เตือนป่วยลมชักเสี่ยงพิการ-ตาย
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย แถลงข่าววันสมองโลก ว่า โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั่วโลกพบผู้ป่วย 50 ล้านคน และทุกๆปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2.4 ล้านคน ซึ่งในผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นี้ประมาณ 3 ใน 4 จะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา ทั้งนี้โรคลมชักเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนคนทั่วไป โดยในประเทศที่มีรายได้ต่ำจะพบผู้เสียชีวิตมากกว่าคนปกติ 6 เท่า ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูงจะพบการเสียชีวิต 2 เท่า แต่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ด้าน รศ.พญ.นาราพร ประยูรวิวัฒน์ นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ และการรักษาต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้ก็ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้เครื่องจักร และรับผิดชอบต่อสังคมไม่ควรไปขับรถขณะที่ยังไม่ได้รับการรักษา
ขณะที่ ศ.นพ.อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์ นายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรักษาโรคลมชักทำได้ 2 วิธี คือ 1.การรักษาโดยให้ยารักษาอาการชัก และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกเพราะการชักแต่ละครั้ง เซลล์สมองจะสูญเสียหรือตาย และมีผลเสีย เช่น ความจำเสื่อม สมองเสื่อม สมองช้า และเกิดความพิการได้ และ 2.การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาโรคลมชักของไทยนั้น มีความสามารถในการรักษาได้ดีเทียบเท่าสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาก็จะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 10.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/513496 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย แถลงข่าววันสมองโลก ว่า โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั่วโลกพบผู้ป่วย 50 ล้านคน และทุกๆปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2.4 ล้านคน ซึ่งในผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นี้ประมาณ 3 ใน 4 จะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา ทั้งนี้โรคลมชักเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนคนทั่วไป โดยในประเทศที่มีรายได้ต่ำจะพบผู้เสียชีวิตมากกว่าคนปกติ 6 เท่า ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูงจะพบการเสียชีวิต 2 เท่า แต่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้าน รศ.พญ.นาราพร ประยูรวิวัฒน์ นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ และการรักษาต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้ก็ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้เครื่องจักร และรับผิดชอบต่อสังคมไม่ควรไปขับรถขณะที่ยังไม่ได้รับการรักษา ขณะที่ ศ.นพ.อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์ นายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรักษาโรคลมชักทำได้ 2 วิธี คือ 1.การรักษาโดยให้ยารักษาอาการชัก และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกเพราะการชักแต่ละครั้ง เซลล์สมองจะสูญเสียหรือตาย และมีผลเสีย เช่น ความจำเสื่อม สมองเสื่อม สมองช้า และเกิดความพิการได้ และ 2.การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาโรคลมชักของไทยนั้น มีความสามารถในการรักษาได้ดีเทียบเท่าสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาก็จะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 10. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/513496
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)