‘พาร์กินสัน’ รู้เร็ว ลดภาวะพิการติดเตียง
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ “พาร์กินสัน” โรคยอดฮิตในกลุ่มวัยดังกล่าวจึงถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยขึ้น เพราะแม้ว่าจะยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดจากโรคได้ แต่การรู้เร็ว รักษาเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะพิการ นอนติดเตียงได้ ซึ่งตอนนี้มีผู้ป่วยรวมตัวกันตั้งเป็นชมรมเพื่อนพาร์กินสัน ออกหนังสือ “ทิวลิปหลากสี” มาให้ความรู้กับเพื่อนร่วมชะตากรรม
ทั้งนี้ ต่อภาวะโรคดังกล่าว รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคพาร์กินสันและความเคลื่อนไหวผิดปกติแห่งรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายความเป็นมาของโรคให้ฟังว่าจนถึงวันนี้ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนถึงสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว แต่เชื่อว่าเป็นปัจจัยร่วมของทางด้านอายุที่มากขึ้น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม
จากข้อมูลที่มีการลงทะเบียนในโครงการผู้ป่วยพาร์กินสันเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยลงทะเบียนประมาณ 70,000 กว่าคน คิดเป็น 1% ของผู้สูงอายุทั้งหมดในประเทศไทย และยังพบผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์ด้านพันธุกรรมเพิ่มขึ้นถึง 5-20% โดยเฉพาะผู้อายุน้อยไม่เกิน 40 ปี พบเป็นพาร์กินสันถึง 6-8%
นอกจากนี้วันนี้เริ่มพบว่าผู้ที่ได้รับสารเคมีจากยาปราบศัตรูพืช และยาฆ่าแมลงเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงเป็นพาร์กินสันมากขึ้น ในประเทศไทยพบมากที่สุดคือ 3 จังหวัดในลุ่มแม่น้ำภาคกลางที่มีการปลูกข้าวและใช้สารเคมีสูงตามสถิติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ จ.ชัยนาทจ.สิงห์บุรี และ จ.อ่าง ทอง
“นี่เป็นเพียงการศึกษาเชิงสถิติ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่า ชาวนาเป็นโรคพาร์กินสันมากจริงหรือไม่ แต่ถ้าจะคอนเฟิร์ม ก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าชาวนาที่เป็นพาร์กินสัน สัมผัสสารเคมีเหล่านี้มากหรือน้อย แต่ตามสถิติมันออกมาอย่างนั้น ชาวไร่ที่แคลิฟอร์เนียที่มีการใช้สารปราบศัตรูพืชเยอะก็เป็นพาร์กินสันเยอะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงค่อนข้างเป็นไปได้ ดังนั้นจึงเห็นเลยว่าตามสถิติมันวิ่งไปตามจังหวัดที่ใช้ยาปราบศัตรูพืช”
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของผู้ป่วยที่พบว่ามีมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนเข้าใจ และรู้จักโรคพาร์กินสันมากขึ้น แพทย์วินิจฉัยได้ดีขึ้น ทำให้มาพบแพทย์เร็วขึ้น เพียง เริ่มใจสั่น เริ่มเดินช้า นอนละเมอ ก็มาพบแพทย์แล้ว ตรงนี้ทำให้การรักษาค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ลดภาวะทุพพลภาพไปได้มาก จากเดิมที่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว หรือเคยหกล้มมาแล้ว จึงเป็นที่น่าเสียดายโอกาสในการรักษา
รศ.นพ.รุ่งโรจน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยารักษาโรคใช้ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธีสามารถยืดภาวะทุพพลภาพ หรือต้องนอนติดเตียงถึง 10-15 ปี หรือ 20 ปี หรือไม่เกิดขึ้นเลยในผู้ป่วยบางคน จากเดิมหลังป่วยเป็นพาร์กินสันแล้วจะเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพเร็วใน 5-6 ปี ซึ่งการยืดระยะทุพพลภาพออกไปถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับยาดี หรือเทคโนโลยีการรักษาในอนาคตที่อาจจะทำให้หายขาดจากโรคได้
ทั้งนี้ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยในประเทศไทยเข้าใจเรื่องการทำกายภาพบำบัดน้อย หวังการรักษาจากยาอย่างเดียว แต่ที่ถูกต้องผู้ป่วยต้องทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ เพื่อให้คงความสมบูรณ์ของร่างกายมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ลูกหลานต้องหมั่นเอาใจใส่ท่าน และพามาทำกายภาพบำบัดอย่าปล่อยให้ทำเอง แม้ท่านจะดึงดันว่าสามารถทำได้ก็ตาม เพราะเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตก ข้อหลุด
เพราะไม่ทราบสาเหตุของโรค การป้องกันตัวจึงทำได้ยาก แต่ข้อมูลอีกด้านหนึ่งบอกชัดเจนว่าผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นโรคนี้กันน้อย ที่สำคัญไม่ได้บอกให้วิตก แต่ขอให้หมั่นสังเกตตัวเองและคนรอบข้างถ้านอนละเมอ จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยได้ ท้องผูกเรื้อรัง ซึมเศร้า อาจจะเป็นอาการเตือนของพาร์กินสันต้องมาพบแพทย์.
อภิวรรณ เสาเวียง : รายงาน“
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/324524 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคพาร์กินสันและความเคลื่อนไหวผิดปกติแห่งรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ “พาร์กินสัน” โรคยอดฮิตในกลุ่มวัยดังกล่าวจึงถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยขึ้น เพราะแม้ว่าจะยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดจากโรคได้ แต่การรู้เร็ว รักษาเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะพิการ นอนติดเตียงได้ ซึ่งตอนนี้มีผู้ป่วยรวมตัวกันตั้งเป็นชมรมเพื่อนพาร์กินสัน ออกหนังสือ “ทิวลิปหลากสี” มาให้ความรู้กับเพื่อนร่วมชะตากรรม ทั้งนี้ ต่อภาวะโรคดังกล่าว รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคพาร์กินสันและความเคลื่อนไหวผิดปกติแห่งรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายความเป็นมาของโรคให้ฟังว่าจนถึงวันนี้ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนถึงสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว แต่เชื่อว่าเป็นปัจจัยร่วมของทางด้านอายุที่มากขึ้น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม จากข้อมูลที่มีการลงทะเบียนในโครงการผู้ป่วยพาร์กินสันเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยลงทะเบียนประมาณ 70,000 กว่าคน คิดเป็น 1% ของผู้สูงอายุทั้งหมดในประเทศไทย และยังพบผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์ด้านพันธุกรรมเพิ่มขึ้นถึง 5-20% โดยเฉพาะผู้อายุน้อยไม่เกิน 40 ปี พบเป็นพาร์กินสันถึง 6-8% นอกจากนี้วันนี้เริ่มพบว่าผู้ที่ได้รับสารเคมีจากยาปราบศัตรูพืช และยาฆ่าแมลงเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงเป็นพาร์กินสันมากขึ้น ในประเทศไทยพบมากที่สุดคือ 3 จังหวัดในลุ่มแม่น้ำภาคกลางที่มีการปลูกข้าวและใช้สารเคมีสูงตามสถิติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ จ.ชัยนาทจ.สิงห์บุรี และ จ.อ่าง ทอง “นี่เป็นเพียงการศึกษาเชิงสถิติ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่า ชาวนาเป็นโรคพาร์กินสันมากจริงหรือไม่ แต่ถ้าจะคอนเฟิร์ม ก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าชาวนาที่เป็นพาร์กินสัน สัมผัสสารเคมีเหล่านี้มากหรือน้อย แต่ตามสถิติมันออกมาอย่างนั้น ชาวไร่ที่แคลิฟอร์เนียที่มีการใช้สารปราบศัตรูพืชเยอะก็เป็นพาร์กินสันเยอะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงค่อนข้างเป็นไปได้ ดังนั้นจึงเห็นเลยว่าตามสถิติมันวิ่งไปตามจังหวัดที่ใช้ยาปราบศัตรูพืช” อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของผู้ป่วยที่พบว่ามีมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนเข้าใจ และรู้จักโรคพาร์กินสันมากขึ้น แพทย์วินิจฉัยได้ดีขึ้น ทำให้มาพบแพทย์เร็วขึ้น เพียง เริ่มใจสั่น เริ่มเดินช้า นอนละเมอ ก็มาพบแพทย์แล้ว ตรงนี้ทำให้การรักษาค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ลดภาวะทุพพลภาพไปได้มาก จากเดิมที่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว หรือเคยหกล้มมาแล้ว จึงเป็นที่น่าเสียดายโอกาสในการรักษา รศ.นพ.รุ่งโรจน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยารักษาโรคใช้ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธีสามารถยืดภาวะทุพพลภาพ หรือต้องนอนติดเตียงถึง 10-15 ปี หรือ 20 ปี หรือไม่เกิดขึ้นเลยในผู้ป่วยบางคน จากเดิมหลังป่วยเป็นพาร์กินสันแล้วจะเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพเร็วใน 5-6 ปี ซึ่งการยืดระยะทุพพลภาพออกไปถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับยาดี หรือเทคโนโลยีการรักษาในอนาคตที่อาจจะทำให้หายขาดจากโรคได้ ทั้งนี้ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยในประเทศไทยเข้าใจเรื่องการทำกายภาพบำบัดน้อย หวังการรักษาจากยาอย่างเดียว แต่ที่ถูกต้องผู้ป่วยต้องทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ เพื่อให้คงความสมบูรณ์ของร่างกายมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ลูกหลานต้องหมั่นเอาใจใส่ท่าน และพามาทำกายภาพบำบัดอย่าปล่อยให้ทำเอง แม้ท่านจะดึงดันว่าสามารถทำได้ก็ตาม เพราะเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตก ข้อหลุด เพราะไม่ทราบสาเหตุของโรค การป้องกันตัวจึงทำได้ยาก แต่ข้อมูลอีกด้านหนึ่งบอกชัดเจนว่าผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นโรคนี้กันน้อย ที่สำคัญไม่ได้บอกให้วิตก แต่ขอให้หมั่นสังเกตตัวเองและคนรอบข้างถ้านอนละเมอ จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยได้ ท้องผูกเรื้อรัง ซึมเศร้า อาจจะเป็นอาการเตือนของพาร์กินสันต้องมาพบแพทย์. อภิวรรณ เสาเวียง : รายงาน“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/324524
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)