สธ. พร้อมรับมือ 'ซิกา' เตือนมีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ รีบพบแพทย์
คร. ยัน พร้อมรับมือ "ไข้ซิกา" หลังไต้หวันตรวจพบชายไทยมีเชื้อ เผยหญิงตั้งครรภ์อาจจะมีผลต่อทารกในท้อง ถ้ามีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เผย ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษา ต้องรักษาตามอาการ วอนคนไทยเชื่อในระบบสาธารณสุข...
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวันตรวจพบชายไทยที่เดินทางสู่ประเทศไต้หวัน มีเชื้อไวรัสซิกาที่กำลังระบาดในหลายประเทศ แถบลาตินอเมริกาและทะเลแคริบเบียน ว่า ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา พบครั้งแรกในประเทศเมื่อปี 2555 กระจายทุกภาค มีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ไม่มียารักษาเฉพาะ ต้องรักษาไปตามอาการ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2. การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3. การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด และ 4. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท
นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ทุกราย แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
ส่วนผู้เดินทางไปประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียนที่เป็นพื้นที่การระบาดของโรคนั้น ขอให้ระวังและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรปรึกษาแพทย์ ขณะที่ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด หากมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อขอให้รีบไปพบแพทย์ ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
ขณะนี้ กรมควบคุมโรคเตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องโรคไข้ซิกา เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรค และเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย รวมถึงช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/568892 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงตั้งครรภ์ คร. ยัน พร้อมรับมือ "ไข้ซิกา" หลังไต้หวันตรวจพบชายไทยมีเชื้อ เผยหญิงตั้งครรภ์อาจจะมีผลต่อทารกในท้อง ถ้ามีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เผย ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษา ต้องรักษาตามอาการ วอนคนไทยเชื่อในระบบสาธารณสุข... เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวันตรวจพบชายไทยที่เดินทางสู่ประเทศไต้หวัน มีเชื้อไวรัสซิกาที่กำลังระบาดในหลายประเทศ แถบลาตินอเมริกาและทะเลแคริบเบียน ว่า ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา พบครั้งแรกในประเทศเมื่อปี 2555 กระจายทุกภาค มีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ไม่มียารักษาเฉพาะ ต้องรักษาไปตามอาการ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2. การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3. การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด และ 4. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ทุกราย แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้เดินทางไปประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียนที่เป็นพื้นที่การระบาดของโรคนั้น ขอให้ระวังและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรปรึกษาแพทย์ ขณะที่ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด หากมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อขอให้รีบไปพบแพทย์ ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ขณะนี้ กรมควบคุมโรคเตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องโรคไข้ซิกา เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรค และเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย รวมถึงช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/568892
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)