คลินิก"Birth Defects" รักษา...เด็กพิการแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์

24,000–40,000 ราย! คือ ตัวเลขของเด็กไทยที่เกิดมาพร้อมกับความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เรียกว่า Birth Defects จากจำนวนทารกแรกเกิดทั้งหมดประมาณ 800,000 รายต่อปี

พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิดนี้ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทารกมากถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก โดยความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในขวบปีแรกสูงถึงปีละ 6,400 ราย รองลงมา คือ ความผิดปกติทางโครโมโซม ประมาณปีละ 5,200-6,720 ราย ความพิการกล้ามเนื้อ แขนขา 1,600-4,000 รายต่อปี ปากแหว่ง เพดานโหว่ 1,600 รายต่อปี ความพิการทางสมองและไขสันหลังจากภาวะหลอดประสาทเปิด ประมาณ 800 รายต่อปี

ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด “ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติและเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะการที่มีผู้พิการในครอบครัวย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่เป็นพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ทั้งก่อให้เกิดภาระในด้านสุขภาพต่อผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศ ที่ต้องแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายในการดูแลรักษา ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตัวเลขของเด็กกลุ่มนี้มีจำนวนสะสมมากขึ้นทุกปี” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

ทั้งนี้ ทั่วโลกมีรายงาน Birth De-fects หรือความพิการ ผิดปกติแต่กำเนิดประมาณ 8 ล้านรายต่อปี ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเกิดมาจากพันธุกรรม ที่เหลือมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาบางชนิด ขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และจากสาเหตุอื่นๆไม่รวมความพิการที่เกิดขึ้น ประปราย เช่น ภาวะมีน้ำในสมองบวมผิดปกติ หรือที่เรียกว่าเด็กหัวบาตร โรคดักแด้ ที่เกิดจากความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ฯลฯ

ทารกแรกเกิด ด้าน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมการแพทย์มีนโยบายในการดูแลรักษาเด็กพิการแต่กำเนิดตั้งแต่เริ่มต้น จนพัฒนาให้เติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคม อย่างปกติสุข ในหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กโดยเฉพาะ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่ตอบสนองในการรักษาเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดครบทุกส่วน ของอวัยวะแบบครบวงจร ได้ดำเนินโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดนำร่อง 6 โรคที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดมีโอกาสหายขาดจากความพิการหรือแม้จะไม่หายขาด แต่ก็มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ทารกเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ผอ.สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังบอกด้วยว่า ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่สถาบันฯ ก่อตั้งมาครบ 59 ปี สถาบันฯ ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดแบบครบวงจร เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กที่เกิดมาผิดปกติได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวน การรักษาและฟื้นฟูโดยเร็ว มีพัฒนาการที่ดี เติบโตสมวัยและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นภาระให้แก่ครอบครัวและสังคม

“เราได้นำร่องให้การรักษาใน 6 โรคได้แก่ โรคหัวใจ ตา หู แขนขา สมอง และลำไส้ โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การรับรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดทั่วประเทศที่ผู้ปกครองพามารักษา หรือจากการรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิโครงการ 30 บาทได้ และ 2.การให้คำปรึกษาและแนะแนว ทางการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนของเด็กผิดปกติแต่ กำเนิดแก่แพทย์ผู้รักษาทั่วประเทศ” พญ.ศิราภรณ์บอก พร้อมกับเสริมว่า ปัญหาสุขภาพเด็กเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ซึ่งขณะนี้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระ เกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ให้เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็กและพัฒนาทาง การแพทย์ ใช้ประโยชน์ในการให้การรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคเด็กที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆไม่ว่า จะเป็นโรคหัวใจ โรคตา โรคหู โรคสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงรองรับผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการและปัญหาอื่นๆจากโรง พยาบาลต่างๆ ที่ส่งต่อมา

ทารกป่วยสมองโต ประชาชนท่านใดต้องการจะมีส่วนร่วมบริจาค สมทบทุนก่อสร้างอาคารดังกล่าว สามารถร่วมบริจาคได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โทร. 0-2354-8333, 0-2354-8414 ต่อ 2615, 08-8022-9769, 08-8874-4673 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้คืนชีวิตใหม่ให้กับเด็กๆ ที่พิการแต่กำเนิดด้วย.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/366741 (ขนาดไฟล์: 167)

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 31/08/2556 เวลา 03:19:17 ดูภาพสไลด์โชว์ คลินิก"Birth Defects" รักษา...เด็กพิการแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ 24,000–40,000 ราย! คือ ตัวเลขของเด็กไทยที่เกิดมาพร้อมกับความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เรียกว่า Birth Defects จากจำนวนทารกแรกเกิดทั้งหมดประมาณ 800,000 รายต่อปี พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิดนี้ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทารกมากถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก โดยความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในขวบปีแรกสูงถึงปีละ 6,400 ราย รองลงมา คือ ความผิดปกติทางโครโมโซม ประมาณปีละ 5,200-6,720 ราย ความพิการกล้ามเนื้อ แขนขา 1,600-4,000 รายต่อปี ปากแหว่ง เพดานโหว่ 1,600 รายต่อปี ความพิการทางสมองและไขสันหลังจากภาวะหลอดประสาทเปิด ประมาณ 800 รายต่อปี ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด “ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติและเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะการที่มีผู้พิการในครอบครัวย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่เป็นพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ทั้งก่อให้เกิดภาระในด้านสุขภาพต่อผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศ ที่ต้องแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายในการดูแลรักษา ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตัวเลขของเด็กกลุ่มนี้มีจำนวนสะสมมากขึ้นทุกปี” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว ทั้งนี้ ทั่วโลกมีรายงาน Birth De-fects หรือความพิการ ผิดปกติแต่กำเนิดประมาณ 8 ล้านรายต่อปี ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเกิดมาจากพันธุกรรม ที่เหลือมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาบางชนิด ขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และจากสาเหตุอื่นๆไม่รวมความพิการที่เกิดขึ้น ประปราย เช่น ภาวะมีน้ำในสมองบวมผิดปกติ หรือที่เรียกว่าเด็กหัวบาตร โรคดักแด้ ที่เกิดจากความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ฯลฯ ทารกแรกเกิด ด้าน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมการแพทย์มีนโยบายในการดูแลรักษาเด็กพิการแต่กำเนิดตั้งแต่เริ่มต้น จนพัฒนาให้เติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคม อย่างปกติสุข ในหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กโดยเฉพาะ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่ตอบสนองในการรักษาเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดครบทุกส่วน ของอวัยวะแบบครบวงจร ได้ดำเนินโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดนำร่อง 6 โรคที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดมีโอกาสหายขาดจากความพิการหรือแม้จะไม่หายขาด แต่ก็มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ทารกเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ผอ.สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังบอกด้วยว่า ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่สถาบันฯ ก่อตั้งมาครบ 59 ปี สถาบันฯ ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดแบบครบวงจร เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กที่เกิดมาผิดปกติได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวน การรักษาและฟื้นฟูโดยเร็ว มีพัฒนาการที่ดี เติบโตสมวัยและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นภาระให้แก่ครอบครัวและสังคม “เราได้นำร่องให้การรักษาใน 6 โรคได้แก่ โรคหัวใจ ตา หู แขนขา สมอง และลำไส้ โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การรับรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดทั่วประเทศที่ผู้ปกครองพามารักษา หรือจากการรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิโครงการ 30 บาทได้ และ 2.การให้คำปรึกษาและแนะแนว ทางการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนของเด็กผิดปกติแต่ กำเนิดแก่แพทย์ผู้รักษาทั่วประเทศ” พญ.ศิราภรณ์บอก พร้อมกับเสริมว่า ปัญหาสุขภาพเด็กเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ซึ่งขณะนี้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระ เกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ให้เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็กและพัฒนาทาง การแพทย์ ใช้ประโยชน์ในการให้การรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคเด็กที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆไม่ว่า จะเป็นโรคหัวใจ โรคตา โรคหู โรคสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงรองรับผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการและปัญหาอื่นๆจากโรง พยาบาลต่างๆ ที่ส่งต่อมา ทารกป่วยสมองโต ประชาชนท่านใดต้องการจะมีส่วนร่วมบริจาค สมทบทุนก่อสร้างอาคารดังกล่าว สามารถร่วมบริจาคได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โทร. 0-2354-8333, 0-2354-8414 ต่อ 2615, 08-8022-9769, 08-8874-4673 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้คืนชีวิตใหม่ให้กับเด็กๆ ที่พิการแต่กำเนิดด้วย. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/366741 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...