ผู้หญิง-เด็กไทยถูกปู้ยี่ปู้ยำมากขึ้น “ข่มขืน-ทุบตี” จากคนใกล้ชิด

แสดงความคิดเห็น

ผู้หญิงและเด็กไทยถูกปู้ยี่ ปู้ยำมากขึ้น พบปี 56 พุ่ง 31,000 ราย เป็นเด็ก 60% ถูกข่มขืนมากที่สุด เหตุเสพสื่อลามก ส่วนผู้หญิงถูกทุบตีจากเหตุหึงหวง โดยคู่สมรส แฟนมากที่สุด สธ.เร่งขยายศูนย์พึ่งได้ลง รพ.สต.จัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เฝ้าระวัง 7 กลุ่มเสี่ยงถูกทำร้ายใกล้ชิดขึ้น

หญิงสาวกำลังถูกทำร้ายร่างกาย วันนี้ (8 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 8 มี.ค.ทุกปีเป็นวันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งการดูแลปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีนั้น สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่ปี 2542 จัดบริการแบบสหวิชาชีพ ช่วยเหลือดูแลครบวงจรร่วมกันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาลร่างกายและจิตใจ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนปัญหายุติ ขณะนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปครบ 96 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว 631 แห่งจากทั้งหมด 734 แห่ง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การให้บริการพบว่า เด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปี 2550 ให้การช่วยเหลือ 19,067 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย ปี 2556 เพิ่มเป็น 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือถูกทำร้าย 1 คนในทุกๆ 15 นาที ซึ่งร้อยละ 60 เป็นเด็ก โดย 9 ใน 10 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-15 ปี ร้อยละ 46 อายุ 15-18 ปี ร้อยละ 40 และต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 5 หรือ 1,000 ราย

“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันดับ 1 คือ ล่วงละเมิดทางเพศร้อยละ 72 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21 ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน แฟน ส่วนความรุนแรงในเด็กที่อายุมากขึ้นผู้กระทำมักเป็นแฟนมากที่สุด สาเหตุเกิดมาจากสภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือการเสพสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านของผู้กระทำและบ้านที่เด็กอยู่อาศัย สถานที่เปลี่ยว เป็นต้น” ปลัด สธ.กล่าว

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนความรุนแรงในสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 35-45 ปี ร้อยละ 39 รองลงมาคืออายุ 18-25 ปี ปัญหาอันดับ 1 คือถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย เช่น ทุบตี จำนวน 9,699 ราย ถูกกระทำทางเพศ จำนวน 2,226 ราย โดยผู้กระทำรุนแรงคือคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 52 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาท คาดว่าแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ มาจากหลายปัญหา เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะสุรา ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ขาดการคัดกรองอย่างรอบคอบ

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ในปี 2557 สธ.ตั้งเป้าตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และเร่งขยายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อดูแลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงถูกกระทำรุนแรงในพื้นที่ 7 กลุ่ม ได้แก่ เด็กผู้หญิง ผู้หญิงที่มีความพิการทางสติปัญญา ผู้พิการทางกาย ครอบครัวผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มสุรา พ่อแม่เป็นโรคจิต ครอบครัวแตกแยก เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหา และจัดระบบการทำงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้อง ถิ่น โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.และ อสม.ให้มีความรู้ ตรวจคัดกรองผู้ที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยง และจัดบริการส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลเยียวยา ลดปัญหาทางกายและทางจิตใจในเบื้องต้นได้

“หากพบปัญหารุนแรงจะส่งดูแลต่อในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้นไป จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลความปลอดภัยและมีที่พึ่งใกล้บ้าน และในอนาคตจะเร่งพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการบริการให้ความช่วยเหลือเด็กและ สตรี ของสถานพยาบาลต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นผู้หญิงหรือเด็กถูกกระทำรุนแรง สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้โรงพยาบาลทุกแห่งหรือ รพ.สต.ทั่วประเทศ” ปลัด สธ.กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000026708 (ขนาดไฟล์: 164)

(managerออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.57 )

ที่มา: managerออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 9/03/2557 เวลา 02:08:12 ดูภาพสไลด์โชว์ ผู้หญิง-เด็กไทยถูกปู้ยี่ปู้ยำมากขึ้น “ข่มขืน-ทุบตี” จากคนใกล้ชิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้หญิงและเด็กไทยถูกปู้ยี่ ปู้ยำมากขึ้น พบปี 56 พุ่ง 31,000 ราย เป็นเด็ก 60% ถูกข่มขืนมากที่สุด เหตุเสพสื่อลามก ส่วนผู้หญิงถูกทุบตีจากเหตุหึงหวง โดยคู่สมรส แฟนมากที่สุด สธ.เร่งขยายศูนย์พึ่งได้ลง รพ.สต.จัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เฝ้าระวัง 7 กลุ่มเสี่ยงถูกทำร้ายใกล้ชิดขึ้น หญิงสาวกำลังถูกทำร้ายร่างกาย วันนี้ (8 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 8 มี.ค.ทุกปีเป็นวันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งการดูแลปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีนั้น สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่ปี 2542 จัดบริการแบบสหวิชาชีพ ช่วยเหลือดูแลครบวงจรร่วมกันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาลร่างกายและจิตใจ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนปัญหายุติ ขณะนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปครบ 96 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว 631 แห่งจากทั้งหมด 734 แห่ง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การให้บริการพบว่า เด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปี 2550 ให้การช่วยเหลือ 19,067 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย ปี 2556 เพิ่มเป็น 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือถูกทำร้าย 1 คนในทุกๆ 15 นาที ซึ่งร้อยละ 60 เป็นเด็ก โดย 9 ใน 10 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-15 ปี ร้อยละ 46 อายุ 15-18 ปี ร้อยละ 40 และต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 5 หรือ 1,000 ราย “ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันดับ 1 คือ ล่วงละเมิดทางเพศร้อยละ 72 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21 ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน แฟน ส่วนความรุนแรงในเด็กที่อายุมากขึ้นผู้กระทำมักเป็นแฟนมากที่สุด สาเหตุเกิดมาจากสภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือการเสพสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านของผู้กระทำและบ้านที่เด็กอยู่อาศัย สถานที่เปลี่ยว เป็นต้น” ปลัด สธ.กล่าว นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนความรุนแรงในสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 35-45 ปี ร้อยละ 39 รองลงมาคืออายุ 18-25 ปี ปัญหาอันดับ 1 คือถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย เช่น ทุบตี จำนวน 9,699 ราย ถูกกระทำทางเพศ จำนวน 2,226 ราย โดยผู้กระทำรุนแรงคือคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 52 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาท คาดว่าแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ มาจากหลายปัญหา เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะสุรา ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ขาดการคัดกรองอย่างรอบคอบ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ในปี 2557 สธ.ตั้งเป้าตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และเร่งขยายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อดูแลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงถูกกระทำรุนแรงในพื้นที่ 7 กลุ่ม ได้แก่ เด็กผู้หญิง ผู้หญิงที่มีความพิการทางสติปัญญา ผู้พิการทางกาย ครอบครัวผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มสุรา พ่อแม่เป็นโรคจิต ครอบครัวแตกแยก เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหา และจัดระบบการทำงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้อง ถิ่น โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.และ อสม.ให้มีความรู้ ตรวจคัดกรองผู้ที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยง และจัดบริการส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลเยียวยา ลดปัญหาทางกายและทางจิตใจในเบื้องต้นได้ “หากพบปัญหารุนแรงจะส่งดูแลต่อในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้นไป จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลความปลอดภัยและมีที่พึ่งใกล้บ้าน และในอนาคตจะเร่งพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการบริการให้ความช่วยเหลือเด็กและ สตรี ของสถานพยาบาลต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นผู้หญิงหรือเด็กถูกกระทำรุนแรง สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้โรงพยาบาลทุกแห่งหรือ รพ.สต.ทั่วประเทศ” ปลัด สธ.กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000026708 (managerออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...