ให้ “โฟเลต” หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนท้อง ลดเด็กพิการแต่กำเนิดได้ เล็งขยายทั่วประเทศ
สธ. เดินหน้าป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นำร่อง 22 รพ. ให้ความรู้และวิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ พบประสบความสำเร็จดี เล็งขยาย รพ. นำร่องเป็น 26 แห่งในปี 2558 - 2560 ก่อนขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
วันที่ (12 พ.ย.) ที่ โรงแรมตวันนา กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การดูแลรักษาและป้องกันเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้น ต้องมีการบูรณาการกันแบบองค์รวม ซึ่ง สธ. ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อร่วมดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกเผยว่า มีเด็กพิการแต่กำเนิดเฉลี่ยปีละ 8 ล้านคนทั่วโลก อัตราเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 20 - 30 สำหรับประเทศไทยมีเด็กพิการแต่กำเนิด 24,000 - 40,000 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 21 โดยเด็กที่รอดชีวิตมักมีความพิการไปตลอดชีวิต ซึ่งความพิการที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด,หลอดประสาทไม่ปิด,ภาวะแขนขาพิการ,ปากแหว่งเพดานโหว่และกลุ่มอาการดาวน์
“สธ. ได้มอบให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นแกนหลักในการดำเนินการร่วมกับสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในห้องคลอด จัดตั้งคลินิกความพิการแต่กำเนิดในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการนำร่องในโรงพยาบาล 22 จังหวัด และจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการดูแลรักษาแบบองค์รวม ส่วนการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ทำได้โดยการให้วิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และพัฒนาการของทารกและป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ”ปลัดสธ.กล่าว
ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ 8 แห่ง โดยการสนับสนุนของ สสส. ขับเคลื่อนโครงการระดับชาติพัฒนาต้นแบบจังหวัดและอำเภอเพื่อป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย เพื่อเฝ้าระวังและตัดสินใจทางนโยบายที่จะนำไปสู่การป้องกัน ดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการดำเนินการในระยะแรก พ.ศ. 2554 - 2557 ประสบความสำเร็จดีมาก จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดแบบออนไลน์ได้ใน 22 โรงพยาบาลจังหวัดนำร่อง และได้สร้าง 11 อำเภอต้นแบบนำร่อง และเร่งขับเคลื่อนในระยะที่ 2 พ.ศ. 2558 - 2560 เพิ่มโรงพยาบาลจังหวัดนำร่องเป็น 26 แห่ง และ 26 อำเภอต้นแบบนำร่อง พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยวิตามิน โฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125976 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สธ. เดินหน้าป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นำร่อง 22 รพ. ให้ความรู้และวิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ พบประสบความสำเร็จดี เล็งขยาย รพ. นำร่องเป็น 26 แห่งในปี 2558 - 2560 ก่อนขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ วันที่ (12 พ.ย.) ที่ โรงแรมตวันนา กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การดูแลรักษาและป้องกันเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้น ต้องมีการบูรณาการกันแบบองค์รวม ซึ่ง สธ. ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อร่วมดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกเผยว่า มีเด็กพิการแต่กำเนิดเฉลี่ยปีละ 8 ล้านคนทั่วโลก อัตราเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 20 - 30 สำหรับประเทศไทยมีเด็กพิการแต่กำเนิด 24,000 - 40,000 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 21 โดยเด็กที่รอดชีวิตมักมีความพิการไปตลอดชีวิต ซึ่งความพิการที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด,หลอดประสาทไม่ปิด,ภาวะแขนขาพิการ,ปากแหว่งเพดานโหว่และกลุ่มอาการดาวน์ “สธ. ได้มอบให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นแกนหลักในการดำเนินการร่วมกับสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในห้องคลอด จัดตั้งคลินิกความพิการแต่กำเนิดในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการนำร่องในโรงพยาบาล 22 จังหวัด และจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการดูแลรักษาแบบองค์รวม ส่วนการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ทำได้โดยการให้วิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และพัฒนาการของทารกและป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ”ปลัดสธ.กล่าว ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ 8 แห่ง โดยการสนับสนุนของ สสส. ขับเคลื่อนโครงการระดับชาติพัฒนาต้นแบบจังหวัดและอำเภอเพื่อป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย เพื่อเฝ้าระวังและตัดสินใจทางนโยบายที่จะนำไปสู่การป้องกัน ดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการดำเนินการในระยะแรก พ.ศ. 2554 - 2557 ประสบความสำเร็จดีมาก จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดแบบออนไลน์ได้ใน 22 โรงพยาบาลจังหวัดนำร่อง และได้สร้าง 11 อำเภอต้นแบบนำร่อง และเร่งขับเคลื่อนในระยะที่ 2 พ.ศ. 2558 - 2560 เพิ่มโรงพยาบาลจังหวัดนำร่องเป็น 26 แห่ง และ 26 อำเภอต้นแบบนำร่อง พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยวิตามิน โฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125976
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)