พบเด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ

แสดงความคิดเห็น

กรมสุขภาพจิต พบเด็กไทยป่วยโรคไฮเปอร์กว่า 4 แสนคน เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุพ่อแม่ให้ลูกเล่นเกมในแท็บเล็ต มือถือ ทำเด็กคุมสมาธิไม่ได้ อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนนั้น พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่มีปัญหาการเรียน ผลการเรียนไม่ดี หรือเรียนไม่ทันเพื่อน มักจะพบมีโรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อยที่สุดมี 4 โรค ได้แก่ โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น โรคแอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ และสติปัญญาบกพร่อง โดยเกิดมาจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก โดยเด็กที่เป็นออทิสติกและสติปัญญาบกพร่องจะตรวจพบพัฒนาการที่ผิดปกติได้เร็วตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนเด็กที่มีลักษณะของโรคแอลดีนั้น เด็กกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาเรื่องไอคิว แต่มีความผิดปกติทางการอ่านเขียนคำนวณต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกัน 2 ชั้นปี ควรได้รับการติดตามช่วยเหลือ สำหรับโรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้มากและมีผลกระทบกับคนรอบข้างได้บ่อยที่สุด โดยผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี 2559 พบร้อยละ 5.4 คาดว่ามีเด็กอายุ 6-15 ปี ซึ่งทั่วประเทศมี 7 ล้านกว่าคน เป็นโรคนี้ประมาณ 420,000 คน หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก40-50คนมักพบในเด็กชายมากกว่าหญิง

ผู้ปกครองพาลูกน้อยเล่มไอแพด

น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าวว่า โรคสมาธิสั้นเด็กจะมีอาการแสดงหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น ประชาชนมักนิยมเรียกว่าโรคไฮเปอร์ โดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตกๆ หล่นๆ ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน วู่วาม อาการดังกล่าวเกิดมาจากสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งผู้ปกครองมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อหรือเป็นเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบ โดยจะพบความผิดปกติชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษา ดังนั้น หากผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ จะยิ่งทำให้เด็กเกิดปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมอาจส่งผลถึงอนาคต เช่น ความเสี่ยงติดสารเสพติด ก่ออาชญากรรม เป็นต้น หากเด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ มีอาชีพได้ อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อได้รับการบำบัดรักษาแล้วประมาณ2ใน3อาการจะหายหรือดีขึ้น

“การแก้ไขและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนอย่างเต็มศักยภาพ กรมสุขภาพจิตได้จัดระบบเฝ้าระวังไอคิว อีคิว และค้นหาเด็กชั้นประถมศึกษาที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชแอบแฝง เชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนโรงพยาบาลในพื้นที่และครอบครัว เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลรักษาเร็วที่สุด ขณะนี้ดำเนินการครอบคลุมทุกอำเภอ โดยครูประจำชั้นสามารถตรวจคัดกรองเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ ตามแบบคัดกรองอย่างง่ายที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น ผลการตรวจที่ผ่านมาพบมีเด็กที่มีอาการใกล้เคียงและเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 30 หลังจากได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูแล้ว เด็กร้อยละ 20 เรียนรู้ดีขึ้น มีร้อยละ10 จำเป็นต้องพบจิตแพทย์ตรวจรักษา ซึ่งทำให้เด็กป่วยเข้าถึงบริการดีขึ้น” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงมากขณะนี้พบว่าเด็กเล็กทั่วไปที่ปกติ เป็นโรคไฮเปอร์เทียมกันมากขึ้น กล่าวคือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย สาเหตุสำคัญเกิดมาจากพ่อแม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลี้ยงดูลูกแบบตามใจ หรือปล่อยปละละเลย ให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบเล่นหรือดูเกมในแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน เพราะเห็นเหมือนว่าเด็กจะนิ่ง ไม่ซุกซน ไม่กวนใจพ่อแม่ วงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาทีจะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่านการเขียนการพูดของเด็กแย่ลง เด็กมีอารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น จึงขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองระมัดระวัง อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากแท็บเล็ต โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ยิ่งหากให้หยุดเล่นสิ่งเหล่านี้ได้เร็วเท่าใดจะเป็นผลดีต่อเด็ก อาการจะค่อยๆ หายไปโดยผู้ปกครองควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกันเพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน

สำหรับการดูแลนักเรียนที่เป็นโรคไฮเปอร์ ผู้ปกครองกับโรงเรียนต้องร่วมมือกัน โดยคุณครูควรจัดให้เด็กนั่งเรียนหน้าชั้นหรือใกล้ครู เพื่อที่จะคอยกำกับให้เด็กมีความตั้งใจ มีสมาธิ ไม่ควรให้นั่งเรียนหลังห้องหรือนั่งใกล้ประตู หน้าต่าง เนื่องจากเด็กจะมีโอกาสเสียสมาธิง่าย ควรชื่นชมทันทีเมื่อเด็กตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน ส่วนผู้ปกครองควรจัดบริเวณสงบในบ้านขณะเด็กทำการบ้าน แบ่งงานให้เด็กทำทีละน้อย และควรบอกเด็กล่วงหน้าถึงเรื่องที่ต้องการให้เด็กปฏิบัติ หากเด็กทำผิดควรใช้ท่าทีเอาจริง แต่จัดการอย่างสงบ ลงโทษเด็กตามข้อตกลง เช่น ลดเวลาดูทีวี ที่สำคัญผู้ปกครองต้องฝึกลูกให้มีวินัย อดทน รอคอยเป็น จัดระเบียบให้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้อาการอยู่ไม่นิ่งของเด็กจะลดลงเมื่อโตขึ้น มีประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะมีอาการจนถึงวัยผู้ใหญ่” นพ.สมัยกล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/QOL/viewNews.aspx?NewsID=9600000054175 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 31/05/2560 เวลา 11:15:44 ดูภาพสไลด์โชว์ พบเด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมสุขภาพจิต พบเด็กไทยป่วยโรคไฮเปอร์กว่า 4 แสนคน เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุพ่อแม่ให้ลูกเล่นเกมในแท็บเล็ต มือถือ ทำเด็กคุมสมาธิไม่ได้ อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนนั้น พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่มีปัญหาการเรียน ผลการเรียนไม่ดี หรือเรียนไม่ทันเพื่อน มักจะพบมีโรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อยที่สุดมี 4 โรค ได้แก่ โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น โรคแอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ และสติปัญญาบกพร่อง โดยเกิดมาจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก โดยเด็กที่เป็นออทิสติกและสติปัญญาบกพร่องจะตรวจพบพัฒนาการที่ผิดปกติได้เร็วตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนเด็กที่มีลักษณะของโรคแอลดีนั้น เด็กกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาเรื่องไอคิว แต่มีความผิดปกติทางการอ่านเขียนคำนวณต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกัน 2 ชั้นปี ควรได้รับการติดตามช่วยเหลือ สำหรับโรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้มากและมีผลกระทบกับคนรอบข้างได้บ่อยที่สุด โดยผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี 2559 พบร้อยละ 5.4 คาดว่ามีเด็กอายุ 6-15 ปี ซึ่งทั่วประเทศมี 7 ล้านกว่าคน เป็นโรคนี้ประมาณ 420,000 คน หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก40-50คนมักพบในเด็กชายมากกว่าหญิง ผู้ปกครองพาลูกน้อยเล่มไอแพด น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าวว่า โรคสมาธิสั้นเด็กจะมีอาการแสดงหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น ประชาชนมักนิยมเรียกว่าโรคไฮเปอร์ โดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตกๆ หล่นๆ ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน วู่วาม อาการดังกล่าวเกิดมาจากสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งผู้ปกครองมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อหรือเป็นเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบ โดยจะพบความผิดปกติชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษา ดังนั้น หากผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ จะยิ่งทำให้เด็กเกิดปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมอาจส่งผลถึงอนาคต เช่น ความเสี่ยงติดสารเสพติด ก่ออาชญากรรม เป็นต้น หากเด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ มีอาชีพได้ อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อได้รับการบำบัดรักษาแล้วประมาณ2ใน3อาการจะหายหรือดีขึ้น “การแก้ไขและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนอย่างเต็มศักยภาพ กรมสุขภาพจิตได้จัดระบบเฝ้าระวังไอคิว อีคิว และค้นหาเด็กชั้นประถมศึกษาที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชแอบแฝง เชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนโรงพยาบาลในพื้นที่และครอบครัว เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลรักษาเร็วที่สุด ขณะนี้ดำเนินการครอบคลุมทุกอำเภอ โดยครูประจำชั้นสามารถตรวจคัดกรองเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ ตามแบบคัดกรองอย่างง่ายที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น ผลการตรวจที่ผ่านมาพบมีเด็กที่มีอาการใกล้เคียงและเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 30 หลังจากได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูแล้ว เด็กร้อยละ 20 เรียนรู้ดีขึ้น มีร้อยละ10 จำเป็นต้องพบจิตแพทย์ตรวจรักษา ซึ่งทำให้เด็กป่วยเข้าถึงบริการดีขึ้น” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงมากขณะนี้พบว่าเด็กเล็กทั่วไปที่ปกติ เป็นโรคไฮเปอร์เทียมกันมากขึ้น กล่าวคือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย สาเหตุสำคัญเกิดมาจากพ่อแม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลี้ยงดูลูกแบบตามใจ หรือปล่อยปละละเลย ให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบเล่นหรือดูเกมในแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน เพราะเห็นเหมือนว่าเด็กจะนิ่ง ไม่ซุกซน ไม่กวนใจพ่อแม่ วงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาทีจะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่านการเขียนการพูดของเด็กแย่ลง เด็กมีอารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น จึงขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองระมัดระวัง อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากแท็บเล็ต โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ยิ่งหากให้หยุดเล่นสิ่งเหล่านี้ได้เร็วเท่าใดจะเป็นผลดีต่อเด็ก อาการจะค่อยๆ หายไปโดยผู้ปกครองควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกันเพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน “สำหรับการดูแลนักเรียนที่เป็นโรคไฮเปอร์ ผู้ปกครองกับโรงเรียนต้องร่วมมือกัน โดยคุณครูควรจัดให้เด็กนั่งเรียนหน้าชั้นหรือใกล้ครู เพื่อที่จะคอยกำกับให้เด็กมีความตั้งใจ มีสมาธิ ไม่ควรให้นั่งเรียนหลังห้องหรือนั่งใกล้ประตู หน้าต่าง เนื่องจากเด็กจะมีโอกาสเสียสมาธิง่าย ควรชื่นชมทันทีเมื่อเด็กตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน ส่วนผู้ปกครองควรจัดบริเวณสงบในบ้านขณะเด็กทำการบ้าน แบ่งงานให้เด็กทำทีละน้อย และควรบอกเด็กล่วงหน้าถึงเรื่องที่ต้องการให้เด็กปฏิบัติ หากเด็กทำผิดควรใช้ท่าทีเอาจริง แต่จัดการอย่างสงบ ลงโทษเด็กตามข้อตกลง เช่น ลดเวลาดูทีวี ที่สำคัญผู้ปกครองต้องฝึกลูกให้มีวินัย อดทน รอคอยเป็น จัดระเบียบให้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้อาการอยู่ไม่นิ่งของเด็กจะลดลงเมื่อโตขึ้น มีประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะมีอาการจนถึงวัยผู้ใหญ่” นพ.สมัยกล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/QOL/viewNews.aspx?NewsID=9600000054175

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...