ภัยเงียบจากการใช้คอมพิวเตอร์ (1)

แสดงความคิดเห็น

ชายหนุ่มนั่งกุมขมับหน้าจอคอมพิวเตอร์

โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ในที่นี้ไม่ใช่ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” หรือ “โปรแกรมตัวหนอน” ซึ่งเป็นบ่อนทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานเกือบ ทุกอย่าง รวมทั้งใช้เพื่อความเพลิดเพลิน การศึกษาและการติดต่อสื่อสารต่างๆ ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันจนแทบขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่มีประโยชน์มากก็อาจมีโทษมหันต์ ในแง่สุขภาพของเราการใช้คอมพิวเตอร์อาจมีพิษภัยต่อสุขภาพได้ถ้าใช้ไม่ถูก วิธี ซึ่งความเจ็บป่วยที่ว่าอาจเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่างๆ และทำให้เกิดโรคได้

ตา ในขณะที่จ้องดูจอคอมพิวเตอร์จะมีส่วนของนัยน์ตาอย่างน้อย 2 ส่วนที่ต้องทำงานส่วนแรกคือ กล้ามเนื้อตาที่จะต้องคอยหดเกร็งตัวเพื่อปรับเลนส์ตาให้มีความหนาเหมาะสมให้ แสงจากจอไปตกบนฉากรับภาพด้านหลังตาหรือที่เรียกว่า เรตินา (retina) เพื่อให้ได้ภาพคมชัด ดังนั้น ถ้าดูจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันนานๆ กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานหนักจนกล้ามเนื้ออาจเกิดอาการล้าได้นานวันก็อาจเกิด การเปลี่ยนแปลงของสายตา เช่น สายตาสั้นหรือสายตายาว อีกส่วนที่ต้องทำงานหนักคือ จอรับภาพด้านหลังตาหรือเรตินา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นแท่ง ทำหน้าที่รับแสงไม่สว่างมากเช่น ภาพดำขาว อีกชนิดหนึ่งเป็นรูปโคนรับแสงที่สว่าง เช่น ภาพสีต่างๆ แล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง สองส่วนนี้ หากใช้งานหนักหรือจ้องจอนานเกิน 2 ชั่วโมงบ่อยๆ อาจทำให้การทำงานของเรตินาเสื่อมก่อนเวลาอันควร ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องจึงไม่ควรใช้สายตาดูหน้าจอนานเกินไป และควรมีการพักสายตา โดยการเปลี่ยนไปมองระยะไกลๆ บ้างสัก 10-15 นาที จึงค่อยกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ใหม่

สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพส่วนสมองของมนุษย์ สมอง ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ อาจเกิดอาการมึนหรือปวดศีรษะได้ แต่บางครั้งอาจไม่รู้ตัวเนื่องจากทำงานเพลิน ทำให้อาการเตือนของสมองไม่ว่าจะเป็นอาการมึนหรือปวดศีรษะไม่ได้รับการรับรู้ และอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสมองในภายหลัง ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรใช้สมองทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกินไป

คอ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการนั่งมองจอต่อเนื่องกันนานๆ ศีรษะจะอยู่ในตำแหน่งและมุมเดิมเป็นเวลานาน คอซึ่งเป็นอวัยวะที่ตั้งของศีรษะก็จะอยู่นิ่งๆ กล้ามเนื้อของคอต้องเกร็งตัวเพื่อรักษาท่าและตำแหน่งของศีรษะเป็นเวลานานโดย ที่เราไม่รู้ตัว และจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการปวดเมื่อยคอ คอตึงจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ หากมีการใช้งานลักษณะนี้หลายปีโดยไม่มีการบริหารคอที่เหมาะสม อาจทำให้กระดูกคอเสื่อมก่อนเวลาอันควร ดังนั้น จึงควรขยับศีรษะและคอไปมา ขยับกล้ามเนื้อคอหรือหมุนศีรษะไปมาขณะทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะช่วยให้ อาการปวดเมื่อยคอหรือโอกาสเกิดกระดูกคอเสื่อมน้อยลง

หญิงสาวแสดงอาการปวดไหล่ ปวดไหล่ สำหรับท่านที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา โดยส่วนมากจะใส่เครื่องคอมพิวเตอร์ในกระเป๋าที่สามารถถือหรือสะพายไหล่ได้ ซึ่งแต่ละเครื่องก็มีขนาดและน้ำหนักต่างกัน ตั้งแต่เครื่องเล็กน้ำหนักเบาประมาณ 1 กิโลกรัม จนถึงเครื่องค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากถึง 4 กิโลกรัม ซึ่งถ้าพกพาโดยการสะพายไหล่เป็นเวลานานอาจทำให้ปวดไหล่เพราะกล้ามเนื้อหรือ เส้นเอ็นบริเวณไหล่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อหลังที่ต้องเกร็งตัวตลอดเวลาด้วย วิธีที่ช่วยได้คือการเปลี่ยนมาเป็นใส่ในกระเป๋าที่มีล้อลากหรือพยายามลดให้ น้ำหนักเบาลงด้วยใช้เครื่องที่มีน้ำหนักเบาหรือนำของไปด้วยเท่าที่จำเป็นก็ อาจช่วยหลีกเลี่ยงการอักเสบของไหล่ได้ระดับหนึ่ง

ปวดหลัง หลายท่านที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ จะรู้สึกปวดหลัง ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทั้งนี้ เนื่องจากการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับเปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่บ่า สะบักและกล้ามเนื้อ 2 ข้างของกระดูกสันหลังจะมีการหดเกร็งตัวเพื่อรักษาร่างกายให้อยู่ท่าเดิมตลอด เวลา โดยปกติเวลาเรานั่งท่าเดิมระยะหนึ่งจะรู้สึกปวดเมื่อย แล้วเราก็มักจะขยับเปลี่ยนท่าเอง แต่ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ เรามักจะให้ความสนใจหรือมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ในจอจนละเลยความรู้สึกปวด เมื่อยของกล้ามเนื้อหลังจนลืมเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย กว่าจะรู้ตัว กล้ามเนื้อหลังซึ่งมีการเกร็งตัวเป็นเวลานานจะรู้สึกปวดมาก การแก้ไขคือพยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ในระหว่างการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าแม้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สมัยใหม่ที่ประกอบไปด้วยหน้าจอจะมีประโยชน์มาก และกำลังกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่โทษของการใช้งานมากเกินไปโดยไม่ระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดโทษมหันต์ใน สัปดาห์หน้าเราจะกลับมาว่ากันต่อว่ามีอวัยวะส่วนใดอีกที่จะได้รับผลกระทบจาก การใช้อุปกรณ์สารพัดประโยชน์นี้นานๆ

ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ

อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

โดย: คณะแพทย์ รพ.รามาฯ

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/399914

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.2557)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.2557
วันที่โพสต์: 31/01/2557 เวลา 03:10:31 ดูภาพสไลด์โชว์ ภัยเงียบจากการใช้คอมพิวเตอร์ (1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชายหนุ่มนั่งกุมขมับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ในที่นี้ไม่ใช่ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” หรือ “โปรแกรมตัวหนอน” ซึ่งเป็นบ่อนทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานเกือบ ทุกอย่าง รวมทั้งใช้เพื่อความเพลิดเพลิน การศึกษาและการติดต่อสื่อสารต่างๆ ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันจนแทบขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่มีประโยชน์มากก็อาจมีโทษมหันต์ ในแง่สุขภาพของเราการใช้คอมพิวเตอร์อาจมีพิษภัยต่อสุขภาพได้ถ้าใช้ไม่ถูก วิธี ซึ่งความเจ็บป่วยที่ว่าอาจเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่างๆ และทำให้เกิดโรคได้ ตา ในขณะที่จ้องดูจอคอมพิวเตอร์จะมีส่วนของนัยน์ตาอย่างน้อย 2 ส่วนที่ต้องทำงานส่วนแรกคือ กล้ามเนื้อตาที่จะต้องคอยหดเกร็งตัวเพื่อปรับเลนส์ตาให้มีความหนาเหมาะสมให้ แสงจากจอไปตกบนฉากรับภาพด้านหลังตาหรือที่เรียกว่า เรตินา (retina) เพื่อให้ได้ภาพคมชัด ดังนั้น ถ้าดูจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันนานๆ กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานหนักจนกล้ามเนื้ออาจเกิดอาการล้าได้นานวันก็อาจเกิด การเปลี่ยนแปลงของสายตา เช่น สายตาสั้นหรือสายตายาว อีกส่วนที่ต้องทำงานหนักคือ จอรับภาพด้านหลังตาหรือเรตินา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นแท่ง ทำหน้าที่รับแสงไม่สว่างมากเช่น ภาพดำขาว อีกชนิดหนึ่งเป็นรูปโคนรับแสงที่สว่าง เช่น ภาพสีต่างๆ แล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง สองส่วนนี้ หากใช้งานหนักหรือจ้องจอนานเกิน 2 ชั่วโมงบ่อยๆ อาจทำให้การทำงานของเรตินาเสื่อมก่อนเวลาอันควร ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องจึงไม่ควรใช้สายตาดูหน้าจอนานเกินไป และควรมีการพักสายตา โดยการเปลี่ยนไปมองระยะไกลๆ บ้างสัก 10-15 นาที จึงค่อยกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพส่วนสมองของมนุษย์สมอง ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ อาจเกิดอาการมึนหรือปวดศีรษะได้ แต่บางครั้งอาจไม่รู้ตัวเนื่องจากทำงานเพลิน ทำให้อาการเตือนของสมองไม่ว่าจะเป็นอาการมึนหรือปวดศีรษะไม่ได้รับการรับรู้ และอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสมองในภายหลัง ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรใช้สมองทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกินไป คอ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการนั่งมองจอต่อเนื่องกันนานๆ ศีรษะจะอยู่ในตำแหน่งและมุมเดิมเป็นเวลานาน คอซึ่งเป็นอวัยวะที่ตั้งของศีรษะก็จะอยู่นิ่งๆ กล้ามเนื้อของคอต้องเกร็งตัวเพื่อรักษาท่าและตำแหน่งของศีรษะเป็นเวลานานโดย ที่เราไม่รู้ตัว และจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการปวดเมื่อยคอ คอตึงจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ หากมีการใช้งานลักษณะนี้หลายปีโดยไม่มีการบริหารคอที่เหมาะสม อาจทำให้กระดูกคอเสื่อมก่อนเวลาอันควร ดังนั้น จึงควรขยับศีรษะและคอไปมา ขยับกล้ามเนื้อคอหรือหมุนศีรษะไปมาขณะทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะช่วยให้ อาการปวดเมื่อยคอหรือโอกาสเกิดกระดูกคอเสื่อมน้อยลง หญิงสาวแสดงอาการปวดไหล่ปวดไหล่ สำหรับท่านที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา โดยส่วนมากจะใส่เครื่องคอมพิวเตอร์ในกระเป๋าที่สามารถถือหรือสะพายไหล่ได้ ซึ่งแต่ละเครื่องก็มีขนาดและน้ำหนักต่างกัน ตั้งแต่เครื่องเล็กน้ำหนักเบาประมาณ 1 กิโลกรัม จนถึงเครื่องค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากถึง 4 กิโลกรัม ซึ่งถ้าพกพาโดยการสะพายไหล่เป็นเวลานานอาจทำให้ปวดไหล่เพราะกล้ามเนื้อหรือ เส้นเอ็นบริเวณไหล่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อหลังที่ต้องเกร็งตัวตลอดเวลาด้วย วิธีที่ช่วยได้คือการเปลี่ยนมาเป็นใส่ในกระเป๋าที่มีล้อลากหรือพยายามลดให้ น้ำหนักเบาลงด้วยใช้เครื่องที่มีน้ำหนักเบาหรือนำของไปด้วยเท่าที่จำเป็นก็ อาจช่วยหลีกเลี่ยงการอักเสบของไหล่ได้ระดับหนึ่ง ปวดหลัง หลายท่านที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ จะรู้สึกปวดหลัง ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทั้งนี้ เนื่องจากการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับเปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่บ่า สะบักและกล้ามเนื้อ 2 ข้างของกระดูกสันหลังจะมีการหดเกร็งตัวเพื่อรักษาร่างกายให้อยู่ท่าเดิมตลอด เวลา โดยปกติเวลาเรานั่งท่าเดิมระยะหนึ่งจะรู้สึกปวดเมื่อย แล้วเราก็มักจะขยับเปลี่ยนท่าเอง แต่ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ เรามักจะให้ความสนใจหรือมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ในจอจนละเลยความรู้สึกปวด เมื่อยของกล้ามเนื้อหลังจนลืมเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย กว่าจะรู้ตัว กล้ามเนื้อหลังซึ่งมีการเกร็งตัวเป็นเวลานานจะรู้สึกปวดมาก การแก้ไขคือพยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ในระหว่างการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าแม้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สมัยใหม่ที่ประกอบไปด้วยหน้าจอจะมีประโยชน์มาก และกำลังกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่โทษของการใช้งานมากเกินไปโดยไม่ระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดโทษมหันต์ใน สัปดาห์หน้าเราจะกลับมาว่ากันต่อว่ามีอวัยวะส่วนใดอีกที่จะได้รับผลกระทบจาก การใช้อุปกรณ์สารพัดประโยชน์นี้นานๆ ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี โดย: คณะแพทย์ รพ.รามาฯ ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/399914 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.2557)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...