“U Drink I Drive” ต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคม
“ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise” เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ได้รับความนิยมและพูดถึงกันมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ต่างเริ่มให้ความสำคัญกับผลสะท้อนทางสังคม ทั้งด้านภาพลักษณ์และการปรับตัวเข้าหากลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อสภาพสังคมชุมชนที่ตนอยู่ ค่านิยมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวได้วางกรอบสำหรับธุรกิจที่เกิดใหม่ว่า แค่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือแค่สร้างกำไรได้ดียังไม่พอ แต่ต้องมี Story หรือเรื่องราวน่าประทับใจที่ดีต่อส่วนรวมด้วย
แม้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมที่เกิดใหม่ในบ้านเราจะมีผลตอบรับดีจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ธุรกิจเหล่านี้มักประสบปัญหาเรื่องการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการใน ระยะยาว การค้นหาจุดสมดุลระหว่างผลตอบแทนของธุรกิจ ความคุ้มค่าของสินค้าและบริการ และการสร้างผลสะท้อนเชิงบวกคืนสู่สังคม ยังเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในทุกอุตสาหกรรม
สัปดาห์นี้เข็มทิศ SME จึงขอนำเสนอกรณีศึกษาของ “U Drink I Drive (ยูดริงค์ไอไดร์ฟ)” หนึ่งในธุรกิจ SME ไทยสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถสร้างธุรกิจต้นแบบที่ตอบโจทย์ได้ทั้งในด้านผลตอบ แทน และประสบความสำเร็จด้านการสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมด้วย
“U Drink I Drive - ดื่มไม่ต้องขับ กลับบ้านสบาย” U Drink I Drive เป็นธุรกิจบริการส่งพนักงานไปขับรถพาคุณกลับบ้านในยามที่คุณไม่สามารถขับเอง ได้อย่างปลอดภัย เช่นเวลาดื่มของมึนเมา เมื่อลูกค้าติดต่อศูนย์บริการพร้อมแจ้งจุดนัดพบและเวลา ทางศูนย์จะส่งเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการขับรถและมารยาทมาเป็น อย่างดีไปรับและใช้รถของลูกค้าขับไปส่งถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ด้วยแนวคิดไม่เหมือนใครและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ถูกทางทำให้วันนี้บริการ ของ U Drink I Drive เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กล้าทำสิ่งใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและการไตร่ตรองที่รอบคอบ
สิ่งที่น่าสนใจคือจุดเริ่มต้นการสร้างธุรกิจของ คุณสิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ และคุณณิชมน วิริยะลัมภะ สองผู้ก่อตั้งบริษัทและดูแลกำกับการดำเนินงาน และเรื่องราวของ U Drink I Drive ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการผจญภัยอันน่าตื่นเต้น ไม่ได้มีที่มาจากเรื่องราวการเสี่ยงโชคเดิมพันสู้ชีวิตอันใดอย่างที่เห็นกัน ในภาพยนตร์ แต่เป็นผลจากการตกผลึกทางความคิดและข้อมูลจากการวิจัยค้นคว้าอันหนักหน่วง เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ทางธุรกิจก่อนลงสนามจริง ซึ่งการวางตรรกะความคิดด้วยข้อเท็จจริงก่อนเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ ประกอบการรุ่นใหม่จำนวนมากต้องเรียนรู้
คุณสิรโสมย์ เล่าว่าจากผลการศึกษา ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยนั้นสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมากกว่าร้อยละ 40 มีสาเหตุจากการเมาแล้วขับ เมื่อศึกษาลึกลงไปจึงพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ทราบดีถึงอันตรายแต่เลือกไม่ใช้ บริการแท็กซี่เพราะต้องเอารถกลับและรู้สึกไม่ปลอดภัย ทั้งสองจึงมองเห็นช่องว่างที่บริการของ U Drink I Drive จะสามารถเติมเต็มได้ หลังจากนั้นทั้งสองจึงดำเนินการสำรวจตลาดอย่างจริงจังเพื่อวางแผนธุรกิจจนมีความมั่นใจจึงเปิดตัว
ความแตกต่างของธุรกิจเพื่อสังคมกับธุรกิจที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม - คุณ ณิชมน ให้นิยามความแตกต่างระหว่างการเป็นธุรกิจเพื่อสังคมแบบเต็มตัวกับธุรกิจที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR – Corporate Social Responsibility) ว่า U Drink I Drive มี “ความห่วงใยผู้ใช้บริการและปรารถนาจะแก้ไขปัญหาในสังคม” เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นค่านิยมองค์กร (Core Value) เพื่อดำเนินธุรกิจ อันเป็นแนวคิดที่สวนทางกับธุรกิจที่ทำ CSR ทั่วไป ที่เริ่มต้นด้วยการยึดเอาธุรกิจหรือ “Corporate” เป็นตัวตั้ง แล้วค่อยตามด้วย “Social” เพื่อคืนประโยชน์ให้แก่สังคม สร้างจิตสำนึกใหม่ให้กับสังคม
แม้การเดินทางของ U Drink I Drive และทีมงานจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ผู้ก่อตั้งได้วางเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไว้แต่แรก คือ “สร้างจิตสำนึกและมุมมองใหม่เกี่ยวกับความปลอดภัยในสังคม” ทั้งสองคนเชื่อมั่นว่าหากกลุ่มคนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการ เริ่มให้ความไว้วางใจกับบริการนี้ รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และมีการควบคุมพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง ภายในระยะเวลา 5 ปี U Drink I Drive จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและขับเคลื่อนสังคมไปในทาง ที่ดีขึ้น
แนวคิดของ U Drink I Drive อาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ทั้งหมด แต่บ่อยครั้งที่นวัตกรรมก็ไม่ได้มาในรูปแบบของสินค้าแต่เป็น Business Model ที่ไม่เหมือนใคร สิ่งหนึ่งที่ U Drink I Drive ทำได้ดีเช่นเดียวกับนวัตกรรมอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จคือ “สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว” พร้อมกับพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ควบคู่กันไป…โดย: ธีระ กนกกาญจนรัตน์
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/eco/394634
ขอขอบคุณข้อมูลจากบริษัท ยู ดริงค์ ไอ ไดร์ฟ จำกัด
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โครงการ “U Drink I Drive” ต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคม “ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise” เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ได้รับความนิยมและพูดถึงกันมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ต่างเริ่มให้ความสำคัญกับผลสะท้อนทางสังคม ทั้งด้านภาพลักษณ์และการปรับตัวเข้าหากลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อสภาพสังคมชุมชนที่ตนอยู่ ค่านิยมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวได้วางกรอบสำหรับธุรกิจที่เกิดใหม่ว่า แค่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือแค่สร้างกำไรได้ดียังไม่พอ แต่ต้องมี Story หรือเรื่องราวน่าประทับใจที่ดีต่อส่วนรวมด้วย แม้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมที่เกิดใหม่ในบ้านเราจะมีผลตอบรับดีจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ธุรกิจเหล่านี้มักประสบปัญหาเรื่องการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการใน ระยะยาว การค้นหาจุดสมดุลระหว่างผลตอบแทนของธุรกิจ ความคุ้มค่าของสินค้าและบริการ และการสร้างผลสะท้อนเชิงบวกคืนสู่สังคม ยังเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในทุกอุตสาหกรรม สัปดาห์นี้เข็มทิศ SME จึงขอนำเสนอกรณีศึกษาของ “U Drink I Drive (ยูดริงค์ไอไดร์ฟ)” หนึ่งในธุรกิจ SME ไทยสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถสร้างธุรกิจต้นแบบที่ตอบโจทย์ได้ทั้งในด้านผลตอบ แทน และประสบความสำเร็จด้านการสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมด้วย “U Drink I Drive - ดื่มไม่ต้องขับ กลับบ้านสบาย” U Drink I Drive เป็นธุรกิจบริการส่งพนักงานไปขับรถพาคุณกลับบ้านในยามที่คุณไม่สามารถขับเอง ได้อย่างปลอดภัย เช่นเวลาดื่มของมึนเมา เมื่อลูกค้าติดต่อศูนย์บริการพร้อมแจ้งจุดนัดพบและเวลา ทางศูนย์จะส่งเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการขับรถและมารยาทมาเป็น อย่างดีไปรับและใช้รถของลูกค้าขับไปส่งถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ด้วยแนวคิดไม่เหมือนใครและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ถูกทางทำให้วันนี้บริการ ของ U Drink I Drive เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กล้าทำสิ่งใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและการไตร่ตรองที่รอบคอบ เจ้าหน้าที่ในครงการ U Drink I Drive สิ่งที่น่าสนใจคือจุดเริ่มต้นการสร้างธุรกิจของ คุณสิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ และคุณณิชมน วิริยะลัมภะ สองผู้ก่อตั้งบริษัทและดูแลกำกับการดำเนินงาน และเรื่องราวของ U Drink I Drive ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการผจญภัยอันน่าตื่นเต้น ไม่ได้มีที่มาจากเรื่องราวการเสี่ยงโชคเดิมพันสู้ชีวิตอันใดอย่างที่เห็นกัน ในภาพยนตร์ แต่เป็นผลจากการตกผลึกทางความคิดและข้อมูลจากการวิจัยค้นคว้าอันหนักหน่วง เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ทางธุรกิจก่อนลงสนามจริง ซึ่งการวางตรรกะความคิดด้วยข้อเท็จจริงก่อนเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ ประกอบการรุ่นใหม่จำนวนมากต้องเรียนรู้ คุณสิรโสมย์ เล่าว่าจากผลการศึกษา ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยนั้นสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมากกว่าร้อยละ 40 มีสาเหตุจากการเมาแล้วขับ เมื่อศึกษาลึกลงไปจึงพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ทราบดีถึงอันตรายแต่เลือกไม่ใช้ บริการแท็กซี่เพราะต้องเอารถกลับและรู้สึกไม่ปลอดภัย ทั้งสองจึงมองเห็นช่องว่างที่บริการของ U Drink I Drive จะสามารถเติมเต็มได้ หลังจากนั้นทั้งสองจึงดำเนินการสำรวจตลาดอย่างจริงจังเพื่อวางแผนธุรกิจจนมีความมั่นใจจึงเปิดตัว ความแตกต่างของธุรกิจเพื่อสังคมกับธุรกิจที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม - คุณ ณิชมน ให้นิยามความแตกต่างระหว่างการเป็นธุรกิจเพื่อสังคมแบบเต็มตัวกับธุรกิจที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR – Corporate Social Responsibility) ว่า U Drink I Drive มี “ความห่วงใยผู้ใช้บริการและปรารถนาจะแก้ไขปัญหาในสังคม” เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นค่านิยมองค์กร (Core Value) เพื่อดำเนินธุรกิจ อันเป็นแนวคิดที่สวนทางกับธุรกิจที่ทำ CSR ทั่วไป ที่เริ่มต้นด้วยการยึดเอาธุรกิจหรือ “Corporate” เป็นตัวตั้ง แล้วค่อยตามด้วย “Social” เพื่อคืนประโยชน์ให้แก่สังคม สร้างจิตสำนึกใหม่ให้กับสังคม แม้การเดินทางของ U Drink I Drive และทีมงานจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ผู้ก่อตั้งได้วางเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไว้แต่แรก คือ “สร้างจิตสำนึกและมุมมองใหม่เกี่ยวกับความปลอดภัยในสังคม” ทั้งสองคนเชื่อมั่นว่าหากกลุ่มคนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการ เริ่มให้ความไว้วางใจกับบริการนี้ รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และมีการควบคุมพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง ภายในระยะเวลา 5 ปี U Drink I Drive จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและขับเคลื่อนสังคมไปในทาง ที่ดีขึ้น แนวคิดของ U Drink I Drive อาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ทั้งหมด แต่บ่อยครั้งที่นวัตกรรมก็ไม่ได้มาในรูปแบบของสินค้าแต่เป็น Business Model ที่ไม่เหมือนใคร สิ่งหนึ่งที่ U Drink I Drive ทำได้ดีเช่นเดียวกับนวัตกรรมอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จคือ “สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว” พร้อมกับพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ควบคู่กันไป…โดย: ธีระ กนกกาญจนรัตน์ ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/eco/394634 ขอขอบคุณข้อมูลจากบริษัท ยู ดริงค์ ไอ ไดร์ฟ จำกัด (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)