จุดอันตราย...ภัยของคนเดินเท้า
ทราบหรือไม่ว่า...ผู้คนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความต้องการเดินทาง มากกว่า 22 ล้านเที่ยวต่อวัน และมีแนวโน้มความต้องการเดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ
ในจำนวนนี้เป็นการเดินทางที่ต้องใช้ถนนถึง 20.48 ล้านเที่ยวต่อวัน หรือ 93.3% แบ่งเป็น โดยสารรถยนต์ 56.9% และโดยสารรถบัส 36.4% ด้วยปริมาณการเดินทางบนถนนที่ค่อนข้างสูง ไม่เพียงแต่มีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุต่อคนใช้รถเท่านั้น คนที่เดินบนถนนหรือบนทางเท้าก็เสี่ยงเกิดอันตรายเช่นกัน
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายได้คือ การเดินข้ามถนนบริเวณจุดตัดของการจราจรระหว่างคนเดินเท้าและรถยนต์ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือฮู ที่ระบุว่าเมื่อปี 2553 มีคนเดินข้ามถนนเสียชีวิตถึง 273,000 คน คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนผู้เสียชิวิตที่มี 1.24 ล้านคนต่อปี
สำหรับเมืองหลวงของประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้นำ “ระบบสัญญาณไฟจราจรคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ” มาติดตั้งเพื่อช่วยคนเดินข้ามซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดอันตรายจาก การข้ามถนน
ในงานการประชุมวิชาการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริงในบริบทไทย จัดโดยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) น.ส.ชิดชนก แจ้งจบ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง “การประเมินระบบสัญญาณไฟจราจรคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะในการช่วยคนเดินข้ามถนน (กรณีศึกษาเขตทุ่งครุ กทม.)”
โดยได้ศึกษาทางข้ามประเภทระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ บริเวณเขตทุ่งครุ 3 จุด คือ บริเวณหน้าโรงเรียนวัดพุทธบูชา บริเวณหน้าปากซอยประชาอุทิศ 28 และบริเวณหน้าสำนักงานเขตทุ่งครุ ในวันปกติ 1 วัน ด้วยการสำรวจและสุ่มสัมภาษณ์ผู้ใช้ทางข้าม ประเด็นในส่วนการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบ
พบว่า 64% ของคนเดินข้ามถนนรู้สึกว่าระบบไม่ได้ช่วยให้มีความปลอดภัยจากการถูกรถชนขณะเดินข้ามถนน ขณะที่ 88% รู้สึกว่าระบบช่วยให้มีความปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และคนเดินข้ามถนน 83% รู้สึกว่าระบบไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการรอข้ามถนน
ทั้งนี้ น.ส.ชิดชนก ให้ความเห็นว่าก่อนที่จะติดตั้งทางข้ามควรคัดเลือกตำแหน่งที่ติดตั้งและ ประเมินทางข้ามอย่างละเอียดก่อน ไม่เพียงเท่านี้บริเวณโครงการพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม ยังเป็นจุดหนึ่งที่ส่งผลต่อคนเดินเท้าด้วย
ใช่แต่เฉพาะคนใช้รถเท่านั้นที่ต้องพึงระวังอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นบน ท้องถนน คนเดินเท้าริมถนนก็มิอาจวางใจจนขาดการระมัดระวังตนเองด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณจุดที่สุ่มเสี่ยง!!!
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140317/180958.html#.UyerTs71X3A (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การจราจรบนท้องถนน ทราบหรือไม่ว่า...ผู้คนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความต้องการเดินทาง มากกว่า 22 ล้านเที่ยวต่อวัน และมีแนวโน้มความต้องการเดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ ในจำนวนนี้เป็นการเดินทางที่ต้องใช้ถนนถึง 20.48 ล้านเที่ยวต่อวัน หรือ 93.3% แบ่งเป็น โดยสารรถยนต์ 56.9% และโดยสารรถบัส 36.4% ด้วยปริมาณการเดินทางบนถนนที่ค่อนข้างสูง ไม่เพียงแต่มีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุต่อคนใช้รถเท่านั้น คนที่เดินบนถนนหรือบนทางเท้าก็เสี่ยงเกิดอันตรายเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายได้คือ การเดินข้ามถนนบริเวณจุดตัดของการจราจรระหว่างคนเดินเท้าและรถยนต์ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือฮู ที่ระบุว่าเมื่อปี 2553 มีคนเดินข้ามถนนเสียชีวิตถึง 273,000 คน คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนผู้เสียชิวิตที่มี 1.24 ล้านคนต่อปี สำหรับเมืองหลวงของประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้นำ “ระบบสัญญาณไฟจราจรคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ” มาติดตั้งเพื่อช่วยคนเดินข้ามซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดอันตรายจาก การข้ามถนน ในงานการประชุมวิชาการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริงในบริบทไทย จัดโดยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) น.ส.ชิดชนก แจ้งจบ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง “การประเมินระบบสัญญาณไฟจราจรคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะในการช่วยคนเดินข้ามถนน (กรณีศึกษาเขตทุ่งครุ กทม.)” โดยได้ศึกษาทางข้ามประเภทระบบสัญญาณไฟคนเดินข้ามถนนอัจฉริยะ บริเวณเขตทุ่งครุ 3 จุด คือ บริเวณหน้าโรงเรียนวัดพุทธบูชา บริเวณหน้าปากซอยประชาอุทิศ 28 และบริเวณหน้าสำนักงานเขตทุ่งครุ ในวันปกติ 1 วัน ด้วยการสำรวจและสุ่มสัมภาษณ์ผู้ใช้ทางข้าม ประเด็นในส่วนการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบ พบว่า 64% ของคนเดินข้ามถนนรู้สึกว่าระบบไม่ได้ช่วยให้มีความปลอดภัยจากการถูกรถชนขณะเดินข้ามถนน ขณะที่ 88% รู้สึกว่าระบบช่วยให้มีความปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และคนเดินข้ามถนน 83% รู้สึกว่าระบบไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการรอข้ามถนน ทั้งนี้ น.ส.ชิดชนก ให้ความเห็นว่าก่อนที่จะติดตั้งทางข้ามควรคัดเลือกตำแหน่งที่ติดตั้งและ ประเมินทางข้ามอย่างละเอียดก่อน ไม่เพียงเท่านี้บริเวณโครงการพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม ยังเป็นจุดหนึ่งที่ส่งผลต่อคนเดินเท้าด้วย ใช่แต่เฉพาะคนใช้รถเท่านั้นที่ต้องพึงระวังอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นบน ท้องถนน คนเดินเท้าริมถนนก็มิอาจวางใจจนขาดการระมัดระวังตนเองด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณจุดที่สุ่มเสี่ยง!!! ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140317/180958.html#.UyerTs71X3A คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)