ทำความเข้าใจ ภัยอาหารปิ้งย่าง เลี่ยงมะเร็งร้ายทำลายครอบครัวห

แสดงความคิดเห็น

ในช่วงที่สังคมเร่งรีบไม่ค่อยมีเวลาเท่าใด ประกอบกับการเชื่อโฆษณาที่บรรยายสรรพคุณความอร่อยของอาหารจานด่วน จึงทำให้ครอบครัวยุคใหม่ต่างๆ นิยมหาอาหารที่ง่ายๆ และสะดวกมารับประทานกันโดยไม่สนใจผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาหารปิ้ง ย่าง และทอด ที่ดูน่ารับประทาน อาทิ ประเภทหมูย่างเกาหลี เนื้อย่างเกาหลี บาร์บีคิว อาหารทะเลปิ้ง-ย่าง หมูย่างข้าวเหนียว รวมถึงไก่ทอด เฟรนช์ฟราย ขนมปังกรอบ และมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบกันเป็นอย่างดี ยิ่งในรายของเด็กและเยาวชนที่รับประทานแต่วัยเยาว์ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในอนาคตในด้านการพัฒนาการเจริญเติบโต และโรคภัยไข้เจ็บอีกสารพัดมารุมเร้า

ก่อนจะเล่าถึงความร้ายกาจของวิธีปรุงอาหารดังกล่าว ต้องมาทำความเข้าใจกับอาหารปิ้ง-ย่างกัน โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ว่า เนื่องจากความร้อนจากไฟจะผ่านเข้าสู่เนื้อแดงของสัตว์ต่างๆ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า เฮเทอโรไซคลิก เอมีนส์ (Heterocyclic amines) และเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนก็เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย อาทิ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร และไม่ใช่จะพบจำกัดเฉพาะอาหารประเภทปิ้ง-ย่างเท่านั้น สารความเสี่ยงต่อการเกิดก่อมะเร็งยังพบในอาหารทอดด้วย

ดังนั้นครอบครัวใดที่ชอบกิจกรรมทำอาหารประเภทปิ้ง-ย่าง จึงต้องควรระวังและควรมีวิธีจัดการในการปรุงอาหารอย่างถูกวิธีด้วย คือใช้อุณหภูมิความร้อนที่ไม่สูงมากนัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาย่างควรอยู่สูงกว่าเปลวไฟพอสมควร ไม่ควรวางไว้ใกล้หรือติดกับเปลวไฟจนเกินไป พยายามพลิกเนื้อบ่อยๆ

นอกจากนี้ ควรทาน้ำมันหรือเนยลงไปก่อนที่จะทำการย่าง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ และอีกวิธีหนึ่งคือ ควรเลือกรับประทานเนื้อปลาแทนที่จะรับประทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัว เพราะการนำเนื้อปลามาย่างนั้น เนื้อปลาจะสุกเร็วมาก เนื่องจากใช้ความร้อนที่ไม่สูงนักและใช้เวลาในการย่างไม่นาน

การใช้ความร้อนที่ต่ำและระยะเวลาสั้นในการย่างมักจะไม่พบสารก่อมะเร็ง หรือถ้าหากพบก็พบได้น้อย ในขณะที่ใครชอบทอดก็พยายามเรียกเลี่ยงการทอดด้วยน้ำมันซ้ำหลายครั้ง หรือการทอดเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งเช่นกัน ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ควรหันไปรับประทานอาหารประเภทต้มหรือตุ๋นจะพบสารนี้ได้น้อยกว่า หรือควรลดบริโภคอาหารดังกล่าวจะดีกว่า รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ทอดและ เฟรนช์ฟราย อาหารประเภทขบเคี้ยวชนิดต่างๆ เช่น มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ข้าวโพดแผ่นอบกรอบ และขนมกรุบกรอบทุกชนิด ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะโปรดปราน

ขณะที่บ้านเราก็ยังไม่มีกฎหมายควบคุม โดยเฉพาะกับสถานประกอบการประเภทฟาสต์ฟู้ดในเรื่องของความปลอดภัยในการปรุง อาหาร ทำได้แต่เพียงขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการให้ช่วยกันประกอบอาหารให้ถูก สุขลักษณะเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อาหารดังกล่าวไม่ได้กระทบแต่ตัวผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงผู้ประกอบการ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ทำการปิ้ง-ย่าง ล่าสุด นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลการตรวจสอบว่า หลังจากมีการสอบถามมายัง คพ.เกี่ยวกับปัญหาควันจากการปิ้ง-ย่าง โดยเฉพาะรถเข็นขายหมูปิ้ง หรือทำงานหน้าเตาถ่านว่าจะได้รับมลพิษหรือไม่

ทั้งนี้ หลังจากส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงลงพื้นที่เพื่อหาคำ ตอบก็พบว่า การปิ้ง-ย่าง เมื่อมีน้ำมันตกลงไปโดนถ่านแดงๆ จะเกิดควันสีขาวขึ้นมานั้น เป็นกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย (วีโอซี) โดยพบค่าอยู่ในช่วง 168-411 พีพีเอ็ม แม้จะน้อยกว่าควันธูป หรือจากท่อไอเสียรถยนต์ แต่ก็น่าเป็นห่วงสำหรับตัวพ่อค้าแม่ค้าปิ้ง-ย่างที่ต้องรับควันที่มีสาร มลพิษทุกๆ วัน รวมถึงลูกค้าที่ยืนรออาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่จะได้รับผลกระทบระยะยาว อาทิ การระคายเคืองทางเดินหายใจ จมูก คอ ตาแห้ง และถ้าได้รับสารในระยะยาวจะมีผลถึงขั้นเป็นมะเร็งได้

นายวิเชียรกล่าวอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นทาง คพ.จึงเตรียมจะหารือกับทางกระทรวงสาธารณสุขทำการศึกษาถึงความเสี่ยงด้าน สุขภาพของพ่อค้าแม่ค้าปิ้ง-ย่างอย่างจริงจัง รวมถึงหามาตรการในการลดผลกระทบต่อการเกิดควันจากการปิ้ง-ย่างต่อไป

อ๊อฟ พ่อค้าหมูปิ้งย่านสีลม บอกว่า ก็พอจะทราบว่าหากได้รับควันจากการขายหมูปิ้งนั้นเป็นอันตราย แต่ก็พยายามป้องกันคือหลีกเลี่ยงควันและใช้ผ้าอนามัยปิดจมูก เพื่อลดการสูดดม ส่วนจะให้เลิกขายหมูปิ้ง เพราะเกรงกลัวอันตรายก็ทำไม่ได้ เพราะก็ไม่รู้จะไปทำอะไร อีกทั้งตัวเองก็ยังไม่ได้รับอันตรายหรือเป็นโรคที่เกิดจากควันในตอนนี้ มีกระทบบ้างคือระคายเคืองเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ช่วยหามาตรการป้องกันภัยเงียบเหล่านี้ด้วยทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

สิ่งที่นำเสนอไม่ต้องการทำให้เกิดความตื่นตระหนก แต่เป็นข้อมูลที่ทุกคนควรทราบและนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ทุกท่านสุขภาพดีและปราศจากโรคร้าย.

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1847376

(ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57 )

ที่มา: ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 1/03/2557 เวลา 03:19:23

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในช่วงที่สังคมเร่งรีบไม่ค่อยมีเวลาเท่าใด ประกอบกับการเชื่อโฆษณาที่บรรยายสรรพคุณความอร่อยของอาหารจานด่วน จึงทำให้ครอบครัวยุคใหม่ต่างๆ นิยมหาอาหารที่ง่ายๆ และสะดวกมารับประทานกันโดยไม่สนใจผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาหารปิ้ง ย่าง และทอด ที่ดูน่ารับประทาน อาทิ ประเภทหมูย่างเกาหลี เนื้อย่างเกาหลี บาร์บีคิว อาหารทะเลปิ้ง-ย่าง หมูย่างข้าวเหนียว รวมถึงไก่ทอด เฟรนช์ฟราย ขนมปังกรอบ และมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบกันเป็นอย่างดี ยิ่งในรายของเด็กและเยาวชนที่รับประทานแต่วัยเยาว์ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในอนาคตในด้านการพัฒนาการเจริญเติบโต และโรคภัยไข้เจ็บอีกสารพัดมารุมเร้า ก่อนจะเล่าถึงความร้ายกาจของวิธีปรุงอาหารดังกล่าว ต้องมาทำความเข้าใจกับอาหารปิ้ง-ย่างกัน โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ว่า เนื่องจากความร้อนจากไฟจะผ่านเข้าสู่เนื้อแดงของสัตว์ต่างๆ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า เฮเทอโรไซคลิก เอมีนส์ (Heterocyclic amines) และเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนก็เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย อาทิ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร และไม่ใช่จะพบจำกัดเฉพาะอาหารประเภทปิ้ง-ย่างเท่านั้น สารความเสี่ยงต่อการเกิดก่อมะเร็งยังพบในอาหารทอดด้วย ดังนั้นครอบครัวใดที่ชอบกิจกรรมทำอาหารประเภทปิ้ง-ย่าง จึงต้องควรระวังและควรมีวิธีจัดการในการปรุงอาหารอย่างถูกวิธีด้วย คือใช้อุณหภูมิความร้อนที่ไม่สูงมากนัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาย่างควรอยู่สูงกว่าเปลวไฟพอสมควร ไม่ควรวางไว้ใกล้หรือติดกับเปลวไฟจนเกินไป พยายามพลิกเนื้อบ่อยๆ นอกจากนี้ ควรทาน้ำมันหรือเนยลงไปก่อนที่จะทำการย่าง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ และอีกวิธีหนึ่งคือ ควรเลือกรับประทานเนื้อปลาแทนที่จะรับประทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัว เพราะการนำเนื้อปลามาย่างนั้น เนื้อปลาจะสุกเร็วมาก เนื่องจากใช้ความร้อนที่ไม่สูงนักและใช้เวลาในการย่างไม่นาน การใช้ความร้อนที่ต่ำและระยะเวลาสั้นในการย่างมักจะไม่พบสารก่อมะเร็ง หรือถ้าหากพบก็พบได้น้อย ในขณะที่ใครชอบทอดก็พยายามเรียกเลี่ยงการทอดด้วยน้ำมันซ้ำหลายครั้ง หรือการทอดเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งเช่นกัน ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ควรหันไปรับประทานอาหารประเภทต้มหรือตุ๋นจะพบสารนี้ได้น้อยกว่า หรือควรลดบริโภคอาหารดังกล่าวจะดีกว่า รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ทอดและ เฟรนช์ฟราย อาหารประเภทขบเคี้ยวชนิดต่างๆ เช่น มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ข้าวโพดแผ่นอบกรอบ และขนมกรุบกรอบทุกชนิด ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะโปรดปราน ขณะที่บ้านเราก็ยังไม่มีกฎหมายควบคุม โดยเฉพาะกับสถานประกอบการประเภทฟาสต์ฟู้ดในเรื่องของความปลอดภัยในการปรุง อาหาร ทำได้แต่เพียงขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการให้ช่วยกันประกอบอาหารให้ถูก สุขลักษณะเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาหารดังกล่าวไม่ได้กระทบแต่ตัวผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงผู้ประกอบการ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ทำการปิ้ง-ย่าง ล่าสุด นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลการตรวจสอบว่า หลังจากมีการสอบถามมายัง คพ.เกี่ยวกับปัญหาควันจากการปิ้ง-ย่าง โดยเฉพาะรถเข็นขายหมูปิ้ง หรือทำงานหน้าเตาถ่านว่าจะได้รับมลพิษหรือไม่ ทั้งนี้ หลังจากส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงลงพื้นที่เพื่อหาคำ ตอบก็พบว่า การปิ้ง-ย่าง เมื่อมีน้ำมันตกลงไปโดนถ่านแดงๆ จะเกิดควันสีขาวขึ้นมานั้น เป็นกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย (วีโอซี) โดยพบค่าอยู่ในช่วง 168-411 พีพีเอ็ม แม้จะน้อยกว่าควันธูป หรือจากท่อไอเสียรถยนต์ แต่ก็น่าเป็นห่วงสำหรับตัวพ่อค้าแม่ค้าปิ้ง-ย่างที่ต้องรับควันที่มีสาร มลพิษทุกๆ วัน รวมถึงลูกค้าที่ยืนรออาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่จะได้รับผลกระทบระยะยาว อาทิ การระคายเคืองทางเดินหายใจ จมูก คอ ตาแห้ง และถ้าได้รับสารในระยะยาวจะมีผลถึงขั้นเป็นมะเร็งได้ นายวิเชียรกล่าวอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นทาง คพ.จึงเตรียมจะหารือกับทางกระทรวงสาธารณสุขทำการศึกษาถึงความเสี่ยงด้าน สุขภาพของพ่อค้าแม่ค้าปิ้ง-ย่างอย่างจริงจัง รวมถึงหามาตรการในการลดผลกระทบต่อการเกิดควันจากการปิ้ง-ย่างต่อไป อ๊อฟ พ่อค้าหมูปิ้งย่านสีลม บอกว่า ก็พอจะทราบว่าหากได้รับควันจากการขายหมูปิ้งนั้นเป็นอันตราย แต่ก็พยายามป้องกันคือหลีกเลี่ยงควันและใช้ผ้าอนามัยปิดจมูก เพื่อลดการสูดดม ส่วนจะให้เลิกขายหมูปิ้ง เพราะเกรงกลัวอันตรายก็ทำไม่ได้ เพราะก็ไม่รู้จะไปทำอะไร อีกทั้งตัวเองก็ยังไม่ได้รับอันตรายหรือเป็นโรคที่เกิดจากควันในตอนนี้ มีกระทบบ้างคือระคายเคืองเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ช่วยหามาตรการป้องกันภัยเงียบเหล่านี้ด้วยทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ สิ่งที่นำเสนอไม่ต้องการทำให้เกิดความตื่นตระหนก แต่เป็นข้อมูลที่ทุกคนควรทราบและนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ทุกท่านสุขภาพดีและปราศจากโรคร้าย. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1847376 (ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...