ปฏิรูปเขตสุขภาพ ลดปัญหารอคิวรักษา

แสดงความคิดเห็น

ภายในห้องพักผู้ป่วย

"การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข นับเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราวางกรอบการทำงานมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะชัดเจนขึ้นในปีนี้..." นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวขึ้นระหว่างการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยยืนยันแน่นอนว่า การปฏิรูป สธ.ผ่านการจัดเขตบริการสุขภาพ 12 พื้นที่แบ่งตามกลุ่มโรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นและต้องเดินหน้า เพราะจะช่วยให้การบริการประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน ในส่วนข้าราชการ สธ.ต้องเดินหน้าเรื่องนี้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกตั้งคำถามว่า กรณีปลัด สธ.ร่วมกับประชาคมสาธารณสุขออกแถลงการณ์ปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสวนทางกับรัฐบาล ได้ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความเป็นปึกแผ่นในกระทรวง รวมทั้งความขัดแย้งของผู้บริหาร สธ. สิ่งเหล่านี้จะทำให้การขับเคลื่อนเขตบริการสุขภาพเดินหน้าได้จริงหรือไม่ เพราะหากมองในหลักการการจัดเขตบริการสุขภาพ หากทำได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลที่อยู่เป็น

กลุ่ม เป็นเครือข่ายบริการจะทำงานร่วมกันแบบพี่ช่วยน้องแล้ว ยังส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการดีขึ้น โดยความหวังสูงสุดคือ เมื่อมีการกระจายการบริการ จะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กรักษาโรคทั่วไปได้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่เน้นรักษาโรคซ้ำซ้อน ภาพเดิมๆ ที่เห็นผู้ป่วยนอนรอคิวรักษาตามหน้าห้องตรวจ มีสภาพแออัดจนลามมาประตูหน้าโรงพยาบาลก็จะหมดไป

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ยืนยันจากการลงพื้นที่เขตบริการสุขภาพ ทั้งเขตบริการสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีนครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง เขตบริการสุขภาพที่ 5 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีกาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี และเขตบริการสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และสมุทรปราการ โดยทั้งหมดเริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาได้ไม่ยาก เนื่องจากข้อมูลต่างๆ พบว่า โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าระดับ A มีอัตราการครองเตียงสูงถึงร้อยละ 97.72 ขณะที่มีการผ่าตัดสูงถึงปีละ 8,071 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M หรือโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก มีอัตราครองเตียงเฉลี่ยร้อยละ 30-70 มีการผ่าตัดสูงสุดปีละ 1,668 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ F หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีอัตราครองเตียงร้อยละ 25-30 มีการผ่าตัดสูงสุด 90 ราย บางแห่งก็ไม่มีการผ่าตัด ข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า จะต้องมีการพัฒนาโรงพยาบาลระดับเล็กให้มีศักยภาพในการรับผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดเล็กๆ อย่างผ่าตัดไส้ติ่ง เป็นต้น โดยหากแก้ปัญหาตรงนี้ได้จะทำให้ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้

จาก ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในที่นอนในโรงพยาบาลต่างๆ เห็นชัดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A มีจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวสูงถึงปีละ 28,419 ราย โรงพยาบาลระดับ M มีผู้ป่วยรักษาตัว 2,894 ราย บางแห่งอาจสูงถึง 10,947 ราย โรงพยาบาลระดับ F หรือ รพ.สต. มีผู้ป่วยนอนเฉลี่ยปีละ 2-3 พันราย การแก้ปัญหาการรอคิวผู้ป่วย ยังมีในเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ เพราะหากแพทย์กระจุกตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มาก ก็จะทำให้ผู้ป่วยมารับบริการมาก ซึ่งพบว่าแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A บางแห่งมีแพทย์ถึง 80 คน แพทย์เฉพาะทาง 67 คน พยาบาล 425 คน ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M บางแห่งมีแพทย์ 22 ราย แพทย์เฉพาะทาง 13 ราย พยาบาล 100 ราย โรงพยาบาลระดับ F มีแพทย์ 6 ราย แพทย์เฉพาะทาง 5 ราย พยาบาล 76 ราย

ปัญหาแพทย์ไม่เพียงพอกับพื้นที่ก็สำคัญ ซึ่งบางพื้นที่ใช้วิธีกระจายแพทย์จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้โรงพยาบาลขนาดเล็ก ในเขตบริการสุขภาพของตน เช่น การจัดรถโมบายแพทย์เคลื่อนที่ ตรวจรักษาต้อกระจก ในเขตบริการสุขภาพโดยให้แพทย์โรงพยาบาลใหญ่เป็นแกนหลัก ซึ่งเดิมจะมีค่าตอบแทนให้แพทย์ที่ทำงานในเวลาแต่ต่างสถานที่เพิ่มเติม ซึ่งจะจัดเป็นงบพิเศษ เพื่อให้แต่ละเครือข่ายเขตบริการสุขภาพบริหารจัดการภายใน เพียงแต่ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ เพราะเกิดการยุบสภา ขณะนี้จึงเป็นลักษณะพี่ช่วยน้อง โดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลขนาดใหญ่จ่ายให้แก่แพทย์ที่ทำงานนอกพื้นที่แทน" นพ.วชิระกล่าว

รองปลัด สธ.ย้ำว่า ปี 2557 จะเดินหน้าเต็มที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะลดปัญหาการรอคิวรักษา ซึ่งได้จัดตั้งสำนักงานเขตบริการสุขภาพขึ้นในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหารเขตบริการสุขภาพที่มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นประธาน และท้องถิ่นในพื้นที่นั้นร่วมกันทำงาน แต่ขณะนี้จะเป็นเพียงโรงพยาบาลสังกัด สธ.เท่านั้น ยังไม่รวมโรงพยาบาลสังกัดอื่นๆ นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบบริการ 10 สาขา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย สาขาหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช 5 สาขาหลัก (สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิกส์) สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม คือ กลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัว และฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น สาขาสุขภาพช่องปาก สาขาจักษุวิทยา สาขาโรคไต และสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งหมดได้มอบหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพจะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินการความก้าวหน้าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หวังว่าในอนาคตภาพความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะน้อยลง

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390057272&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 19/01/2557 เวลา 03:50:03 ดูภาพสไลด์โชว์ ปฏิรูปเขตสุขภาพ ลดปัญหารอคิวรักษา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภายในห้องพักผู้ป่วย "การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข นับเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราวางกรอบการทำงานมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะชัดเจนขึ้นในปีนี้..." นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวขึ้นระหว่างการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยยืนยันแน่นอนว่า การปฏิรูป สธ.ผ่านการจัดเขตบริการสุขภาพ 12 พื้นที่แบ่งตามกลุ่มโรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นและต้องเดินหน้า เพราะจะช่วยให้การบริการประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน ในส่วนข้าราชการ สธ.ต้องเดินหน้าเรื่องนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกตั้งคำถามว่า กรณีปลัด สธ.ร่วมกับประชาคมสาธารณสุขออกแถลงการณ์ปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสวนทางกับรัฐบาล ได้ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความเป็นปึกแผ่นในกระทรวง รวมทั้งความขัดแย้งของผู้บริหาร สธ. สิ่งเหล่านี้จะทำให้การขับเคลื่อนเขตบริการสุขภาพเดินหน้าได้จริงหรือไม่ เพราะหากมองในหลักการการจัดเขตบริการสุขภาพ หากทำได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลที่อยู่เป็น กลุ่ม เป็นเครือข่ายบริการจะทำงานร่วมกันแบบพี่ช่วยน้องแล้ว ยังส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการดีขึ้น โดยความหวังสูงสุดคือ เมื่อมีการกระจายการบริการ จะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กรักษาโรคทั่วไปได้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่เน้นรักษาโรคซ้ำซ้อน ภาพเดิมๆ ที่เห็นผู้ป่วยนอนรอคิวรักษาตามหน้าห้องตรวจ มีสภาพแออัดจนลามมาประตูหน้าโรงพยาบาลก็จะหมดไป นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ยืนยันจากการลงพื้นที่เขตบริการสุขภาพ ทั้งเขตบริการสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีนครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง เขตบริการสุขภาพที่ 5 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีกาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี และเขตบริการสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และสมุทรปราการ โดยทั้งหมดเริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาได้ไม่ยาก เนื่องจากข้อมูลต่างๆ พบว่า โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าระดับ A มีอัตราการครองเตียงสูงถึงร้อยละ 97.72 ขณะที่มีการผ่าตัดสูงถึงปีละ 8,071 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M หรือโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก มีอัตราครองเตียงเฉลี่ยร้อยละ 30-70 มีการผ่าตัดสูงสุดปีละ 1,668 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ F หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีอัตราครองเตียงร้อยละ 25-30 มีการผ่าตัดสูงสุด 90 ราย บางแห่งก็ไม่มีการผ่าตัด ข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า จะต้องมีการพัฒนาโรงพยาบาลระดับเล็กให้มีศักยภาพในการรับผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดเล็กๆ อย่างผ่าตัดไส้ติ่ง เป็นต้น โดยหากแก้ปัญหาตรงนี้ได้จะทำให้ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้ จาก ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในที่นอนในโรงพยาบาลต่างๆ เห็นชัดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A มีจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวสูงถึงปีละ 28,419 ราย โรงพยาบาลระดับ M มีผู้ป่วยรักษาตัว 2,894 ราย บางแห่งอาจสูงถึง 10,947 ราย โรงพยาบาลระดับ F หรือ รพ.สต. มีผู้ป่วยนอนเฉลี่ยปีละ 2-3 พันราย การแก้ปัญหาการรอคิวผู้ป่วย ยังมีในเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ เพราะหากแพทย์กระจุกตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มาก ก็จะทำให้ผู้ป่วยมารับบริการมาก ซึ่งพบว่าแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A บางแห่งมีแพทย์ถึง 80 คน แพทย์เฉพาะทาง 67 คน พยาบาล 425 คน ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M บางแห่งมีแพทย์ 22 ราย แพทย์เฉพาะทาง 13 ราย พยาบาล 100 ราย โรงพยาบาลระดับ F มีแพทย์ 6 ราย แพทย์เฉพาะทาง 5 ราย พยาบาล 76 ราย ปัญหาแพทย์ไม่เพียงพอกับพื้นที่ก็สำคัญ ซึ่งบางพื้นที่ใช้วิธีกระจายแพทย์จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้โรงพยาบาลขนาดเล็ก ในเขตบริการสุขภาพของตน เช่น การจัดรถโมบายแพทย์เคลื่อนที่ ตรวจรักษาต้อกระจก ในเขตบริการสุขภาพโดยให้แพทย์โรงพยาบาลใหญ่เป็นแกนหลัก ซึ่งเดิมจะมีค่าตอบแทนให้แพทย์ที่ทำงานในเวลาแต่ต่างสถานที่เพิ่มเติม ซึ่งจะจัดเป็นงบพิเศษ เพื่อให้แต่ละเครือข่ายเขตบริการสุขภาพบริหารจัดการภายใน เพียงแต่ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ เพราะเกิดการยุบสภา ขณะนี้จึงเป็นลักษณะพี่ช่วยน้อง โดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลขนาดใหญ่จ่ายให้แก่แพทย์ที่ทำงานนอกพื้นที่แทน" นพ.วชิระกล่าว รองปลัด สธ.ย้ำว่า ปี 2557 จะเดินหน้าเต็มที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะลดปัญหาการรอคิวรักษา ซึ่งได้จัดตั้งสำนักงานเขตบริการสุขภาพขึ้นในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหารเขตบริการสุขภาพที่มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นประธาน และท้องถิ่นในพื้นที่นั้นร่วมกันทำงาน แต่ขณะนี้จะเป็นเพียงโรงพยาบาลสังกัด สธ.เท่านั้น ยังไม่รวมโรงพยาบาลสังกัดอื่นๆ นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบบริการ 10 สาขา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย สาขาหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช 5 สาขาหลัก (สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิกส์) สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม คือ กลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัว และฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น สาขาสุขภาพช่องปาก สาขาจักษุวิทยา สาขาโรคไต และสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งหมดได้มอบหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพจะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินการความก้าวหน้าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หวังว่าในอนาคตภาพความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะน้อยลง ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390057272&grpid=03&catid=&subcatid= ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...