อย.เตือนภัย"โซเดียม"ในขนมกรุบกรอบ กินมากเสี่ยง'ไต'พัง

แสดงความคิดเห็น

เมื่อเร็วๆนี้ มีการโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่ามีเด็กสาวคนหนึ่งบริโภคสาหร่ายทอดกรอบในปริมาณมากทุกวันจนม่านตาเสีย เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง ซึ่งต่อมาแพทย์ระบุถึงสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าว ว่าเกิดจากการบริโภคเกลือและโซเดียมกลูตาเมทในปริมาณที่มากเกินไป

นพ.บุญ ชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

นพ.บุญ ชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา บอกว่า เรื่องดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ซึ่งที่ผ่านมา อย.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเตือนผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภค ขนมกรุบกรอบรวมทั้งสาหร่ายทอดกรอบที่นำสาหร่ายอบแห้งธรรมดามาปรุงรสด้วยรส ชาติต่างๆโดยใส่เกลือโซเดียมและโซเดียมกลูตา-เมท หรือผงชูรสเป็นส่วนผสม เพื่อให้มีรสชาติอร่อยชวนรับประทานมากขึ้น

“อย.ได้ทำการสำรวจ พบว่าสาหร่ายทอดกรอบมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือเทียบเท่ากับเกลือ 250 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก เมื่อเทียบกับปริมาณเกลือที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน” นพ.บุญชัยบอกพร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แม้องค์การอนามัยโลกจะกำหนดมาตรฐานการบริโภคเกลืออยู่ที่ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และ น้ำตาลไม่เกิน 10 กิโล-กรัมต่อปี แต่ล่าสุดจากการสำรวจ พบว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือสูงกว่ามาตรฐานโลกถึง 3 เท่าตัว จากข้อจำกัดที่กำหนดให้เพียงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา แต่ปรากฏว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือมากถึง 3 ช้อนชาต่อวัน

เลขาธิการ อย. บอกด้วยว่า อย.มีความห่วงใยในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ทำให้ความดันโลหิตสูง รวมทั้งเกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้น

สาหร่ายอบกรอบ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อย.ได้เฝ้าระวัง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สาหร่ายทั้งชนิดปรุงรสและชนิดที่ใช้ปรุงอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปรอท ตะกั่ว และสารหนูอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-ปัจจุบัน พบว่ามีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากคุณภาพมาตรฐานของอาหาร หากแต่เกิดจากการบริโภคที่อาจจะมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมและโซเดียมกลูตาเมทเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้อง การ

คุณ หมอบุญชัย บอกด้วยว่า ปริมาณเกลือและโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) 6 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือแกงแบบร่วนละเอียดประมาณ 1 ช้อนชา และนอกจากจะได้รับโซเดียมจากเกลือแล้ว ผู้บริโภคยังอาจได้รับโซเดียมจากผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตา-เมท) ที่อยู่ในรูปของเครื่องปรุงรส/ผงปรุงรส อีกทางหนึ่งด้วย

ขนมถุงอบหรอบ นอกจากเตือน ผู้ปกครองให้แนะนำบุตรหลานในการบริโภคขนมกรุบกรอบ ไม่ว่าจะเป็น มันฝรั่ง ข้าวเกรียบ สาหร่ายทอดกรอบ หรือสาหร่ายปรุงรสแล้ว อย.ยังได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยว 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และ เวเฟอร์สอดไส้ แสดงข้อมูลในรูปแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts : GDA) หรือ ฉลากหวาน มัน เค็ม เพื่อนำไปสู่การลด หวาน มัน เค็ม จากการบริโภคอาหาร

ฉลาก ดังกล่าว กำหนดให้แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ใน 1 ซอง/ห่อ เทียบเป็นค่าร้อยละของปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับในแต่ละวันบนด้านหน้าฉลาก

“นอก จากผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวทั้ง 5 ชนิด อย.กำลังเตรียมขยายฉลากจีดีเอให้ครอบคลุมอาหารอื่นๆ ได้แก่ ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ขนมอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย และผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวอื่น ซึ่งก็รวมถึงสาหร่ายทอดกรอบด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย สามารถตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพได้

สุด ท้าย นพ.บุญชัย บอกว่า อยากให้ผู้บริโภคยึดหลัก 3 ฉ. เพื่อสุขภาพดี คือ ฉลาก ฉลาด และ เฉลียว โดยอ่านฉลากทุกครั้ง ฉลาดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์และเฉลียวใจในการดูสภาพของ ผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบไม่ให้มีสิ่งใดปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และว่า อย.จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการอ่านฉลากโภชนาการ โดยเน้นการรณรงค์ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ รวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมสำหรับประชาชน และยังเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี ขึ้น นำไปสู่การลด หวาน มัน เค็ม อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินที่ยั่งยืนต่อไป

หากพบ เห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิดได้ตลอดเวลา.

ขอบคุณ ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/396806 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 19/01/2557 เวลา 03:25:29 ดูภาพสไลด์โชว์ อย.เตือนภัย"โซเดียม"ในขนมกรุบกรอบ กินมากเสี่ยง'ไต'พัง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อเร็วๆนี้ มีการโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่ามีเด็กสาวคนหนึ่งบริโภคสาหร่ายทอดกรอบในปริมาณมากทุกวันจนม่านตาเสีย เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง ซึ่งต่อมาแพทย์ระบุถึงสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าว ว่าเกิดจากการบริโภคเกลือและโซเดียมกลูตาเมทในปริมาณที่มากเกินไป นพ.บุญ ชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นพ.บุญ ชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา บอกว่า เรื่องดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ซึ่งที่ผ่านมา อย.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเตือนผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภค ขนมกรุบกรอบรวมทั้งสาหร่ายทอดกรอบที่นำสาหร่ายอบแห้งธรรมดามาปรุงรสด้วยรส ชาติต่างๆโดยใส่เกลือโซเดียมและโซเดียมกลูตา-เมท หรือผงชูรสเป็นส่วนผสม เพื่อให้มีรสชาติอร่อยชวนรับประทานมากขึ้น “อย.ได้ทำการสำรวจ พบว่าสาหร่ายทอดกรอบมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือเทียบเท่ากับเกลือ 250 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก เมื่อเทียบกับปริมาณเกลือที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน” นพ.บุญชัยบอกพร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แม้องค์การอนามัยโลกจะกำหนดมาตรฐานการบริโภคเกลืออยู่ที่ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และ น้ำตาลไม่เกิน 10 กิโล-กรัมต่อปี แต่ล่าสุดจากการสำรวจ พบว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือสูงกว่ามาตรฐานโลกถึง 3 เท่าตัว จากข้อจำกัดที่กำหนดให้เพียงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา แต่ปรากฏว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือมากถึง 3 ช้อนชาต่อวัน เลขาธิการ อย. บอกด้วยว่า อย.มีความห่วงใยในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ทำให้ความดันโลหิตสูง รวมทั้งเกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้น สาหร่ายอบกรอบ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อย.ได้เฝ้าระวัง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สาหร่ายทั้งชนิดปรุงรสและชนิดที่ใช้ปรุงอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปรอท ตะกั่ว และสารหนูอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-ปัจจุบัน พบว่ามีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากคุณภาพมาตรฐานของอาหาร หากแต่เกิดจากการบริโภคที่อาจจะมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมและโซเดียมกลูตาเมทเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้อง การ คุณ หมอบุญชัย บอกด้วยว่า ปริมาณเกลือและโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) 6 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือแกงแบบร่วนละเอียดประมาณ 1 ช้อนชา และนอกจากจะได้รับโซเดียมจากเกลือแล้ว ผู้บริโภคยังอาจได้รับโซเดียมจากผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตา-เมท) ที่อยู่ในรูปของเครื่องปรุงรส/ผงปรุงรส อีกทางหนึ่งด้วย ขนมถุงอบหรอบ นอกจากเตือน ผู้ปกครองให้แนะนำบุตรหลานในการบริโภคขนมกรุบกรอบ ไม่ว่าจะเป็น มันฝรั่ง ข้าวเกรียบ สาหร่ายทอดกรอบ หรือสาหร่ายปรุงรสแล้ว อย.ยังได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยว 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และ เวเฟอร์สอดไส้ แสดงข้อมูลในรูปแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts : GDA) หรือ ฉลากหวาน มัน เค็ม เพื่อนำไปสู่การลด หวาน มัน เค็ม จากการบริโภคอาหาร ฉลาก ดังกล่าว กำหนดให้แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ใน 1 ซอง/ห่อ เทียบเป็นค่าร้อยละของปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับในแต่ละวันบนด้านหน้าฉลาก “นอก จากผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวทั้ง 5 ชนิด อย.กำลังเตรียมขยายฉลากจีดีเอให้ครอบคลุมอาหารอื่นๆ ได้แก่ ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ขนมอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย และผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวอื่น ซึ่งก็รวมถึงสาหร่ายทอดกรอบด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย สามารถตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพได้ สุด ท้าย นพ.บุญชัย บอกว่า อยากให้ผู้บริโภคยึดหลัก 3 ฉ. เพื่อสุขภาพดี คือ ฉลาก ฉลาด และ เฉลียว โดยอ่านฉลากทุกครั้ง ฉลาดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์และเฉลียวใจในการดูสภาพของ ผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบไม่ให้มีสิ่งใดปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และว่า อย.จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการอ่านฉลากโภชนาการ โดยเน้นการรณรงค์ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ รวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมสำหรับประชาชน และยังเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี ขึ้น นำไปสู่การลด หวาน มัน เค็ม อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินที่ยั่งยืนต่อไป หากพบ เห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิดได้ตลอดเวลา. ขอบคุณ ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/396806 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...