‘โซเชียลมีเดีย’ต้นตอ‘ภาวะซึมเศร้า’

แสดงความคิดเห็น

ความซึมเศร้าในสังคมโลกออนไลน์

“ภาวะซึมเศร้า” ในทางจิตเวชถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย โดยจากข้อมูลล่าสุดของกรมสุขภาพจิตได้ออกมาเปิดสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันแล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 500,000 คน แต่ก็ยังเชื่อว่ามีอีกมากที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา

นอกจากความกดดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกว่า “ดราม่า” บนโลกโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ต้องการสร้างตัวตน ต้องการการยอมรับ เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดหวังความเครียดจะเป็นจุดเริ่มต้นและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในที่สุด

ทั้งนี้ ตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมาจะพบความนิยมใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแสดงความเป็นตัวตนหลักๆ เริ่มมาตั้งแต่ “ไฮไฟว์” ตลอดจน “เฟซบุ๊ก” “อินสตาแกรม” รวมไปถึงห้องสนทนาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมากไม่ว่าจะเป็นในหมู่คนเดินดินกินข้าวแกง ยันดารานักแสดง และคนที่มีชื่อเสียงของประเทศ และก็มีดราม่าให้เห็นกันทุกวัน

ยิ่งตอนนี้เด็กเจนเนอเรชั่นใหม่เกิดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยี และแอพพลิเคชั่นมากมายที่มีทั้งดีและไม่ดี หากใช้อย่างไม่ระวัง ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง อนาคตจึงน่ากังวลปัญหาสุขภาพจิตมากในหลาย ๆ เรื่องตั้งแต่ความรุนแรง ความเครียด ภาวะซึมเศร้า นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอาชญากรรมที่อาศัยข้อมูลบนโซเชียลมีเดียอีกมากมาย

แม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เองก็เพิ่งจะโดนโซเชียลมีเดียทำร้ายมาไม่นานนี่เอง “ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้วการเล่นโซเชียลมีเดียก็ค่อนข้างจะเป็นอันตราย อาจกระตุ้นให้แสดงออกถึงอารมณ์ได้ เพราะทำให้เกิดการรับสารมากเกินไป และคนกลุ่มนี้จะจิตใจเปราะบาง อ่อนไหว ทำให้อาการของโรคแย่ลง” พญ.มธุรดา กล่าว

สอดคล้องกับ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า อาการของโรคซึมเศร้า แต่ละคนจะแสดงอาการไม่เหมือนกัน แต่หลักๆ คือ มีลักษณะพฤติกรรมที่แปลกไปอย่างชัดเจนจนคนรอบข้างรู้สึกได้ อาการโดยทั่วไป คือ มองตนเองในแง่ลบ หรือมองโลกในแง่ร้าย เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่อยากทำอะไร ซึ่งบางคนอาจแสดงออกในทางตรงกันข้าม คือ ไม่มีสมาธิ ลุกลี้ลุกลน กินจนหยุดไม่ได้ อยากนอนตลอดเวลา ทำเรื่องเสี่ยง ๆ เป็นต้น

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และพญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

“ถ้ามีอาการแปลก ๆ ติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป จนจากแค่รู้สึกเบื่อชีวิต อาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นรู้สึกอยากตาย และต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับเรื่องที่เข้ามากระทบด้วย บางครั้งคนทั่วไปอาจเป็นเรื่องเล็กแต่คนป่วยจะไม่สามารถรับมือได้”

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสหายได้ โดยการรักษาจะมีทั้ง 1.ใช้ยาปรับระดับสารเคมีในสมอง 2. การเข้ารับบำบัด เพื่อปรับวิธีคิดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนตนเอง 3. การรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนรอบข้าง ที่ต้องให้ความรักความเข้าใจได้ เพราะโรคนี้จะส่งผลรุนแรง แต่อาการอาจดูเหมือนคนมีอารมณ์วิตกกังวลธรรมดา

ดังนั้นจึงควรช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความเข้าใจ อดทน และห่วงใย ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง ชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนาน อย่ากล่าวโทษว่าแกล้งทำ หรือขี้เกียจ หรือเป็นการเรียกร้องความสนใจ

ลองหันมาเช็กสุขภาพจิตของตัวเองกันบ้าง ทุกวันนี้คุณจมอยู่กับโซเชียลมีเดียวันละกี่ชั่วโมง คุณหงุดหงิด เสียใจกับคำพูดของเพื่อนในโลกออนไลน์แห่งนี้มากแค่ไหน หากคุณมีภาวะดังที่ว่า ลองถอยออกมา ใช้โซเชียลให้พอดี ไปเที่ยวไปพักผ่อนสัมผัสกับสายลมแสงแดดกันบ้าง.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/334112

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 13/07/2558 เวลา 11:54:24 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘โซเชียลมีเดีย’ต้นตอ‘ภาวะซึมเศร้า’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ความซึมเศร้าในสังคมโลกออนไลน์ “ภาวะซึมเศร้า” ในทางจิตเวชถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย โดยจากข้อมูลล่าสุดของกรมสุขภาพจิตได้ออกมาเปิดสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันแล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 500,000 คน แต่ก็ยังเชื่อว่ามีอีกมากที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา นอกจากความกดดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกว่า “ดราม่า” บนโลกโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ต้องการสร้างตัวตน ต้องการการยอมรับ เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดหวังความเครียดจะเป็นจุดเริ่มต้นและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในที่สุด ทั้งนี้ ตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมาจะพบความนิยมใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแสดงความเป็นตัวตนหลักๆ เริ่มมาตั้งแต่ “ไฮไฟว์” ตลอดจน “เฟซบุ๊ก” “อินสตาแกรม” รวมไปถึงห้องสนทนาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมากไม่ว่าจะเป็นในหมู่คนเดินดินกินข้าวแกง ยันดารานักแสดง และคนที่มีชื่อเสียงของประเทศ และก็มีดราม่าให้เห็นกันทุกวัน ยิ่งตอนนี้เด็กเจนเนอเรชั่นใหม่เกิดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยี และแอพพลิเคชั่นมากมายที่มีทั้งดีและไม่ดี หากใช้อย่างไม่ระวัง ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง อนาคตจึงน่ากังวลปัญหาสุขภาพจิตมากในหลาย ๆ เรื่องตั้งแต่ความรุนแรง ความเครียด ภาวะซึมเศร้า นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอาชญากรรมที่อาศัยข้อมูลบนโซเชียลมีเดียอีกมากมาย แม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เองก็เพิ่งจะโดนโซเชียลมีเดียทำร้ายมาไม่นานนี่เอง “ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้วการเล่นโซเชียลมีเดียก็ค่อนข้างจะเป็นอันตราย อาจกระตุ้นให้แสดงออกถึงอารมณ์ได้ เพราะทำให้เกิดการรับสารมากเกินไป และคนกลุ่มนี้จะจิตใจเปราะบาง อ่อนไหว ทำให้อาการของโรคแย่ลง” พญ.มธุรดา กล่าว สอดคล้องกับ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า อาการของโรคซึมเศร้า แต่ละคนจะแสดงอาการไม่เหมือนกัน แต่หลักๆ คือ มีลักษณะพฤติกรรมที่แปลกไปอย่างชัดเจนจนคนรอบข้างรู้สึกได้ อาการโดยทั่วไป คือ มองตนเองในแง่ลบ หรือมองโลกในแง่ร้าย เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่อยากทำอะไร ซึ่งบางคนอาจแสดงออกในทางตรงกันข้าม คือ ไม่มีสมาธิ ลุกลี้ลุกลน กินจนหยุดไม่ได้ อยากนอนตลอดเวลา ทำเรื่องเสี่ยง ๆ เป็นต้น พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และพญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ “ถ้ามีอาการแปลก ๆ ติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป จนจากแค่รู้สึกเบื่อชีวิต อาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นรู้สึกอยากตาย และต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับเรื่องที่เข้ามากระทบด้วย บางครั้งคนทั่วไปอาจเป็นเรื่องเล็กแต่คนป่วยจะไม่สามารถรับมือได้” อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสหายได้ โดยการรักษาจะมีทั้ง 1.ใช้ยาปรับระดับสารเคมีในสมอง 2. การเข้ารับบำบัด เพื่อปรับวิธีคิดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนตนเอง 3. การรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนรอบข้าง ที่ต้องให้ความรักความเข้าใจได้ เพราะโรคนี้จะส่งผลรุนแรง แต่อาการอาจดูเหมือนคนมีอารมณ์วิตกกังวลธรรมดา ดังนั้นจึงควรช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความเข้าใจ อดทน และห่วงใย ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง ชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนาน อย่ากล่าวโทษว่าแกล้งทำ หรือขี้เกียจ หรือเป็นการเรียกร้องความสนใจ ลองหันมาเช็กสุขภาพจิตของตัวเองกันบ้าง ทุกวันนี้คุณจมอยู่กับโซเชียลมีเดียวันละกี่ชั่วโมง คุณหงุดหงิด เสียใจกับคำพูดของเพื่อนในโลกออนไลน์แห่งนี้มากแค่ไหน หากคุณมีภาวะดังที่ว่า ลองถอยออกมา ใช้โซเชียลให้พอดี ไปเที่ยวไปพักผ่อนสัมผัสกับสายลมแสงแดดกันบ้าง. ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/334112

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...