ห่วง 'ไวรัสตับอักเสบซี' ภัยเงียบคุกคามคนไทย
นักวิจัย คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ เผยผลวิจัยเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็นภัยเงียบไม่แสดงอาการ หากป่วยแล้วตรวจพบทันรักษาหายได้ด้วยวัคซีนและกินยาร่วมกัน...
ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวรัสตับอักเสบ กล่าวถึงโรคไวรัสตับอักเสบว่า เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะอาศัยอยู่ที่ตับ มีทั้งไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับในคนไทยและประชากรทั่วโลก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นโรคนี้จะมี ประวัติการติดเชื้อจากทางเลือด ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเลือดจากการเสียเลือดหรือตกเลือดจากการคลอดบุตร เป็น โรคโลหิตจาง เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีการตรวจกรองไวรัสตับอักเสบซีใน เลือด ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น จากการเสพยาเสพติดด้วยการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาดร่วมกัน นอกจากนี้ผู้ที่มี เพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะมีโอกาสในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ง่ายขึ้น ส่วนการติดเชื้อไวรัส ชนิดนี้โดยการถ่ายทอดจากแม่ที่ตั้งครรภ์สู่ลูกมีโอกาสเป็นไปได้แต่น้อย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ไวรัสตับอักเสบซีมีสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ในทั่วโลกมีทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 1, 3, 6 ซึ่งในการรักษานั้นจะยากง่ายต่างกัน ในงานวิจัยพบว่าในประเทศไทยมีจำนวน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 2% ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคนี้เนื่องจากไม่มีการแสดงอาการออกมาชัดเจน ส่วนใหญ่จะพบเมื่อมีการตรวจสุขภาพหรือบริจาคเลือดแล้วพบว่าการทำงาน ของตับผิดปกติ ผู้ป่วยมักจะรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคนี้เมื่อมีอาการเรื้อรังของโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตาเหลือง ตัวเหลือง ขาบวม ผู้ป่วยบางคนอาจทราบเมื่อป่วยเป็นมะเร็งที่ลุกลามแล้ว ปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคนี้ได้ในเบื้องต้นโดยการตรวจเลือดเพื่อหาสารบาง ชนิดที่เกี่ยวข้องกับไวรัส และทำการตรวจยืนยันอีกครั้งว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่
วิธีการรักษา ไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา โดยการฉีดยาร่วมกับการรับประทานยา ต้องทำการรักษาต่อเนื่องจนครบกำหนด ซึ่งใช้เวลานานครึ่งปี-1 ปี การรักษาจะได้ผลแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณเชื้อ ไวรัสในร่างกาย ระยะเวลาในการตรวจพบอาการป่วยของโรคนี้ และลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย สำหรับแนวทางการศึกษาวิจัยเรื่องไวรัสตับอักเสบซี ในอนาคตจะมุ่งศึกษาเพื่อตอบโจทย์ข้อมูลในต่างประเทศที่ยังมีการศึกษาน้อย รวมถึงการทำนายการเกิดตับแข็ง มะเร็งตับและความรุนแรงของโรคนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาฉีดและยาทาน ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง และอาจมีผลข้างเคียงในการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สายพันธุ์ 3 และมีความรุนแรงของอาการที่ตับตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาได้ในระบบประกันสุขภาพโดยใช้สิทธิ์บัตร 30 บาท และบัตรประกันสังคม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเป็นโอกาสที่ดีมาก ดังนั้นผู้ป่วยและผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ควรเข้ารับการตรวจหาสายพันธุ์ไวรัส เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาช่องทางในการรักษาต่อไป ส่วนไวรัสตับอักเสบบีนั้น การรักษามักจะไม่หายขาด เพียงแต่เป็นการคุมไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหายาที่รักษาไวรัสตับอักเสบบีให้ หายขาด
“ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และดูแลสุขภาพจากโรคไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะมีผลทำให้ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าป่วยเป็นโรคนี้จนกว่าสภาพตับจะมีอาการรุนแรง ถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามประชากรไทยและทั่วโลก ปัจจุบันมีวัคซีน สำหรับป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบีซึ่งราคาไม่แพง ส่วนไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค” นายแพทย์พิสิฐกล่าว.
ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/408278
(thairath ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 มี.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพเอ็กซเรย์ ไวรัสตับอักเสบซี นักวิจัย คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ เผยผลวิจัยเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็นภัยเงียบไม่แสดงอาการ หากป่วยแล้วตรวจพบทันรักษาหายได้ด้วยวัคซีนและกินยาร่วมกัน... ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวรัสตับอักเสบ กล่าวถึงโรคไวรัสตับอักเสบว่า เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะอาศัยอยู่ที่ตับ มีทั้งไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับในคนไทยและประชากรทั่วโลก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นโรคนี้จะมี ประวัติการติดเชื้อจากทางเลือด ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเลือดจากการเสียเลือดหรือตกเลือดจากการคลอดบุตร เป็น โรคโลหิตจาง เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีการตรวจกรองไวรัสตับอักเสบซีใน เลือด ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น จากการเสพยาเสพติดด้วยการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาดร่วมกัน นอกจากนี้ผู้ที่มี เพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะมีโอกาสในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ง่ายขึ้น ส่วนการติดเชื้อไวรัส ชนิดนี้โดยการถ่ายทอดจากแม่ที่ตั้งครรภ์สู่ลูกมีโอกาสเป็นไปได้แต่น้อย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ไวรัสตับอักเสบซีมีสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ในทั่วโลกมีทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 1, 3, 6 ซึ่งในการรักษานั้นจะยากง่ายต่างกัน ในงานวิจัยพบว่าในประเทศไทยมีจำนวน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 2% ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคนี้เนื่องจากไม่มีการแสดงอาการออกมาชัดเจน ส่วนใหญ่จะพบเมื่อมีการตรวจสุขภาพหรือบริจาคเลือดแล้วพบว่าการทำงาน ของตับผิดปกติ ผู้ป่วยมักจะรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคนี้เมื่อมีอาการเรื้อรังของโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตาเหลือง ตัวเหลือง ขาบวม ผู้ป่วยบางคนอาจทราบเมื่อป่วยเป็นมะเร็งที่ลุกลามแล้ว ปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคนี้ได้ในเบื้องต้นโดยการตรวจเลือดเพื่อหาสารบาง ชนิดที่เกี่ยวข้องกับไวรัส และทำการตรวจยืนยันอีกครั้งว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ วิธีการรักษา ไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา โดยการฉีดยาร่วมกับการรับประทานยา ต้องทำการรักษาต่อเนื่องจนครบกำหนด ซึ่งใช้เวลานานครึ่งปี-1 ปี การรักษาจะได้ผลแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณเชื้อ ไวรัสในร่างกาย ระยะเวลาในการตรวจพบอาการป่วยของโรคนี้ และลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย สำหรับแนวทางการศึกษาวิจัยเรื่องไวรัสตับอักเสบซี ในอนาคตจะมุ่งศึกษาเพื่อตอบโจทย์ข้อมูลในต่างประเทศที่ยังมีการศึกษาน้อย รวมถึงการทำนายการเกิดตับแข็ง มะเร็งตับและความรุนแรงของโรคนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาฉีดและยาทาน ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง และอาจมีผลข้างเคียงในการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สายพันธุ์ 3 และมีความรุนแรงของอาการที่ตับตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาได้ในระบบประกันสุขภาพโดยใช้สิทธิ์บัตร 30 บาท และบัตรประกันสังคม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเป็นโอกาสที่ดีมาก ดังนั้นผู้ป่วยและผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ควรเข้ารับการตรวจหาสายพันธุ์ไวรัส เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาช่องทางในการรักษาต่อไป ส่วนไวรัสตับอักเสบบีนั้น การรักษามักจะไม่หายขาด เพียงแต่เป็นการคุมไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหายาที่รักษาไวรัสตับอักเสบบีให้ หายขาด “ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และดูแลสุขภาพจากโรคไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะมีผลทำให้ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าป่วยเป็นโรคนี้จนกว่าสภาพตับจะมีอาการรุนแรง ถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามประชากรไทยและทั่วโลก ปัจจุบันมีวัคซีน สำหรับป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบีซึ่งราคาไม่แพง ส่วนไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค” นายแพทย์พิสิฐกล่าว. ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/408278 (thairath ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 มี.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)