ปฏิรูปเขตสุขภาพ ลดปัญหารอคิวรักษา
"การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข นับเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราวางกรอบการทำงานมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะชัดเจนขึ้นในปีนี้..." นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวขึ้นระหว่างการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยยืนยันแน่นอนว่า การปฏิรูป สธ.ผ่านการจัดเขตบริการสุขภาพ 12 พื้นที่แบ่งตามกลุ่มโรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นและต้องเดินหน้า เพราะจะช่วยให้การบริการประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน ในส่วนข้าราชการ สธ.ต้องเดินหน้าเรื่องนี้
ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกตั้งคำถามว่า กรณีปลัด สธ.ร่วมกับประชาคมสาธารณสุขออกแถลงการณ์ปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสวนทางกับรัฐบาล ได้ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความเป็นปึกแผ่นในกระทรวง รวมทั้งความขัดแย้งของผู้บริหาร สธ. สิ่งเหล่านี้จะทำให้การขับเคลื่อนเขตบริการสุขภาพเดินหน้าได้จริงหรือไม่ เพราะหากมองในหลักการการจัดเขตบริการสุขภาพ หากทำได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลที่อยู่เป็น
กลุ่ม เป็นเครือข่ายบริการจะทำงานร่วมกันแบบพี่ช่วยน้องแล้ว ยังส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการดีขึ้น โดยความหวังสูงสุดคือ เมื่อมีการกระจายการบริการ จะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กรักษาโรคทั่วไปได้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่เน้นรักษาโรคซ้ำซ้อน ภาพเดิมๆ ที่เห็นผู้ป่วยนอนรอคิวรักษาตามหน้าห้องตรวจ มีสภาพแออัดจนลามมาประตูหน้าโรงพยาบาลก็จะหมดไป
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ยืนยันจากการลงพื้นที่เขตบริการสุขภาพ ทั้งเขตบริการสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีนครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง เขตบริการสุขภาพที่ 5 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีกาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี และเขตบริการสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และสมุทรปราการ โดยทั้งหมดเริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาได้ไม่ยาก เนื่องจากข้อมูลต่างๆ พบว่า โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าระดับ A มีอัตราการครองเตียงสูงถึงร้อยละ 97.72 ขณะที่มีการผ่าตัดสูงถึงปีละ 8,071 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M หรือโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก มีอัตราครองเตียงเฉลี่ยร้อยละ 30-70 มีการผ่าตัดสูงสุดปีละ 1,668 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ F หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีอัตราครองเตียงร้อยละ 25-30 มีการผ่าตัดสูงสุด 90 ราย บางแห่งก็ไม่มีการผ่าตัด ข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า จะต้องมีการพัฒนาโรงพยาบาลระดับเล็กให้มีศักยภาพในการรับผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดเล็กๆ อย่างผ่าตัดไส้ติ่ง เป็นต้น โดยหากแก้ปัญหาตรงนี้ได้จะทำให้ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้
จาก ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในที่นอนในโรงพยาบาลต่างๆ เห็นชัดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A มีจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวสูงถึงปีละ 28,419 ราย โรงพยาบาลระดับ M มีผู้ป่วยรักษาตัว 2,894 ราย บางแห่งอาจสูงถึง 10,947 ราย โรงพยาบาลระดับ F หรือ รพ.สต. มีผู้ป่วยนอนเฉลี่ยปีละ 2-3 พันราย การแก้ปัญหาการรอคิวผู้ป่วย ยังมีในเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ เพราะหากแพทย์กระจุกตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มาก ก็จะทำให้ผู้ป่วยมารับบริการมาก ซึ่งพบว่าแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A บางแห่งมีแพทย์ถึง 80 คน แพทย์เฉพาะทาง 67 คน พยาบาล 425 คน ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M บางแห่งมีแพทย์ 22 ราย แพทย์เฉพาะทาง 13 ราย พยาบาล 100 ราย โรงพยาบาลระดับ F มีแพทย์ 6 ราย แพทย์เฉพาะทาง 5 ราย พยาบาล 76 ราย
ปัญหาแพทย์ไม่เพียงพอกับพื้นที่ก็สำคัญ ซึ่งบางพื้นที่ใช้วิธีกระจายแพทย์จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้โรงพยาบาลขนาดเล็ก ในเขตบริการสุขภาพของตน เช่น การจัดรถโมบายแพทย์เคลื่อนที่ ตรวจรักษาต้อกระจก ในเขตบริการสุขภาพโดยให้แพทย์โรงพยาบาลใหญ่เป็นแกนหลัก ซึ่งเดิมจะมีค่าตอบแทนให้แพทย์ที่ทำงานในเวลาแต่ต่างสถานที่เพิ่มเติม ซึ่งจะจัดเป็นงบพิเศษ เพื่อให้แต่ละเครือข่ายเขตบริการสุขภาพบริหารจัดการภายใน เพียงแต่ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ เพราะเกิดการยุบสภา ขณะนี้จึงเป็นลักษณะพี่ช่วยน้อง โดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลขนาดใหญ่จ่ายให้แก่แพทย์ที่ทำงานนอกพื้นที่แทน" นพ.วชิระกล่าว
รองปลัด สธ.ย้ำว่า ปี 2557 จะเดินหน้าเต็มที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะลดปัญหาการรอคิวรักษา ซึ่งได้จัดตั้งสำนักงานเขตบริการสุขภาพขึ้นในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหารเขตบริการสุขภาพที่มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นประธาน และท้องถิ่นในพื้นที่นั้นร่วมกันทำงาน แต่ขณะนี้จะเป็นเพียงโรงพยาบาลสังกัด สธ.เท่านั้น ยังไม่รวมโรงพยาบาลสังกัดอื่นๆ นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบบริการ 10 สาขา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย สาขาหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช 5 สาขาหลัก (สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิกส์) สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม คือ กลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัว และฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น สาขาสุขภาพช่องปาก สาขาจักษุวิทยา สาขาโรคไต และสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งหมดได้มอบหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพจะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินการความก้าวหน้าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หวังว่าในอนาคตภาพความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะน้อยลง
( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภายในห้องพักผู้ป่วย "การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข นับเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราวางกรอบการทำงานมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะชัดเจนขึ้นในปีนี้..." นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวขึ้นระหว่างการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยยืนยันแน่นอนว่า การปฏิรูป สธ.ผ่านการจัดเขตบริการสุขภาพ 12 พื้นที่แบ่งตามกลุ่มโรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นและต้องเดินหน้า เพราะจะช่วยให้การบริการประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน ในส่วนข้าราชการ สธ.ต้องเดินหน้าเรื่องนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกตั้งคำถามว่า กรณีปลัด สธ.ร่วมกับประชาคมสาธารณสุขออกแถลงการณ์ปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสวนทางกับรัฐบาล ได้ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความเป็นปึกแผ่นในกระทรวง รวมทั้งความขัดแย้งของผู้บริหาร สธ. สิ่งเหล่านี้จะทำให้การขับเคลื่อนเขตบริการสุขภาพเดินหน้าได้จริงหรือไม่ เพราะหากมองในหลักการการจัดเขตบริการสุขภาพ หากทำได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลที่อยู่เป็น กลุ่ม เป็นเครือข่ายบริการจะทำงานร่วมกันแบบพี่ช่วยน้องแล้ว ยังส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการดีขึ้น โดยความหวังสูงสุดคือ เมื่อมีการกระจายการบริการ จะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กรักษาโรคทั่วไปได้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่เน้นรักษาโรคซ้ำซ้อน ภาพเดิมๆ ที่เห็นผู้ป่วยนอนรอคิวรักษาตามหน้าห้องตรวจ มีสภาพแออัดจนลามมาประตูหน้าโรงพยาบาลก็จะหมดไป นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ยืนยันจากการลงพื้นที่เขตบริการสุขภาพ ทั้งเขตบริการสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีนครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง เขตบริการสุขภาพที่ 5 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีกาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี และเขตบริการสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และสมุทรปราการ โดยทั้งหมดเริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาได้ไม่ยาก เนื่องจากข้อมูลต่างๆ พบว่า โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าระดับ A มีอัตราการครองเตียงสูงถึงร้อยละ 97.72 ขณะที่มีการผ่าตัดสูงถึงปีละ 8,071 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M หรือโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก มีอัตราครองเตียงเฉลี่ยร้อยละ 30-70 มีการผ่าตัดสูงสุดปีละ 1,668 ราย ขณะที่โรงพยาบาลระดับ F หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีอัตราครองเตียงร้อยละ 25-30 มีการผ่าตัดสูงสุด 90 ราย บางแห่งก็ไม่มีการผ่าตัด ข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า จะต้องมีการพัฒนาโรงพยาบาลระดับเล็กให้มีศักยภาพในการรับผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดเล็กๆ อย่างผ่าตัดไส้ติ่ง เป็นต้น โดยหากแก้ปัญหาตรงนี้ได้จะทำให้ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้ จาก ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในที่นอนในโรงพยาบาลต่างๆ เห็นชัดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A มีจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวสูงถึงปีละ 28,419 ราย โรงพยาบาลระดับ M มีผู้ป่วยรักษาตัว 2,894 ราย บางแห่งอาจสูงถึง 10,947 ราย โรงพยาบาลระดับ F หรือ รพ.สต. มีผู้ป่วยนอนเฉลี่ยปีละ 2-3 พันราย การแก้ปัญหาการรอคิวผู้ป่วย ยังมีในเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ เพราะหากแพทย์กระจุกตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มาก ก็จะทำให้ผู้ป่วยมารับบริการมาก ซึ่งพบว่าแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับ A บางแห่งมีแพทย์ถึง 80 คน แพทย์เฉพาะทาง 67 คน พยาบาล 425 คน ขณะที่โรงพยาบาลระดับ M บางแห่งมีแพทย์ 22 ราย แพทย์เฉพาะทาง 13 ราย พยาบาล 100 ราย โรงพยาบาลระดับ F มีแพทย์ 6 ราย แพทย์เฉพาะทาง 5 ราย พยาบาล 76 ราย ปัญหาแพทย์ไม่เพียงพอกับพื้นที่ก็สำคัญ ซึ่งบางพื้นที่ใช้วิธีกระจายแพทย์จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้โรงพยาบาลขนาดเล็ก ในเขตบริการสุขภาพของตน เช่น การจัดรถโมบายแพทย์เคลื่อนที่ ตรวจรักษาต้อกระจก ในเขตบริการสุขภาพโดยให้แพทย์โรงพยาบาลใหญ่เป็นแกนหลัก ซึ่งเดิมจะมีค่าตอบแทนให้แพทย์ที่ทำงานในเวลาแต่ต่างสถานที่เพิ่มเติม ซึ่งจะจัดเป็นงบพิเศษ เพื่อให้แต่ละเครือข่ายเขตบริการสุขภาพบริหารจัดการภายใน เพียงแต่ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ เพราะเกิดการยุบสภา ขณะนี้จึงเป็นลักษณะพี่ช่วยน้อง โดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลขนาดใหญ่จ่ายให้แก่แพทย์ที่ทำงานนอกพื้นที่แทน" นพ.วชิระกล่าว รองปลัด สธ.ย้ำว่า ปี 2557 จะเดินหน้าเต็มที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะลดปัญหาการรอคิวรักษา ซึ่งได้จัดตั้งสำนักงานเขตบริการสุขภาพขึ้นในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหารเขตบริการสุขภาพที่มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นประธาน และท้องถิ่นในพื้นที่นั้นร่วมกันทำงาน แต่ขณะนี้จะเป็นเพียงโรงพยาบาลสังกัด สธ.เท่านั้น ยังไม่รวมโรงพยาบาลสังกัดอื่นๆ นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบบริการ 10 สาขา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย สาขาหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช 5 สาขาหลัก (สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิกส์) สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม คือ กลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัว และฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น สาขาสุขภาพช่องปาก สาขาจักษุวิทยา สาขาโรคไต และสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งหมดได้มอบหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพจะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินการความก้าวหน้าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หวังว่าในอนาคตภาพความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะน้อยลง ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390057272&grpid=03&catid=&subcatid= ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)