'วัยรุ่น' ร้อยละ 15-20 เสี่ยงซึมเศร้า หลังปัญหาการเรียนทำเครียด

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศในห้องสอบแข่งขันของนักศึกษา

จิตแพทย์ เผยขณะนี้พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนร้อยละ 15-30 แนะพ่อปรับทัศนคติลูกเรียนเก่ง สอบเอนทรานซ์ติด สร้างความเครียดให้วัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงเตรียมสอบเข้าระดับอุดมศึกษา แนะสนับสนุนลูกเป็นคนดี ล่าสุดพบเด็กเครียดสะสมรุนแรง เสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลและซึมเศร้าจนถึงวัยผู้ใหญ่ แล้วร้อยละ 15-20 แนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี...

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 56 แพทย์หญิงทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชำนาญการ ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงนี้วัยรุ่นใกล้การสอบเอ็นทรานซ์ เพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งความคาดหวังเรื่องการเรียนของพ่อแม่เป็นเหมือนกันทุกบ้าน บางคนคาดหวังโดยไม่เข้าใจศักยภาพของลูกว่า มีมากน้อยแค่ไหน ถ้าความคาดหวัง กับความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกัน ก็จะกลายเป็นความกดดันให้ลูก ขณะเดียวกัน เด็กทุกคนต้องการการยอมรับจากพ่อแม่ และหากพ่อแม่มีความคาดหวังมาก เด็กพยายามทำเต็มที่แล้ว แต่ผลออกมาได้ไม่ดีตามที่คาดหวัง เด็กจะเกิดความทุกข์ใจ เกิดความกดดัน เสี่ยงเรื่องความซึมเศร้า วิตกกังวล

"ศักยภาพของคนมีไม่เท่ากัน คลินิกสุขภาพจิตวัยรุ่นของสถาบันฯ พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนมารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 ถือว่ามากพอสมควร บางคนฉลาดแต่สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้นาน หรือบางคนมีความบกพร่องด้านทักษะการเรียนรู้ แม้จะพยายามแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพบได้ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้จะต้องการการช่วยเหลือทักษะการเรียนเป็นพิเศษรายบุคคล และเป็นปัญหาสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยประถม พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ โดยเฉพาะค่านิยมเด็กเรียนเก่ง เรียนดี และสอบเอ็นทรานซ์ติด ต้องให้กำลังใจเด็ก เข้าใจเด็ก มีข้อบกพร่องด้านใดต้องพยายามช่วยประคับประคองเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะช่วย ลูกลดความเครียดสะสมในเรื่องการเรียนได้ เด็กที่ผิดหวังบ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งขณะนี้พบได้ร้อยละ 15-20 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 3 ต่อปี นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรควิตกกังวล เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นและขาดความศรัทธาตนเอง ขาดศรัทธาในการทำสิ่งดีๆ อีกต่อๆ ไป ซึ่งอันตรายมากเปรียบเสมือน การขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เด็กหลายคนอาจมีความประพฤติเด็กเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม เช่น จากความประพฤติเรียบร้อยกลายเป็นแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน เกเร ต่อต้านสังคม เสี่ยงกระทำผิดกฎหมายได้ เป็นต้น" แพทย์หญิงทิพาวรรณกล่าว

แพทย์ หญิงทิพาวรรณ กล่าวต่อว่า พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นมักเจอกับปัญหาความไม่เข้าใจกัน เพราะวัยห่างกัน อาจจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะปรึกษา ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ ต้องทำอย่างแรกเมื่อลูกเดินเข้ามาปรึกษาปัญหา คือ 1.ต้องให้เวลาลูก 2.ตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด ฟังโดยใช้สติ ไม่ด่วนตัดสิน อย่าใช้อารมณ์ และ3.ให้กำลังใจและหาทางออกให้เด็กเมื่อเด็กต้องการ สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ เป็นอย่างยิ่งคือ อย่าพูดคำว่าเดี๋ยว เพราะวัยรุ่นอาจจะรอไม่ได้ และหากเด็กไม่ได้รับคำปรึกษาจากพ่อแม่แล้ว เด็กก็จะหันไปปรึกษาเพื่อนๆ แทน และได้ทางออกในทางที่ไม่เหมาะสม หรือในกรณีที่เด็กอาจรู้สึกผิดอยู่แล้ว และเมื่อปรึกษาพ่อแม่แล้วโดนตำหนิกระหน่ำซ้ำเติม ครั้งต่อไปเด็กก็จะปิดบัง ไม่บอกหรือหันไปต่อต้านพ่อแม่ ทำตามเพื่อนในทางที่ไม่ดี ดังนั้นพ่อแม่จึงเป็นบุคคลที่สำคัญมากในการเป็นที่ปรึกษา ช่วยลดความเครียดให้เด็ก มีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกทำโทษหรือครอบครัวใช้ความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ ส่งผลกระทบต่อสติปัญญา อารมณ์และสมาธิความจำ

แพทย์หญิงทิพาวรรณ ยังกล่าวอีกว่า ในการสร้างค่านิยมใหม่ของพ่อแม่ ควรสนับสนุนเรื่องการเป็นคนดี มีพฤติกรรมดี มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ อดทน มีน้ำใจ มากกว่าจะดูที่ผลการเรียน เพราะคะแนนเป็นเพียงตัวเลข ควรดูที่ความพยายามของลูก และช่วยพัฒนาจุดอ่อนทางการเรียนรู้ เช่น บางคนอ่านไม่เก่งจับใจความไม่ได้ ก็ควรช่วยชี้แนะให้ทำสรุป ทบทวน ให้กำลังใจและชมเมื่อลูกได้แสดงความพยายาม บางคนสมาธิความจำไม่ดี วอกแวกได้ง่าย อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและดูแลช่วยเหลือเฉพาะด้าน

"การสอบเอ็นทรานซ์เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งในชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต และคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคือ "คนดี" มีความรับผิดชอบ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ใช่เฉพาะ "คนเก่ง" เท่านั้น ดังนั้น เด็กที่กำลังอยู่ในวัยศึกษา การเรียนถือว่าเป็นหน้าที่หลัก ต้องอดทนและพยายาม พ่อแม่ควรให้กำลังใจลูกตั้งแต่เด็ก อย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ดีเปรียบเสมือนเป็นวัคซีนทางใจ วัคซีนสำหรับชีวิตแก่ลูก

ทั้งนี้ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจแก่ลูก ประกอบด้วย 1.ตระหนักรู้ในตัวตนของลูกว่ามีความสามารถอะไร เก่งอะไร อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็ง โดยให้พัฒนาต่อจุดแข็ง และพยายามปรับปรุงจุดอ่อนของลูก 2.สังเกตการปรับตัวของลูกที่โรงเรียน 3.ติดตามเอาใจใส่เรื่องความรับผิดชอบและผลการเรียนอย่างใกล้ชิด และ 4.คอยประคับประคองช่วยเหลือให้กำลังใจ ยืนข้างๆ ลูก ถ้าเด็กมีความพยายามและตั้งใจที่ดีก็จะเก่งได้ในวันข้างหน้า และสามารถเป็นที่พึ่งเลี้ยงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่น" แพทย์หญิงทิพาวรรณ กล่าว.

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/389524

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 17/12/2556 เวลา 04:52:27 ดูภาพสไลด์โชว์ 'วัยรุ่น' ร้อยละ 15-20 เสี่ยงซึมเศร้า หลังปัญหาการเรียนทำเครียด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศในห้องสอบแข่งขันของนักศึกษา จิตแพทย์ เผยขณะนี้พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนร้อยละ 15-30 แนะพ่อปรับทัศนคติลูกเรียนเก่ง สอบเอนทรานซ์ติด สร้างความเครียดให้วัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงเตรียมสอบเข้าระดับอุดมศึกษา แนะสนับสนุนลูกเป็นคนดี ล่าสุดพบเด็กเครียดสะสมรุนแรง เสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลและซึมเศร้าจนถึงวัยผู้ใหญ่ แล้วร้อยละ 15-20 แนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี... เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 56 แพทย์หญิงทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชำนาญการ ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงนี้วัยรุ่นใกล้การสอบเอ็นทรานซ์ เพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งความคาดหวังเรื่องการเรียนของพ่อแม่เป็นเหมือนกันทุกบ้าน บางคนคาดหวังโดยไม่เข้าใจศักยภาพของลูกว่า มีมากน้อยแค่ไหน ถ้าความคาดหวัง กับความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกัน ก็จะกลายเป็นความกดดันให้ลูก ขณะเดียวกัน เด็กทุกคนต้องการการยอมรับจากพ่อแม่ และหากพ่อแม่มีความคาดหวังมาก เด็กพยายามทำเต็มที่แล้ว แต่ผลออกมาได้ไม่ดีตามที่คาดหวัง เด็กจะเกิดความทุกข์ใจ เกิดความกดดัน เสี่ยงเรื่องความซึมเศร้า วิตกกังวล "ศักยภาพของคนมีไม่เท่ากัน คลินิกสุขภาพจิตวัยรุ่นของสถาบันฯ พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนมารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 ถือว่ามากพอสมควร บางคนฉลาดแต่สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้นาน หรือบางคนมีความบกพร่องด้านทักษะการเรียนรู้ แม้จะพยายามแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพบได้ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้จะต้องการการช่วยเหลือทักษะการเรียนเป็นพิเศษรายบุคคล และเป็นปัญหาสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยประถม พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ โดยเฉพาะค่านิยมเด็กเรียนเก่ง เรียนดี และสอบเอ็นทรานซ์ติด ต้องให้กำลังใจเด็ก เข้าใจเด็ก มีข้อบกพร่องด้านใดต้องพยายามช่วยประคับประคองเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะช่วย ลูกลดความเครียดสะสมในเรื่องการเรียนได้ เด็กที่ผิดหวังบ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งขณะนี้พบได้ร้อยละ 15-20 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 3 ต่อปี นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรควิตกกังวล เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นและขาดความศรัทธาตนเอง ขาดศรัทธาในการทำสิ่งดีๆ อีกต่อๆ ไป ซึ่งอันตรายมากเปรียบเสมือน การขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เด็กหลายคนอาจมีความประพฤติเด็กเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม เช่น จากความประพฤติเรียบร้อยกลายเป็นแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน เกเร ต่อต้านสังคม เสี่ยงกระทำผิดกฎหมายได้ เป็นต้น" แพทย์หญิงทิพาวรรณกล่าว แพทย์ หญิงทิพาวรรณ กล่าวต่อว่า พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นมักเจอกับปัญหาความไม่เข้าใจกัน เพราะวัยห่างกัน อาจจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะปรึกษา ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ ต้องทำอย่างแรกเมื่อลูกเดินเข้ามาปรึกษาปัญหา คือ 1.ต้องให้เวลาลูก 2.ตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด ฟังโดยใช้สติ ไม่ด่วนตัดสิน อย่าใช้อารมณ์ และ3.ให้กำลังใจและหาทางออกให้เด็กเมื่อเด็กต้องการ สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ เป็นอย่างยิ่งคือ อย่าพูดคำว่าเดี๋ยว เพราะวัยรุ่นอาจจะรอไม่ได้ และหากเด็กไม่ได้รับคำปรึกษาจากพ่อแม่แล้ว เด็กก็จะหันไปปรึกษาเพื่อนๆ แทน และได้ทางออกในทางที่ไม่เหมาะสม หรือในกรณีที่เด็กอาจรู้สึกผิดอยู่แล้ว และเมื่อปรึกษาพ่อแม่แล้วโดนตำหนิกระหน่ำซ้ำเติม ครั้งต่อไปเด็กก็จะปิดบัง ไม่บอกหรือหันไปต่อต้านพ่อแม่ ทำตามเพื่อนในทางที่ไม่ดี ดังนั้นพ่อแม่จึงเป็นบุคคลที่สำคัญมากในการเป็นที่ปรึกษา ช่วยลดความเครียดให้เด็ก มีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกทำโทษหรือครอบครัวใช้ความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ ส่งผลกระทบต่อสติปัญญา อารมณ์และสมาธิความจำ แพทย์หญิงทิพาวรรณ ยังกล่าวอีกว่า ในการสร้างค่านิยมใหม่ของพ่อแม่ ควรสนับสนุนเรื่องการเป็นคนดี มีพฤติกรรมดี มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ อดทน มีน้ำใจ มากกว่าจะดูที่ผลการเรียน เพราะคะแนนเป็นเพียงตัวเลข ควรดูที่ความพยายามของลูก และช่วยพัฒนาจุดอ่อนทางการเรียนรู้ เช่น บางคนอ่านไม่เก่งจับใจความไม่ได้ ก็ควรช่วยชี้แนะให้ทำสรุป ทบทวน ให้กำลังใจและชมเมื่อลูกได้แสดงความพยายาม บางคนสมาธิความจำไม่ดี วอกแวกได้ง่าย อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและดูแลช่วยเหลือเฉพาะด้าน "การสอบเอ็นทรานซ์เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งในชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต และคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคือ "คนดี" มีความรับผิดชอบ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ใช่เฉพาะ "คนเก่ง" เท่านั้น ดังนั้น เด็กที่กำลังอยู่ในวัยศึกษา การเรียนถือว่าเป็นหน้าที่หลัก ต้องอดทนและพยายาม พ่อแม่ควรให้กำลังใจลูกตั้งแต่เด็ก อย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ดีเปรียบเสมือนเป็นวัคซีนทางใจ วัคซีนสำหรับชีวิตแก่ลูก ทั้งนี้ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจแก่ลูก ประกอบด้วย 1.ตระหนักรู้ในตัวตนของลูกว่ามีความสามารถอะไร เก่งอะไร อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็ง โดยให้พัฒนาต่อจุดแข็ง และพยายามปรับปรุงจุดอ่อนของลูก 2.สังเกตการปรับตัวของลูกที่โรงเรียน 3.ติดตามเอาใจใส่เรื่องความรับผิดชอบและผลการเรียนอย่างใกล้ชิด และ 4.คอยประคับประคองช่วยเหลือให้กำลังใจ ยืนข้างๆ ลูก ถ้าเด็กมีความพยายามและตั้งใจที่ดีก็จะเก่งได้ในวันข้างหน้า และสามารถเป็นที่พึ่งเลี้ยงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่น" แพทย์หญิงทิพาวรรณ กล่าว. ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/389524 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...