มูลนิธิไทยโรดส์เตือนคนไทย !! ไม่ใส่หมวกกันน็อค เสี่ยงพิการ เสียชีวิต
มูลนิธิไทยโรดส์ เครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปก.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด จัดแถลงสถานการณ์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนน ภาพรวมผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกนิรภัยทั่วทั้งประเทศ
นายศิลปชัย จารุเกษมรัต ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 30 คน โดยร้อยละ 70-80 ของการเสียชีวิตนั้น เกิดจากผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย จึงสะท้อนว่าที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะได้มีทำการรณรงค์การขับขี่ปลอดภัย โดยเฉพาะประเด็นการสวมหมวกนิรภัยมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การสวมหมวกนิรภัยก็เป็นกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตั้งแต่ปี 2539 แต่สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทางถนนจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ก็ยังคงเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงมีโอกาสบาดเจ็บบริเวณศรีษะอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้
ด้าน นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ กล่าวว่า จากสถิติพบว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วโลก ร้อยละ 23 เกิดจากรถจักรยานยนต์ และระดับอายุของผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 15-44 ปี สำหรับประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 6 ของโลกที่มีความปลอดภัยทางถนนน้อยที่สุด และเมื่อดูที่คะแนนด้านการสวมหมวกนิรภัยได้คะแนน 6 เต็ม 10 คะแนนเท่านั้น สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนของไทยจัดว่าอยู่ในขั้นรุนแรง สอดคล้องกับความกังวลขององค์การอนามัยโลกที่มีต่อปัญหานี้ เนื่องจากคนในประเทศกำลังพัฒนาใช้รถจักรยานยนต์เป็นรถครอบครัว และนำมาใช้เป็นรถขนของมากที่สุด โดยมาตรฐานของพาหนะแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน จึงเป็นเหตุแต่ละปียังมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวนมาก และได้ทำข้อเสนอ 6 ข้อ เพื่อยกระดับสถานการณ์สวมหมวกนิรภัย คือ 1. ให้รัฐบาลประกาศใช้นโยบายหมวกกันน็อก 100% อย่างจริงจัง 2. มีการบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด 3. มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง 4. ส่งเสริมให้มีการเปิดขายหมวกกันน็อกทุกขนาด 5. ส่งเสริมเรื่องการทำข้อมูลการใช้หมวกกันน็อกอย่างเข้มข้นให้เหมือนกับการปราบปรามยาเสพติด และ 6. ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล
ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363431186&grpid=03&catid=19 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพหมู่บนเวที ในงานแถลงสถานการณ์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนน ภาพรวมผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกนิรภัยทั่วทั้งประเทศ มูลนิธิไทยโรดส์ เครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปก.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด จัดแถลงสถานการณ์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนน ภาพรวมผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกนิรภัยทั่วทั้งประเทศ นายศิลปชัย จารุเกษมรัต ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 30 คน โดยร้อยละ 70-80 ของการเสียชีวิตนั้น เกิดจากผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย จึงสะท้อนว่าที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะได้มีทำการรณรงค์การขับขี่ปลอดภัย โดยเฉพาะประเด็นการสวมหมวกนิรภัยมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การสวมหมวกนิรภัยก็เป็นกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตั้งแต่ปี 2539 แต่สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทางถนนจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ก็ยังคงเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงมีโอกาสบาดเจ็บบริเวณศรีษะอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ ด้าน นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ กล่าวว่า จากสถิติพบว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วโลก ร้อยละ 23 เกิดจากรถจักรยานยนต์ และระดับอายุของผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 15-44 ปี สำหรับประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 6 ของโลกที่มีความปลอดภัยทางถนนน้อยที่สุด และเมื่อดูที่คะแนนด้านการสวมหมวกนิรภัยได้คะแนน 6 เต็ม 10 คะแนนเท่านั้น สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนของไทยจัดว่าอยู่ในขั้นรุนแรง สอดคล้องกับความกังวลขององค์การอนามัยโลกที่มีต่อปัญหานี้ เนื่องจากคนในประเทศกำลังพัฒนาใช้รถจักรยานยนต์เป็นรถครอบครัว และนำมาใช้เป็นรถขนของมากที่สุด โดยมาตรฐานของพาหนะแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน จึงเป็นเหตุแต่ละปียังมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวนมาก และได้ทำข้อเสนอ 6 ข้อ เพื่อยกระดับสถานการณ์สวมหมวกนิรภัย คือ 1. ให้รัฐบาลประกาศใช้นโยบายหมวกกันน็อก 100% อย่างจริงจัง 2. มีการบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด 3. มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง 4. ส่งเสริมให้มีการเปิดขายหมวกกันน็อกทุกขนาด 5. ส่งเสริมเรื่องการทำข้อมูลการใช้หมวกกันน็อกอย่างเข้มข้นให้เหมือนกับการปราบปรามยาเสพติด และ 6. ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363431186&grpid=03&catid=19
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)