ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ตรวจพบเร็วรักษาได้ทันท่วงที
ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคดังกล่าวหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ในความจริงนั้นมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้และด้วยความที่ร่าง กายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความต่างกันจึงทำให้โรคข้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เหมือนกันจึงเรียกโรคข้ออักเสบที่เกิดกับเด็กนี้ว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก
แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัว เองหรือที่เรียกว่า ภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้วภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่จนทำร้ายร่างกายแทนที่จะปกป้อง
“โรคดังกล่าวปัญหาอยู่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก อีกทั้งหลายคนไม่คาดคิดว่าสามารถจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยเด็กจะมีอาการปวดข้อ ปวดอักเสบได้เหมือนในผู้ใหญ่ ที่สำคัญเมื่อเด็กมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และข้ออักเสบแต่ไม่สามารถอธิบายอาการสื่อสารถึงความเจ็บปวดได้ ซึ่งกว่าพ่อแม่จะทราบ เด็กต้องทนทุกข์ทรมานมีอาการข้ออักเสบมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้”
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดภูมิต้านทาน จึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุบางอย่าง ภาวะติดเชื้อ ภาวะอุบัติเหตุกระตุ้นให้โรคกำเริบ ฯลฯ ยังคงเป็นเพียงข้อสงสัยซึ่งยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่เพียงเป็นปัญหาเฉพาะในบ้านเรา หากแต่ยังเป็นปัญหาในหลายๆประเทศ
การสังเกตความผิดปกติของอาการและการเข้าถึงการรักษาแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติโดยถ้าลูกมี อาการข้อบวม หากเป็นมานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ เวลาที่จับมือจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงบริเวณข้อ จับแล้วมีอาการเจ็บหรือมีภาวะกระดูกบริเวณที่อักเสบโตกว่าปกติทำให้ขาหรือแขนยาวกว่าอีกข้างและหากเป็นบริเวณข้อเข่าอาจสังเกตได้ว่ามีรอยบุ๋มข้างๆ
ส่วนอาการข้อติดช่วงเช้าที่เรียกว่า ภาวะมอร์นิ่ง สติฟฟ์ เนส (Morning Stiffness) หรือ ช่วงที่อากาศเย็นซึ่งทำให้ขยับข้อลำบากและปวดข้อมาก สังเกตได้จากเด็กจะเดินกะเผลกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากเวลาหลับไม่ได้ขยับตัวทำให้สารอักเสบหลั่งออกมา แต่พอตื่นนอนขยับข้อ หรือช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นอาการข้อติดจะดีขึ้นทุเลาลงซึ่งในอาการลักษณะนี้อาจทำให้เด็กบางรายไม่สามารถนอนกลางวันหรือนั่งเรียนทั้งวันได้
นอกจากนี้อาการปวดข้อซึ่งส่วนมากเกิดในช่วงเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น บางรายอาจมีอาการปวดทั้งวัน สังเกตจากเด็กที่เป็นข้ออักเสบที่ ข้อเข่า จะไม่ยอมเดินจะร้องให้อุ้มตลอดเวลา หากเป็นที่ ข้อตะโพก จะเจ็บเวลาถูกอุ้ม ส่วนข้ออักเสบที่ ข้อมือ จะเจ็บเวลาถูกจับมือหรือจูงเดิน และหากเป็นที่ข้อเท้า เด็กก็จะเดินกะเผลก หากเป็นมากอาจเดินไม่ได้และในบางรายที่เป็น บริเวณกระดูกต้นคอ จะทำให้ไม่สามารถเงยหน้าหรือก้มหัวได้สุดทำให้มีปัญหาเวลาก้มลงเก็บของและ เด็กบางคนอาจไม่สามารถหันซ้ายขวาได้ ถ้าข้ออักเสบ บริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจสังเกตได้ยากโดยเด็กที่เป็นข้ออักเสบบริเวณนี้จะอ้าปากได้ไม่สุด และปวดเวลาขยับกรามหรือเคี้ยวอาหารอาจอ้าปากได้ไม่เท่ากันสองข้างซึ่งหากเป็นนานอาจทำให้คางเล็กไป
อีกทั้งยังอาจพบอาการอื่น ๆ อาทิ ตาอักเสบ ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไข้จะขึ้นสูงในเวลาเดิมทุกวัน หรือมีผื่นเม็ดแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นเวลาที่มีไข้ขึ้น และเมื่อไข้ลงผื่นก็จะหายไปไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที
ปัจจุบันโรคข้ออักเสบ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยอาการแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะมีอาการอยู่ในหลายระบบของร่างกาย โดยเด็กจะเป็นไข้สูงกว่า 2 อาทิตย์ และมีผื่นแดง ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอนขึ้นตามร่างกายเป็น ๆ หาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับการรักษารวดเร็วทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
“โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กสามารถพบได้นับแต่อายุไม่ถึงหนึ่งขวบปีถึง 16 ปีโดยเด็กที่พบตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งสังเกตความผิดปกติได้ยากเนื่องจากเด็ก เล็กอาจไม่สามารถสื่อสารบอกความเจ็บปวดได้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่า CBC, ESR และ CRP และสำหรับวิธีการรักษาใช้ยาหลายประเภท อาทิ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดเม็ดซึ่งเป็นยาชนิดแรกที่เด็กป่วยด้วย โรคข้ออักเสบทุกคนจะได้รับ ยากลุ่มสารชีวภาพ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและประสิทธิภาพสูงสามารถจับสารที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบได้ โดยตรงแต่ราคาค่อนข้างสูงฯลฯ”
แพทย์ท่านเดิมกล่าวเพิ่มอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทานของดิบรวมทั้งต้องทำกายภาพบำบัด และออกกำลังอย่างถูกวิธีควบคู่ไปกับการทานยาร่วมด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย.
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคดังกล่าวหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ในความจริงนั้นมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้และด้วยความที่ร่าง กายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความต่างกันจึงทำให้โรคข้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เหมือนกันจึงเรียกโรคข้ออักเสบที่เกิดกับเด็กนี้ว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัว เองหรือที่เรียกว่า ภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้วภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่จนทำร้ายร่างกายแทนที่จะปกป้อง “โรคดังกล่าวปัญหาอยู่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก อีกทั้งหลายคนไม่คาดคิดว่าสามารถจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยเด็กจะมีอาการปวดข้อ ปวดอักเสบได้เหมือนในผู้ใหญ่ ที่สำคัญเมื่อเด็กมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และข้ออักเสบแต่ไม่สามารถอธิบายอาการสื่อสารถึงความเจ็บปวดได้ ซึ่งกว่าพ่อแม่จะทราบ เด็กต้องทนทุกข์ทรมานมีอาการข้ออักเสบมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้” ข้อเท้าของเด็กที่มีอาการข้ออักเสบโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดภูมิต้านทาน จึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุบางอย่าง ภาวะติดเชื้อ ภาวะอุบัติเหตุกระตุ้นให้โรคกำเริบ ฯลฯ ยังคงเป็นเพียงข้อสงสัยซึ่งยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่เพียงเป็นปัญหาเฉพาะในบ้านเรา หากแต่ยังเป็นปัญหาในหลายๆประเทศ การสังเกตความผิดปกติของอาการและการเข้าถึงการรักษาแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติโดยถ้าลูกมี อาการข้อบวม หากเป็นมานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ เวลาที่จับมือจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงบริเวณข้อ จับแล้วมีอาการเจ็บหรือมีภาวะกระดูกบริเวณที่อักเสบโตกว่าปกติทำให้ขาหรือแขนยาวกว่าอีกข้างและหากเป็นบริเวณข้อเข่าอาจสังเกตได้ว่ามีรอยบุ๋มข้างๆ ส่วนอาการข้อติดช่วงเช้าที่เรียกว่า ภาวะมอร์นิ่ง สติฟฟ์ เนส (Morning Stiffness) หรือ ช่วงที่อากาศเย็นซึ่งทำให้ขยับข้อลำบากและปวดข้อมาก สังเกตได้จากเด็กจะเดินกะเผลกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากเวลาหลับไม่ได้ขยับตัวทำให้สารอักเสบหลั่งออกมา แต่พอตื่นนอนขยับข้อ หรือช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นอาการข้อติดจะดีขึ้นทุเลาลงซึ่งในอาการลักษณะนี้อาจทำให้เด็กบางรายไม่สามารถนอนกลางวันหรือนั่งเรียนทั้งวันได้ นอกจากนี้อาการปวดข้อซึ่งส่วนมากเกิดในช่วงเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น บางรายอาจมีอาการปวดทั้งวัน สังเกตจากเด็กที่เป็นข้ออักเสบที่ ข้อเข่า จะไม่ยอมเดินจะร้องให้อุ้มตลอดเวลา หากเป็นที่ ข้อตะโพก จะเจ็บเวลาถูกอุ้ม ส่วนข้ออักเสบที่ ข้อมือ จะเจ็บเวลาถูกจับมือหรือจูงเดิน และหากเป็นที่ข้อเท้า เด็กก็จะเดินกะเผลก หากเป็นมากอาจเดินไม่ได้และในบางรายที่เป็น บริเวณกระดูกต้นคอ จะทำให้ไม่สามารถเงยหน้าหรือก้มหัวได้สุดทำให้มีปัญหาเวลาก้มลงเก็บของและ เด็กบางคนอาจไม่สามารถหันซ้ายขวาได้ ถ้าข้ออักเสบ บริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจสังเกตได้ยากโดยเด็กที่เป็นข้ออักเสบบริเวณนี้จะอ้าปากได้ไม่สุด และปวดเวลาขยับกรามหรือเคี้ยวอาหารอาจอ้าปากได้ไม่เท่ากันสองข้างซึ่งหากเป็นนานอาจทำให้คางเล็กไป อีกทั้งยังอาจพบอาการอื่น ๆ อาทิ ตาอักเสบ ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไข้จะขึ้นสูงในเวลาเดิมทุกวัน หรือมีผื่นเม็ดแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นเวลาที่มีไข้ขึ้น และเมื่อไข้ลงผื่นก็จะหายไปไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที มือของเด้กที่มีอาการข้ออักเสบปัจจุบันโรคข้ออักเสบ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยอาการแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะมีอาการอยู่ในหลายระบบของร่างกาย โดยเด็กจะเป็นไข้สูงกว่า 2 อาทิตย์ และมีผื่นแดง ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอนขึ้นตามร่างกายเป็น ๆ หาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับการรักษารวดเร็วทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ “โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กสามารถพบได้นับแต่อายุไม่ถึงหนึ่งขวบปีถึง 16 ปีโดยเด็กที่พบตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งสังเกตความผิดปกติได้ยากเนื่องจากเด็ก เล็กอาจไม่สามารถสื่อสารบอกความเจ็บปวดได้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่า CBC, ESR และ CRP และสำหรับวิธีการรักษาใช้ยาหลายประเภท อาทิ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดเม็ดซึ่งเป็นยาชนิดแรกที่เด็กป่วยด้วย โรคข้ออักเสบทุกคนจะได้รับ ยากลุ่มสารชีวภาพ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและประสิทธิภาพสูงสามารถจับสารที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบได้ โดยตรงแต่ราคาค่อนข้างสูงฯลฯ” แพทย์ท่านเดิมกล่าวเพิ่มอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทานของดิบรวมทั้งต้องทำกายภาพบำบัด และออกกำลังอย่างถูกวิธีควบคู่ไปกับการทานยาร่วมด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/183319/%26quot%3Bข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก%26quot%3B+ตรวจพบเร็ว...รักษาได้ทันท่วงที เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)