แนะกิน “ทุเรียน-กล้วยไข่-ขนุน-ลิ้นจี่” มีโฟเลตเพียบ ช่วยหยุดทารกพิการ-อัลไซเมอร์

แสดงความคิดเห็น

นักวิชาการชี้ “โฟเลต” จำเป็นต่อร่างกายทุกช่วงอายุ แนะกินผลไม้ไทยทั้งทุเรียน กล้วยไข่ ขนุน ลิ้นจี่ มีโฟเลตเพียบ ช่วยป้องกันความพิการในทารก หยุดภาวะอัลไซเมอร์ แต่ต้องกินอาหารให้มีความหลากหลายและสมดุลเหมาะสม

ผลไม้ ทุเรียน-กล้วยไข่-ขนุน-ลิ้นจี่

รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ กล่าวว่า โฟเลตเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับคนทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แม่ก็ต้องการโฟเลตมาก เพราะเป็นสารอาหารที่ช่วยหยุดภาวะความพิการของทารกได้ ทำให้เซลล์ตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นปกติ ลดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือกระดูกสันหลังไม่ปิดได้ ขณะที่ทารกก็ต้องการเพื่อพัฒนาเซลล์สมอง ส่วนคนสูงอายุจะช่วยลดภาวะอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ โฟเลตยังช่วยหลั่งสารซีโรโทนิน ที่ช่วยควบคุมการนอน ความหิว ความอยาก และอาการซึมเศร้า ซึ่งโฟเลตจะอยู่ในพวกผักใบเขียว แต่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้น การรับประทานให้ได้โฟเลตตามปริมาณที่ร่างกายต้องการคือวันละ 300 ไมโครกรัมต่อวัน จึงเป็นเรื่องยาก ซึ่งบางประเทศจะพบอุบัติการณ์การขาดโฟเลต เช่น มาเลเซีย พบประมาณร้อยละ 10

รศ.ดร.รัชนี กล่าวอีกว่า จากการวิจัย เพื่อหาค่าของสารอาหารในอาหารแต่ละประเภท พบว่า โฟเลตนอกจากจะอยู่ในผักใบเขียว ยังอยู่ในผลไม้ไทยด้วย คือ ทุเรียนชะนีไข่ หมอนทอง กล้วยไข่ ขนุน มะละกอ ลิ้นจี่ ซึ่งผลไม้เหล่านี้สามารถรับประทานสดๆ ได้ โดยไม่ต้องผ่านความร้อน ทำให้ได้รับปริมาณโฟเลตอย่างเต็มที่ อย่างทุเรียนซึ่งเป็นแหล่งที่มีโฟเลตมากที่สุด สามารถรับประทานเพียง 2 เม็ด ก็จะเท่ากับ ร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้ว ส่วนกล้วยไข่ รับประทานเพียง 2 ลูกต่อวัน ลิ้นจี่ 8 ผล ขนุน 8 ชิ้น เป็นต้น

“การรับประทานอาหารควรมีความหลากหลาย เช่น ทุเรียน แม้จะมีโฟเลตสูง แต่ถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและให้พลังงานสูงเช่นกัน ผู้มีโรคประจำตัวบางชนิด อาจรับประทานได้ไม่มากนัก การจัดมื้ออาหารให้มีความสมดุลและหลากหลาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องเน้นให้มื้ออาหารมีความหลากหลาย สับเปลี่ยนหรือรับประทานอาหารหลายๆชนิด แต่ต้องพอดี ไม่ทานอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดความสมดุล อาหารก็จะกลายเป็นยา ไม่ใช่ยาพิษ” รศ.ดร.รัชนี กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000002324 (ขนาดไฟล์: 164)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 9/01/2557 เวลา 04:44:01 ดูภาพสไลด์โชว์ แนะกิน “ทุเรียน-กล้วยไข่-ขนุน-ลิ้นจี่” มีโฟเลตเพียบ ช่วยหยุดทารกพิการ-อัลไซเมอร์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิชาการชี้ “โฟเลต” จำเป็นต่อร่างกายทุกช่วงอายุ แนะกินผลไม้ไทยทั้งทุเรียน กล้วยไข่ ขนุน ลิ้นจี่ มีโฟเลตเพียบ ช่วยป้องกันความพิการในทารก หยุดภาวะอัลไซเมอร์ แต่ต้องกินอาหารให้มีความหลากหลายและสมดุลเหมาะสม ผลไม้ ทุเรียน-กล้วยไข่-ขนุน-ลิ้นจี่ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ กล่าวว่า โฟเลตเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับคนทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แม่ก็ต้องการโฟเลตมาก เพราะเป็นสารอาหารที่ช่วยหยุดภาวะความพิการของทารกได้ ทำให้เซลล์ตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นปกติ ลดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือกระดูกสันหลังไม่ปิดได้ ขณะที่ทารกก็ต้องการเพื่อพัฒนาเซลล์สมอง ส่วนคนสูงอายุจะช่วยลดภาวะอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ โฟเลตยังช่วยหลั่งสารซีโรโทนิน ที่ช่วยควบคุมการนอน ความหิว ความอยาก และอาการซึมเศร้า ซึ่งโฟเลตจะอยู่ในพวกผักใบเขียว แต่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้น การรับประทานให้ได้โฟเลตตามปริมาณที่ร่างกายต้องการคือวันละ 300 ไมโครกรัมต่อวัน จึงเป็นเรื่องยาก ซึ่งบางประเทศจะพบอุบัติการณ์การขาดโฟเลต เช่น มาเลเซีย พบประมาณร้อยละ 10 รศ.ดร.รัชนี กล่าวอีกว่า จากการวิจัย เพื่อหาค่าของสารอาหารในอาหารแต่ละประเภท พบว่า โฟเลตนอกจากจะอยู่ในผักใบเขียว ยังอยู่ในผลไม้ไทยด้วย คือ ทุเรียนชะนีไข่ หมอนทอง กล้วยไข่ ขนุน มะละกอ ลิ้นจี่ ซึ่งผลไม้เหล่านี้สามารถรับประทานสดๆ ได้ โดยไม่ต้องผ่านความร้อน ทำให้ได้รับปริมาณโฟเลตอย่างเต็มที่ อย่างทุเรียนซึ่งเป็นแหล่งที่มีโฟเลตมากที่สุด สามารถรับประทานเพียง 2 เม็ด ก็จะเท่ากับ ร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้ว ส่วนกล้วยไข่ รับประทานเพียง 2 ลูกต่อวัน ลิ้นจี่ 8 ผล ขนุน 8 ชิ้น เป็นต้น “การรับประทานอาหารควรมีความหลากหลาย เช่น ทุเรียน แม้จะมีโฟเลตสูง แต่ถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและให้พลังงานสูงเช่นกัน ผู้มีโรคประจำตัวบางชนิด อาจรับประทานได้ไม่มากนัก การจัดมื้ออาหารให้มีความสมดุลและหลากหลาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องเน้นให้มื้ออาหารมีความหลากหลาย สับเปลี่ยนหรือรับประทานอาหารหลายๆชนิด แต่ต้องพอดี ไม่ทานอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดความสมดุล อาหารก็จะกลายเป็นยา ไม่ใช่ยาพิษ” รศ.ดร.รัชนี กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000002324 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...