คำแนะนำของแพทย์ ว่าด้วย"เด็ก"กับ"เป้"

แสดงความคิดเห็น

สื่อทางการแพทย์แสดงภาพตัวอย่างเด็กสะพายกระเป๋าเป้แบบผิดวิธี "เป้" สำหรับสะพายหลัง เป็นวัฒนธรรมฝรั่ง แต่ได้รับความนิยมในบ้านเราไม่น้อย อาจเป็นเพราะความสะดวกสบาย หอบหิ้วข้าวของ หนังสือหนังหาได้มาก ในขณะที่สองแขนยังเป็นอิสระ หยิบโน่นทำนี่ได้ตามใจชอบ ในที่สุด เป้สะพายหลังก็เริ่มระบาดเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กเรื่อยไปจนถึงวัยรุ่น ใช้เป้กันเป็นหลักในการขนสารพัดอุปกรณ์การเรียนไปโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน

ในสหรัฐอเมริกา นักเรียนที่นั่นก็ใช้ เป้ เป็นหลักเช่นเดียวกัน แล้วก็มีผลสำรวจเผยแพร่ออกมาในหลายๆ สื่อ ระบุว่า กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 11-15 ปี บอกว่ามีอาการปวดจากการสะพายเป้หนักๆ เป็นกิจวัตรดังกล่าวขึ้นมา ร้อนถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างกระดูกสันหลัง ต้องออกมาเตือนและให้คำแนะนำการใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ นักเรียนและวัยรุ่นบ้านเราตามไปด้วยแน่นอน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ว่า คือ แพทย์หญิง สเตฟานี ฮอเกน จาก โลแกน คอลเลจ ออฟ ไคโรแพรคติค ในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวเธอเองก็มีลูกๆ 2 คนใช้เป้เป็นประจำอยู่เช่นเดียวกัน แพทย์หญิงฮอเกน เตือนว่าการใช้เป้ของเด็กๆ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่กระดูกสันหลังยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ไม่เช่นนั้นก็อาจกลายเป็นปัญหาในระยะยาวที่อาจแก้ไขได้ยากมากกว่าการระมัดระวังเสียตั้งแต่ต้นมือ เนื่องจากการใช้เป้แบบผิดๆ นั้นนอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดสารพัด ตั้งแต่การปวดกล้ามเนื้อ ไหล่ หลัง คอ เรื่อยไปจนถึงอาการปวดหัว แล้ว ยังอาจทำให้โครงสร้างของกระดูกสันหลังที่กำลังเจริญเติบโต เสียหาย ผิดปกติ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้ในอนาคต

อาการที่แสดงออก มีตั้งแต่อาการล้า ปวดกล้ามเนื้อ มือหรือแขนชา ปวดหัว ไปจนถึงการกลายเป็นคนที่เดินผิดปกติ อย่างเช่นเดินหน้าทิ่ม หลังงอ และที่ร้ายแรงคือ ประสาทเสียหาย หรือ การเป็นโรคที่เรียกว่า "รัคแซค พัลซี" ที่เป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตจากก้านสมองส่วนท้าย

ข้อแนะนำอย่างแรกสุด ก็คือ อย่าปล่อยให้เด็กๆ สะพายเป้ด้วยไหล่ข้างเดียว น้ำหนักของเป้ที่กดไหล่อยู่เพียงด้านเดียว ไม่เพียงทำให้สมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติเท่านั้นยังอาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอ หากสะพายเป้ด้วยวิธีนี้เป็นกิจวัตร

ถัดมาก็คืออย่าคิดว่าการสะพายเป้เป็นเรื่องเท่ แล้วปล่อยเป้ยาวๆ จนสุดห้อยต่ำอยู่ด้านหลัง ก้นของเป้ไม่ควรอยู่ต่ำกว่าเอวของคนสะพายเกินกว่า 4 นิ้ว ด้วยเหตุผลเดียวกันคือน้ำหนักของเป้และการทรงตัวที่เปลี่ยนไปเพื่อสร้างสมดุลจะส่งผลต่อกระดูกสันหลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เรื่องสำคัญถัดมาก็คือ เรื่องน้ำหนัก และ ขนาด ควรใช้เป้ที่มีขนาดเหมาะสม สายสะพายแบบกว้าง และต้องไม่ปล่อยให้เด็กๆ ยัดอะไรต่อมิอะไรเข้าไปมากจนเกินไป น้ำหนักที่เหมาะสมนั้น คำนวณได้จากน้ำหนักตัว นั่นคือ ไม่ควรให้แบกเป้ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเป็นประจำ ถ้าเป็นครั้งคราวอย่างเช่นการไปเที่ยวแคมปิ้งกับครอบครัวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีหนังสือ หรือตำราหนักๆ ควรใส่ไว้ด้านในของเป้ให้ชิดหลังของเด็กให้มากที่สุด จะช่วยเฉลี่ยน้ำหนักได้ดีที่สุด

คำแนะนำที่น่าสนใจมากก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองควรสร้างวินัยให้กับเด็กๆ จัดกระเป๋าเอาเฉพาะหนังสือและข้าวของที่ใช้เฉพาะในแต่ละวัน ไม่ใช่ปล่อยให้สะสมไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นการหอบหนังสือทั้งสัปดาห์ไปโรงเรียนเพียงวันเดียว สำคัญที่สุดก็คือ หากเด็กเริ่มบ่นถึงอาการปวดซ้ำซาก ก็ควรนำไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นดีที่สุด

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378354095

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 6/09/2556 เวลา 04:06:34 ดูภาพสไลด์โชว์ คำแนะนำของแพทย์ ว่าด้วย"เด็ก"กับ"เป้"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สื่อทางการแพทย์แสดงภาพตัวอย่างเด็กสะพายกระเป๋าเป้แบบผิดวิธี"เป้" สำหรับสะพายหลัง เป็นวัฒนธรรมฝรั่ง แต่ได้รับความนิยมในบ้านเราไม่น้อย อาจเป็นเพราะความสะดวกสบาย หอบหิ้วข้าวของ หนังสือหนังหาได้มาก ในขณะที่สองแขนยังเป็นอิสระ หยิบโน่นทำนี่ได้ตามใจชอบ ในที่สุด เป้สะพายหลังก็เริ่มระบาดเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กเรื่อยไปจนถึงวัยรุ่น ใช้เป้กันเป็นหลักในการขนสารพัดอุปกรณ์การเรียนไปโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน ในสหรัฐอเมริกา นักเรียนที่นั่นก็ใช้ เป้ เป็นหลักเช่นเดียวกัน แล้วก็มีผลสำรวจเผยแพร่ออกมาในหลายๆ สื่อ ระบุว่า กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 11-15 ปี บอกว่ามีอาการปวดจากการสะพายเป้หนักๆ เป็นกิจวัตรดังกล่าวขึ้นมา ร้อนถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างกระดูกสันหลัง ต้องออกมาเตือนและให้คำแนะนำการใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ นักเรียนและวัยรุ่นบ้านเราตามไปด้วยแน่นอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ว่า คือ แพทย์หญิง สเตฟานี ฮอเกน จาก โลแกน คอลเลจ ออฟ ไคโรแพรคติค ในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวเธอเองก็มีลูกๆ 2 คนใช้เป้เป็นประจำอยู่เช่นเดียวกัน แพทย์หญิงฮอเกน เตือนว่าการใช้เป้ของเด็กๆ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่กระดูกสันหลังยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ไม่เช่นนั้นก็อาจกลายเป็นปัญหาในระยะยาวที่อาจแก้ไขได้ยากมากกว่าการระมัดระวังเสียตั้งแต่ต้นมือ เนื่องจากการใช้เป้แบบผิดๆ นั้นนอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดสารพัด ตั้งแต่การปวดกล้ามเนื้อ ไหล่ หลัง คอ เรื่อยไปจนถึงอาการปวดหัว แล้ว ยังอาจทำให้โครงสร้างของกระดูกสันหลังที่กำลังเจริญเติบโต เสียหาย ผิดปกติ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้ในอนาคต อาการที่แสดงออก มีตั้งแต่อาการล้า ปวดกล้ามเนื้อ มือหรือแขนชา ปวดหัว ไปจนถึงการกลายเป็นคนที่เดินผิดปกติ อย่างเช่นเดินหน้าทิ่ม หลังงอ และที่ร้ายแรงคือ ประสาทเสียหาย หรือ การเป็นโรคที่เรียกว่า "รัคแซค พัลซี" ที่เป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตจากก้านสมองส่วนท้าย ข้อแนะนำอย่างแรกสุด ก็คือ อย่าปล่อยให้เด็กๆ สะพายเป้ด้วยไหล่ข้างเดียว น้ำหนักของเป้ที่กดไหล่อยู่เพียงด้านเดียว ไม่เพียงทำให้สมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติเท่านั้นยังอาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอ หากสะพายเป้ด้วยวิธีนี้เป็นกิจวัตร ถัดมาก็คืออย่าคิดว่าการสะพายเป้เป็นเรื่องเท่ แล้วปล่อยเป้ยาวๆ จนสุดห้อยต่ำอยู่ด้านหลัง ก้นของเป้ไม่ควรอยู่ต่ำกว่าเอวของคนสะพายเกินกว่า 4 นิ้ว ด้วยเหตุผลเดียวกันคือน้ำหนักของเป้และการทรงตัวที่เปลี่ยนไปเพื่อสร้างสมดุลจะส่งผลต่อกระดูกสันหลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เรื่องสำคัญถัดมาก็คือ เรื่องน้ำหนัก และ ขนาด ควรใช้เป้ที่มีขนาดเหมาะสม สายสะพายแบบกว้าง และต้องไม่ปล่อยให้เด็กๆ ยัดอะไรต่อมิอะไรเข้าไปมากจนเกินไป น้ำหนักที่เหมาะสมนั้น คำนวณได้จากน้ำหนักตัว นั่นคือ ไม่ควรให้แบกเป้ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเป็นประจำ ถ้าเป็นครั้งคราวอย่างเช่นการไปเที่ยวแคมปิ้งกับครอบครัวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีหนังสือ หรือตำราหนักๆ ควรใส่ไว้ด้านในของเป้ให้ชิดหลังของเด็กให้มากที่สุด จะช่วยเฉลี่ยน้ำหนักได้ดีที่สุด คำแนะนำที่น่าสนใจมากก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองควรสร้างวินัยให้กับเด็กๆ จัดกระเป๋าเอาเฉพาะหนังสือและข้าวของที่ใช้เฉพาะในแต่ละวัน ไม่ใช่ปล่อยให้สะสมไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นการหอบหนังสือทั้งสัปดาห์ไปโรงเรียนเพียงวันเดียว สำคัญที่สุดก็คือ หากเด็กเริ่มบ่นถึงอาการปวดซ้ำซาก ก็ควรนำไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นดีที่สุด ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378354095 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...