6 ยา กับ 3 วัย อันตรายที่คุณต้องรู้

แสดงความคิดเห็น

ยาเม็ดจำนวนหลายเม็ด

คนเราไม่ว่ายากดีมีจนตั้งแต่เด็กจนแก่ เมื่อเกิดมาต่างก็ต้องเคยกินยากันแทบทั้งสิ้น เพราะยา ถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยสำคัญพื้นฐานของชีวิต อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมการซื้อยากินเอง การกินยาพร่ำเพรื่อไม่ระมัดระวัง หรือไม่เกรงกลัวอันตรายของคนไทย ทำให้นำไปสู่ปัญหาการกินยาเกิน ปัญหาการดื้อยา และปัญหาอันตรายต่อสุขภาพจนถึงชีวิต ลองไปดูว่า คุณและคนใกล้ตัวของคุณเสี่ยงอันตรายจากยาบ้างไหมและยาชนิดใดที่คุณต้องระวังให้มาก

วัยเด็ก เนื่อง จากอวัยวะต่างๆ ของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระบวนการทำลายพิษยาและการขับถ่ายของเสียไม่สมบูรณ์ ร่างกายของเด็กจึงไวต่อพิษยามาก ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและยาแอสไพริน

1) ยาคลอแรมเฟนิคอล และเตตราซัยคลีน เป็น ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางหลายชนิดเป็นตัวยาที่มีอันตรายร้ายแรงและไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในเด็กเล็ก ยาคลอแรมเฟนิคอล อาจทำให้เกิดพิษต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น ลดการทำงานของไขกระดูกทำให้เกิดโรคโลหิตจาง อาจมีเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำร่วมด้วย และอันตรายถึงชีวิต จึงห้ามใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน ส่วนยาเตตราซัยคลีน อันตรายคือทำให้ฟันเป็นสีน้ำตาลถาวร ฟันหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ และทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกลดลง จึงไม่ควรใช้หรือห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หญิงมีครรภ์ และแม่ระหว่างให้นมลูก

2) ยาแอสไพริน (Aspirin) ที่ไม่กี่ปีมานี้กระทรวงสาธารณสุขสั่งห้ามขายให้เด็ก เพราะมีอันตรายถึงชีวิต ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้มีเลือดออกได้ การแพ้ยาแอสไพริน มักเกิดอาการจากสมองและตับบาดเจ็บ อักเสบเสียหาย หรือชื่อทางการแพทย์ คือ กลุ่มอาการราย (Reye′s syndrome) เป็นกลุ่มอาการมักเกิดในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จากการแพ้ยาแอสไพรินซึ่งกินเพื่อลดไข้ โดยเฉพาะหากเด็กเป็นไข้เลือดออกจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

วัยผู้ใหญ่ วันนี้ แม้ว่าจะดูสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่จากการทำงานหนักและการพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้อาจมีการใช้ยาทั้งในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาระบาย ยาลดความอ้วน ซึ่งถือว่าอันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธีและขนาด

1) ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ที่คนไทยนิยมใช้กันมากที่สุด บางคนกินแก้หวัด-ป้องกันหวัด หรือแก้ปวดเมื่อย พาราเซตามอลมีข้อดีที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะ แต่แท้จริงแล้วมีผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุด คือ การเกิดพิษต่อตับ หากใช้เกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานเกินไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดตับอักเสบเฉียบพลัน และเกิดภาวะตับวาย ซึ่งอาการอาจรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือเสียชีวิต หากไปรับการรักษาไม่ทันท่วงที

2) ยาปฏิชีวนะ เป็นหวัด เป็นไข้ เจ็บคอ นอกจากยาพาราเซตามอลแล้ว ยาปฏิชีวนะหรือในชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ” (ทั้งๆ ที่ไม่ถูกต้อง) เป็นอีกหนึ่งยาที่คนไทยชอบกิน จริงๆ แล้วเราควรจะกินยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ และใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งรักษาได้ผลเท่านั้น ไม่ใช่ว่าพอเป็นโรคติดเชื้อแล้วจะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดๆ ก็ได้ เช่น ถ้าเป็นเชื้อไมโคพลาสมา ต้องใช้อีริโทรไมซิน ถ้าเป็นเชื้อไวรัส โดยทั่วไปก็ไม่มียาที่ใช้ได้ผล เป็นต้น อย่าใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ให้ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา

วัยเกษียณ ปัจจุบัน คนไทยกำลังเข้าสู่โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุนั้นพบว่ามีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตราย ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป ลองไปดูว่า 2 ยาอันตรายที่ต้องระวังกันสุดๆ คือยาชนิดใด

1) ยาที่มีสารสเตอรอยด์ ผู้สูงอายุมักมีอาการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย ปวดแข้ง ปวดขา จึงพยายามหายาที่ลดอาการเหล่านี้มาใช้ แต่รู้หรือไม่ยาส่วนใหญ่ที่ช่วยลดอาการปวดจำนวนไม่น้อยมีสารสเตอรอยด์ผสม อยู่ เช่น ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยารักษาโรคหอบหืดชนิดพ่นสูดทางปากได้แก่ เบโดรเมธาโซน และบูเดโซไนด์ ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยารักษาโรคไตบางชนิด ยารักษาข้ออักเสบ และยาแก้แพ้ ยาลูกกลอน หากร่างกายได้รับสารนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความผิดปกติ ได้แก่ มีใบหน้าอ้วนกลมเหมือนดวงจันทร์ ลำตัวอ้วนเหมือนถังเบียร์ ผิวหนังมีรอย แตก ภาวะความดันโลหิตตก ภูมิคุ้มกันลดลงติดเชื้อต่างๆ ง่าย เกิดเบาหวาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้อกระจก กระดูกพรุนและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ก่อนใช้ยาชนิดใดจึงควรปรึกษาแพทย์

2) กลุ่มยาแก้ปวด – ลดไข้ เช่น ไดพัยโรน และหรือยาที่มีไดพัยโรนผสม อาจเกิดผื่นแพ้หรือผิวหนังอักเสบ และทำลายระบบเลือด เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแตก, เฟนิลบิวตาโซน และออกซีเฟนิลบิวตาโซน อาจเกิดไขกระดูกฝ่อ เม็ดเลือดขาวต่ำ กระเพาะอาหารทะลุ อ่อนแรง ผื่นขึ้น ปากเป็นแผล บวม, ยาแก้อักเสบ แก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ ชีพจรเต้นเร็ว บางคนอาจมีชีพจรช้า ใจสั่น ความดันเลือดสูง หายใจลึกแรง, ยาแก้ปวดกับยากล่อมประสาท หรือยาคลายกล้ามเนื้อหดเกร็ง ยาคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง อาจทำให้เกิดความดันในลูกตาสูง (อาจทำให้ตาบอดได้ถ้าเป็นโรคต้อหินอยู่ก่อนแล้ว) ถ่ายปัสสาวะลำบาก เกิดการคั่งของปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต ปากคอแห้ง ตื่นตกใจง่าย อ่อนเพลีย เป็นอันตรายถ้ากินร่วมกับสุรา

นอกจากนี้ยังมียาที่ต้องอาจทำให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ไซเมทิดีน (Cimetidine) ดิจ๊อกซิน (Digoxin) ยาขับปัสสาวะพวกไธอะไซด์ (Thiazide diuretics) ยาลดความดันเลือด เช่น โพรพาโนลอล (Propranolol) ยาขยายหลอดลม เช่น ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ยาสงบประสาทและยานอนหลับ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (Indomethacin) อะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) เช่น กานามัยซิน (Kanamycin) เป็นเพียงตัวอย่างยาของคน 3 วัยที่ต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามพึงระลึกเสมอถึงอันตรายเมื่อจะใช้ยาชนิดใดก็ตาม เพราะยามีทั้ง “คุณอนันต์และโทษมหันต์” ในตัวของมันเอง

ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/52863.html

ที่มา: ที่นี่ดอทคอมออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 22/05/2556 เวลา 03:30:26 ดูภาพสไลด์โชว์ 6 ยา กับ 3 วัย อันตรายที่คุณต้องรู้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยาเม็ดจำนวนหลายเม็ด คนเราไม่ว่ายากดีมีจนตั้งแต่เด็กจนแก่ เมื่อเกิดมาต่างก็ต้องเคยกินยากันแทบทั้งสิ้น เพราะยา ถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยสำคัญพื้นฐานของชีวิต อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมการซื้อยากินเอง การกินยาพร่ำเพรื่อไม่ระมัดระวัง หรือไม่เกรงกลัวอันตรายของคนไทย ทำให้นำไปสู่ปัญหาการกินยาเกิน ปัญหาการดื้อยา และปัญหาอันตรายต่อสุขภาพจนถึงชีวิต ลองไปดูว่า คุณและคนใกล้ตัวของคุณเสี่ยงอันตรายจากยาบ้างไหมและยาชนิดใดที่คุณต้องระวังให้มาก วัยเด็ก เนื่อง จากอวัยวะต่างๆ ของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระบวนการทำลายพิษยาและการขับถ่ายของเสียไม่สมบูรณ์ ร่างกายของเด็กจึงไวต่อพิษยามาก ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและยาแอสไพริน 1) ยาคลอแรมเฟนิคอล และเตตราซัยคลีน เป็น ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางหลายชนิดเป็นตัวยาที่มีอันตรายร้ายแรงและไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในเด็กเล็ก ยาคลอแรมเฟนิคอล อาจทำให้เกิดพิษต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น ลดการทำงานของไขกระดูกทำให้เกิดโรคโลหิตจาง อาจมีเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำร่วมด้วย และอันตรายถึงชีวิต จึงห้ามใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน ส่วนยาเตตราซัยคลีน อันตรายคือทำให้ฟันเป็นสีน้ำตาลถาวร ฟันหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ และทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกลดลง จึงไม่ควรใช้หรือห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หญิงมีครรภ์ และแม่ระหว่างให้นมลูก 2) ยาแอสไพริน (Aspirin) ที่ไม่กี่ปีมานี้กระทรวงสาธารณสุขสั่งห้ามขายให้เด็ก เพราะมีอันตรายถึงชีวิต ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้มีเลือดออกได้ การแพ้ยาแอสไพริน มักเกิดอาการจากสมองและตับบาดเจ็บ อักเสบเสียหาย หรือชื่อทางการแพทย์ คือ กลุ่มอาการราย (Reye′s syndrome) เป็นกลุ่มอาการมักเกิดในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จากการแพ้ยาแอสไพรินซึ่งกินเพื่อลดไข้ โดยเฉพาะหากเด็กเป็นไข้เลือดออกจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วัยผู้ใหญ่ วันนี้ แม้ว่าจะดูสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่จากการทำงานหนักและการพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้อาจมีการใช้ยาทั้งในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาระบาย ยาลดความอ้วน ซึ่งถือว่าอันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธีและขนาด 1) ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ที่คนไทยนิยมใช้กันมากที่สุด บางคนกินแก้หวัด-ป้องกันหวัด หรือแก้ปวดเมื่อย พาราเซตามอลมีข้อดีที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะ แต่แท้จริงแล้วมีผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุด คือ การเกิดพิษต่อตับ หากใช้เกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานเกินไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดตับอักเสบเฉียบพลัน และเกิดภาวะตับวาย ซึ่งอาการอาจรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือเสียชีวิต หากไปรับการรักษาไม่ทันท่วงที 2) ยาปฏิชีวนะ เป็นหวัด เป็นไข้ เจ็บคอ นอกจากยาพาราเซตามอลแล้ว ยาปฏิชีวนะหรือในชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ” (ทั้งๆ ที่ไม่ถูกต้อง) เป็นอีกหนึ่งยาที่คนไทยชอบกิน จริงๆ แล้วเราควรจะกินยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ และใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งรักษาได้ผลเท่านั้น ไม่ใช่ว่าพอเป็นโรคติดเชื้อแล้วจะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดๆ ก็ได้ เช่น ถ้าเป็นเชื้อไมโคพลาสมา ต้องใช้อีริโทรไมซิน ถ้าเป็นเชื้อไวรัส โดยทั่วไปก็ไม่มียาที่ใช้ได้ผล เป็นต้น อย่าใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ให้ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา วัยเกษียณ ปัจจุบัน คนไทยกำลังเข้าสู่โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุนั้นพบว่ามีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตราย ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป ลองไปดูว่า 2 ยาอันตรายที่ต้องระวังกันสุดๆ คือยาชนิดใด 1) ยาที่มีสารสเตอรอยด์ ผู้สูงอายุมักมีอาการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย ปวดแข้ง ปวดขา จึงพยายามหายาที่ลดอาการเหล่านี้มาใช้ แต่รู้หรือไม่ยาส่วนใหญ่ที่ช่วยลดอาการปวดจำนวนไม่น้อยมีสารสเตอรอยด์ผสม อยู่ เช่น ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยารักษาโรคหอบหืดชนิดพ่นสูดทางปากได้แก่ เบโดรเมธาโซน และบูเดโซไนด์ ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยารักษาโรคไตบางชนิด ยารักษาข้ออักเสบ และยาแก้แพ้ ยาลูกกลอน หากร่างกายได้รับสารนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความผิดปกติ ได้แก่ มีใบหน้าอ้วนกลมเหมือนดวงจันทร์ ลำตัวอ้วนเหมือนถังเบียร์ ผิวหนังมีรอย แตก ภาวะความดันโลหิตตก ภูมิคุ้มกันลดลงติดเชื้อต่างๆ ง่าย เกิดเบาหวาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้อกระจก กระดูกพรุนและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ก่อนใช้ยาชนิดใดจึงควรปรึกษาแพทย์ 2) กลุ่มยาแก้ปวด – ลดไข้ เช่น ไดพัยโรน และหรือยาที่มีไดพัยโรนผสม อาจเกิดผื่นแพ้หรือผิวหนังอักเสบ และทำลายระบบเลือด เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแตก, เฟนิลบิวตาโซน และออกซีเฟนิลบิวตาโซน อาจเกิดไขกระดูกฝ่อ เม็ดเลือดขาวต่ำ กระเพาะอาหารทะลุ อ่อนแรง ผื่นขึ้น ปากเป็นแผล บวม, ยาแก้อักเสบ แก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ ชีพจรเต้นเร็ว บางคนอาจมีชีพจรช้า ใจสั่น ความดันเลือดสูง หายใจลึกแรง, ยาแก้ปวดกับยากล่อมประสาท หรือยาคลายกล้ามเนื้อหดเกร็ง ยาคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง อาจทำให้เกิดความดันในลูกตาสูง (อาจทำให้ตาบอดได้ถ้าเป็นโรคต้อหินอยู่ก่อนแล้ว) ถ่ายปัสสาวะลำบาก เกิดการคั่งของปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต ปากคอแห้ง ตื่นตกใจง่าย อ่อนเพลีย เป็นอันตรายถ้ากินร่วมกับสุรา นอกจากนี้ยังมียาที่ต้องอาจทำให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ไซเมทิดีน (Cimetidine) ดิจ๊อกซิน (Digoxin) ยาขับปัสสาวะพวกไธอะไซด์ (Thiazide diuretics) ยาลดความดันเลือด เช่น โพรพาโนลอล (Propranolol) ยาขยายหลอดลม เช่น ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ยาสงบประสาทและยานอนหลับ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (Indomethacin) อะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) เช่น กานามัยซิน (Kanamycin) เป็นเพียงตัวอย่างยาของคน 3 วัยที่ต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามพึงระลึกเสมอถึงอันตรายเมื่อจะใช้ยาชนิดใดก็ตาม เพราะยามีทั้ง “คุณอนันต์และโทษมหันต์” ในตัวของมันเอง ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/52863.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...