด ทำให้มีการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ จึงเป็นหวัดหรือปอดบวมง่ายและป่วยบ่อยกว่าเด็กปกติทั่ว ๆ ไป และเมื่อป่วยก็จะใช้เวลานานกว่าจะหาย แต่ภาวะนี้ก็ต้องแยกจากภาวะภูมิแพ้หรือภูมิต้านทานผิดปกติด้วย จากหลักสังเกตที่สำคัญ
7 ข้อดังกล่าวนี้ หวังว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะสามารถนำไปใช้พิจารณาว่าลูกน่าจะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่? ….ได้อย่างดีทีเดียวไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือความชำนาญอะไรเลย และเมื่อสงสัยควรพาลูกหลานของท่านไปพบแพทย์ตรวจเพื่อจะได้ทราบแน่ชัดว่าป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือตรวจที่เรียกว่า Stethoscope ฟังดูว่าลูกมีเสียงหัวใจผิดปกติหรือไม่ หรือมีเสียงอื่นที่ผิดปกติร่วมด้วย แพทย์ผู้ตรวจจะส่งตรวจเอกซเรย์หัวใจ (Chest x-ray) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจมากขึ้นจะส่งตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษ เช่น เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) และบางรายอาจต้องทำการสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) เพื่อให้ทราบชนิดของความผิดปกติอย่างถูกต้องและความรุนแรงของโรค เพื่อใช้ประกอบในการรักษาและพยากรณ์โรค ข้อมูลจาก นายแพทย์วัชระ จามจุรีรักษ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 / http://www.phyathai.com นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/374989 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กทารกดูดนมจากอกแม่ อวัยวะ ของร่างกายคนเราที่สำคัญในการดำรงชีวิตนั้นมีหลายอวัยวะ และ ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ “หัวใจ” โดยหัวใจของคนเรานั้นมี 4 ห้อง ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปฟอกที่ปอดและสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดของหัวใจ ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease) พบประมาณ 8 คนต่อทารกคลอดมีชีพ 1,000 คน มีทั้งชนิดเขียว (Cyanotic congenital heart di sease) และชนิดไม่เขียว (Non-cyanotic congenital heart disease) และ แต่ละชนิดมีความรุนแรงของโรคต่าง ๆ กันไป โดยที่อาจเสียชีวิตตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติจนเป็นผู้ใหญ่และสามารถมีครอบครัวได้ การมีลูกหลานในครอบครัวเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดย่อมสร้างความกังวลไม่สบายใจ หรือเป็นทุกข์อย่างมาก และอาจบั่นทอนเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย ดังนั้น การทราบว่าลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ จึงมีความสำคัญและมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอย่างง่ายเพื่อใช้วิเคราะห์ว่าลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ดังนี้ 1. ลูกเขียว (Cyanosis) หรือเปล่า? เขียว (Cyanosis) ในที่นี้หมายถึง ลูกมีสีผิวหนังแดงคล้ำทั่วร่างกาย โดยเฉพาะจะเห็นได้ชัดแถวริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า (ไม่ใช่เขียวตามความหมายทั่ว ๆ ไป) โดยเฉพาะเวลาลูกดูดนมหรือร้อง จะดูเขียวมากขึ้น ในรายที่มีอาการนี้มานานก็จะทำให้ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าโต ปุ่มขึ้นคล้ายกับไม้ตีกลองได้ (clubbing) เขียว (cyanosis) เป็นอาการแสดงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอย่างหนึ่งพบเฉพาะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความผิดปกติจากภายในหัวใจ และ/หรือความผิดปกติของหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจร่วมด้วยค่อนข้างมาก ทำให้เลือดดำมาปนกับเลือดแดงที่ออกมาเลี้ยงร่างกาย เลือดจึงมีสีแดงคล้ำขึ้น ทำให้เกิดภาวะเขียว (cyanosis) แต่ถ้าความผิดปกติของหัวใจนั้นไม่ทำให้เลือดดำมาผสมกับเลือดแดงก็เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว (acyanosis) 2. ลูกดูดนมแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ลูกที่อายุยังน้อย ๆ หรือยังเล็ก เวลาดูดนม คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตพบว่าลูกดูดนมไม่ค่อยเก่ง ดูดทีละน้อย ๆ ต้องหยุดพักบ่อยและใช้เวลานานกว่าปกติในการดูดนมจนอิ่มเมื่อเทียบกับเด็กทั่ว ๆ ไป ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด อาจมีการคั่งของเลือดที่ปอด ทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับเลือดที่ปอดได้ไม่ดีเท่าที่ควรและทำให้ปอดมีความยืดหยุ่นน้อยลงด้วยทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะตอนช่วงดูดนมหรือตอนออกกำลังกาย 3. ลูกหายใจเร็วกว่าปกติอยู่ตลอดเวลา การเกิดอาการเช่นนี้เป็นเพราะมีการคั่งของเลือดในปอด ทำให้ต้องหายใจเร็วกว่าปกติเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกายเช่นเดียวกับลูกดูดนมแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ บางครั้งอาจมีอาการหายใจหอบร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังดูดนม, เล่นหรือออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย 4. ลูกมีเหงื่อออกมากผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่า ลูกมีเหงื่อออกมากกว่าปกติไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว เช่น ขณะที่คนทั่วไปรู้สึกว่าอากาศค่อนข้างสบายแต่ลูกก็มีเหงื่อ โดยเฉพาะแถวหน้าผาก, ด้านหลังของศีรษะและหลัง เป็นต้น บางครั้งหมอนหรือที่นอนเปียกชุ่มไปหมด เป็นเพราะหัวใจต้องทำงานมากมีการใช้พลังงาน (metabolism) สูงกว่าปกติและมีการทำงานของประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nerve) มากกว่าปกติด้วย ทำให้ลูกมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ภาวะนี้จะเห็นได้ชัดเจนในเด็กที่มีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย แต่ถ้าลูกหลานของท่านมีเหงื่อออกตอนเฉพาะอากาศร้อนหรือตอนออกกำลังกายถือว่าปกติ ไม่ต้องกังวล 5. หัวใจลูกเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่า หัวใจของลูกเต้นเร็วและแรงกว่าปกติโดยมีการกระเพื่อมของหน้าอกซ้ายด้านล่างแถว ๆ ใกล้ราวนมของลูก และบางครั้งอาจเห็นการกระเพื่อมที่หน้าอกคล้ายกลองที่ถูกตีทีเดียว การที่หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติเพื่อพยายามบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้พอเพียงกับความต้องการที่มากกว่าปกติและเพื่อชดเชยเลือดที่พร่องไปในขณะหัวใจบีบตัวแต่ละครั้ง เช่น ในกรณีที่ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น และมักพบในภาวะหัวใจวาย ถ้าเป็นมานานอาจพบหน้าอก ส่วนนี้นูนออกมาคล้ายหน้าอกไก่เนื่องจากหัวใจโตดันออกมา 6. ลูกไม่ค่อยโต หรือเติบโตช้ากว่าปกติ เพราะเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะที่มีหัวใจวายร่วมด้วย จะดูดนมไม่ค่อยเก่ง รับประทานอาหารได้น้อยและอาจมีการดูดซึมอาหารของลำไส้ไม่ดีเท่าปกติอีกด้วย เพราะมีการคั่งของเลือดทำให้ได้อาหารไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเด็กพวกนี้จะต้องการพลังงานมากกว่าปกติอยู่แล้ว จึงมีผลทำให้ผอมและเจริญเติบโตช้า แต่การเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญาโดยทั่วไปเท่ากับเด็กปกติ 7. ลูกเป็นหวัด ไอ หรือปอดบวมบ่อย ภาวะนี้จะสังเกตเห็นได้ในเด็กที่มีภาวะหัวใจวายเพราะมีการคั่งของเลือดที่เยื่อบุผิวของหลอดลมและปอด ทำให้มีการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ จึงเป็นหวัดหรือปอดบวมง่ายและป่วยบ่อยกว่าเด็กปกติทั่ว ๆ ไป และเมื่อป่วยก็จะใช้เวลานานกว่าจะหาย แต่ภาวะนี้ก็ต้องแยกจากภาวะภูมิแพ้หรือภูมิต้านทานผิดปกติด้วย จากหลักสังเกตที่สำคัญ 7 ข้อดังกล่าวนี้ หวังว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะสามารถนำไปใช้พิจารณาว่าลูกน่าจะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่? ….ได้อย่างดีทีเดียวไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือความชำนาญอะไรเลย และเมื่อสงสัยควรพาลูกหลานของท่านไปพบแพทย์ตรวจเพื่อจะได้ทราบแน่ชัดว่าป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือตรวจที่เรียกว่า Stethoscope ฟังดูว่าลูกมีเสียงหัวใจผิดปกติหรือไม่ หรือมีเสียงอื่นที่ผิดปกติร่วมด้วย แพทย์ผู้ตรวจจะส่งตรวจเอกซเรย์หัวใจ (Chest x-ray) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจมากขึ้นจะส่งตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษ เช่น เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) และบางรายอาจต้องทำการสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) เพื่อให้ทราบชนิดของความผิดปกติอย่างถูกต้องและความรุนแรงของโรค เพื่อใช้ประกอบในการรักษาและพยากรณ์โรค ข้อมูลจาก นายแพทย์วัชระ จามจุรีรักษ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 / http://www.phyathai.com นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/374989
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)