สธ. พร้อมรับมือ 'ซิกา' เตือนมีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ รีบพบแพทย์

แสดงความคิดเห็น

หญิงตั้งครรภ์

คร. ยัน พร้อมรับมือ "ไข้ซิกา" หลังไต้หวันตรวจพบชายไทยมีเชื้อ เผยหญิงตั้งครรภ์อาจจะมีผลต่อทารกในท้อง ถ้ามีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เผย ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษา ต้องรักษาตามอาการ วอนคนไทยเชื่อในระบบสาธารณสุข...

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวันตรวจพบชายไทยที่เดินทางสู่ประเทศไต้หวัน มีเชื้อไวรัสซิกาที่กำลังระบาดในหลายประเทศ แถบลาตินอเมริกาและทะเลแคริบเบียน ว่า ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา พบครั้งแรกในประเทศเมื่อปี 2555 กระจายทุกภาค มีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ไม่มียารักษาเฉพาะ ต้องรักษาไปตามอาการ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2. การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3. การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด และ 4. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท

นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ทุกราย แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น

ส่วนผู้เดินทางไปประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียนที่เป็นพื้นที่การระบาดของโรคนั้น ขอให้ระวังและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรปรึกษาแพทย์ ขณะที่ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด หากมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อขอให้รีบไปพบแพทย์ ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

ขณะนี้ กรมควบคุมโรคเตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องโรคไข้ซิกา เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรค และเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย รวมถึงช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/568892 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 3/02/2559 เวลา 09:38:28 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ. พร้อมรับมือ 'ซิกา' เตือนมีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ รีบพบแพทย์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงตั้งครรภ์ คร. ยัน พร้อมรับมือ "ไข้ซิกา" หลังไต้หวันตรวจพบชายไทยมีเชื้อ เผยหญิงตั้งครรภ์อาจจะมีผลต่อทารกในท้อง ถ้ามีไข้ออกผื่น-ตาแดง-ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เผย ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษา ต้องรักษาตามอาการ วอนคนไทยเชื่อในระบบสาธารณสุข... เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวันตรวจพบชายไทยที่เดินทางสู่ประเทศไต้หวัน มีเชื้อไวรัสซิกาที่กำลังระบาดในหลายประเทศ แถบลาตินอเมริกาและทะเลแคริบเบียน ว่า ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา พบครั้งแรกในประเทศเมื่อปี 2555 กระจายทุกภาค มีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ไม่มียารักษาเฉพาะ ต้องรักษาไปตามอาการ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2. การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3. การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด และ 4. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ทุกราย แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้เดินทางไปประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียนที่เป็นพื้นที่การระบาดของโรคนั้น ขอให้ระวังและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรปรึกษาแพทย์ ขณะที่ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด หากมีอาการไข้ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อขอให้รีบไปพบแพทย์ ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ขณะนี้ กรมควบคุมโรคเตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องโรคไข้ซิกา เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรค และเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย รวมถึงช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/568892

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...