กรมสุขภาพจิต แนะ..เมื่อการเมืองป่วน คนไทยจะดูแลจิตใจอย่างไร? ไม่ให้เครียด!!

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มประชาชนประท้วงทางการเมือง

ความวุ่นวายและความตึงเครียดทางการเมืองในขณะนี้ ที่สืบเนื่องมาจากความตื่นตัวของประชาชนคนไทยจากภาคส่วนต่างๆออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หากสถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้คนไทยเกิดภาวะความเครียดทางการเมืองที่นำมาสู่ “โรคทางจิตเวช” ได้

น.พ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยที่มีมากขึ้นในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงขึ้น เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศแล้ว ยังกระทบต่อสภาพจิตใจของคนไทยและอาจทำให้เกิด “โรคเครียดทางการเมือง” (Political Stress Syndrome : PSS) ขึ้นได้

โดยผู้ที่เป็นโรคเครียดทางการเมืองจะมีอาการแสดงทั้งทางกาย ทางใจ และทางพฤติกรรม ซึ่งอาการทางกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอหรือตามแขน ขา นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย อาการทางใจ ได้แก่ วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น คือไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือคนในครอบครัว มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อการเอาชนะแม้กับคนที่เคยดีกันมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพ ซึ่งความเครียดลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสาร และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต

น.พ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีความเครียดรุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอารมณ์รุนแรงนั้นลง ด้วยการปฏิบัติ ดังนี้ 1. บริหารเวลาให้เหมาะสม โดยแบ่งเวลาในการติดตามข่าวสารบ้านเมือง การดูแลครอบครัว การทำงานและการพักผ่อน และไม่ควรติดตามข่าวสารต่อเนื่องนานเกิน 2 ชม. หรือควรติดตามจากคนใกล้ชิดแทน 2. ลดการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ เช่น สื่อที่ให้ข้อมูลด้านเดียวหรือสื่อที่มีภาพและเสียงที่เร้าให้เกิดอารมณ์ รุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้มีความเครียดสูง ควรรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่สะท้อนความคิดที่หลากหลาย และมุ่งเน้นการหาทางออก 3. ควรมีวิธีการลดความเครียด เช่น การออกกำลังกาย สวดมนต์ ทำสมาธิ หายใจคลายเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

ชายวัยกลางคนแสดงอาการกลุ่มใจ นอกจากนี้อธิบดีกรมสุขภาพจิตยัง ได้แนะวิธีปฏิบัติสำหรับการช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนในชุมชนหรือ สถานที่ทำงานที่มีความเครียดทางการเมืองสูงโดยใช้หลักการดังนี้ 1. รับฟัง การรับฟังด้วยความเห็นใจว่าเขามีความเครียด จะช่วยให้คนเราสงบลงได้เพราะการโต้แย้งด้วยเหตุผลไม่สามารถลดอารมณ์รุนแรง ทางการเมืองได้ เนื่องจากแต่ละคนที่มีความเครียดจะยึดถือในความเชื่อของตนเอง การโต้แย้งจึงไม่ช่วยสร้างความสงบ ขณะเดียวกันการหลีกเลี่ยงไม่พูดคุยกัน ก็ไม่ได้ช่วยลดอารมณ์ลง 2.ชื่นชม ควรแสดงความชื่นชมในประเด็นที่ดีของเขาก็จะทำให้เกิดการยอมรับกันและนำไปสู่ ความไว้วางใจและช่วยให้เขาอารมณ์เย็นลงได้ เพราะความเครียดทางการเมืองที่รุนแรง ล้วนเริ่มต้นจากความรักในบ้านเมือง ความหวังดีต่อสังคม เพียงแต่ความขัดแย้งมาจากการให้ความสำคัญในประเด็นที่ต่างกัน 3. ห่วงใย คือการแสดงความเป็นห่วงใยต่อสุขภาพและภาพพจน์ของผู้มีความเครียดทางการเมือง รุนแรง เพื่อช่วยให้เขากลับมามองตนเอง รวมทั้งเป็นห่วงตนเองและผลที่จะเกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดด้วย และ 4. ให้คำแนะนำ ซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ทีมีความเครียดทางการเมืองรุนแรง แต่ควรนำมาใช้ลำดับท้ายสุด หลังจาก 3 วิธีข้างต้น

ทั้งนี้ ภาคส่วนต่างๆในระดับสังคมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมใน การลดอารมณ์ทางการเมืองที่รุนแรงลงด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้ 1. สื่อและผู้เกี่ยวข้องจะต้องลดการนำเสนอข่าวที่สร้างความโกรธ ความเครียดของคู่ขัดแย้ง และเพิ่มการเสนอข่าวของฝ่ายต่างๆที่ช่วยสร้างความเข้าใจคนแต่ละฝ่ายที่ขัด แย้งกันและเสนอข่าวที่มุ่งเน้นการหาทางออก 2. เครือข่ายสังคมใน Internet ผู้ที่มีการสื่อสารในเครือข่าย Internet ควรเพิ่มความระมัดระวังในการออกความคิดเห็นไม่ส่งต่อความคิดเห็นที่รุนแรง ออกไป รวมทั้งช่วยกันตักเตือนการแสดงออกที่รุนแรง เพราะการแสดงออกในสื่อใหม่เหล่านี้ไม่ต้องแสดงตนจึงขาดการควบคุมตนเองและจะ ส่งผลกระทบให้เกิดบรรยากาศของสังคมที่รุนแรงมากขึ้น 3. ทุกคนในสังคมไทยสามารถช่วยให้วิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ ด้วยการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่สร้างความโกรธ ความเกลียดชัง ลดการเผชิญหน้าและร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ

น.พ.เจษฎา กล่าวต่ออีกว่า ท่ามกลางความวุ่นวายและความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ที่ สำคัญคือประชาชนต้องรู้เท่าทันและมั่นสังเกตอารมณ์ตนเอง โดยสามารถใช้แบบประเมินความเครียดทางการเมืองด้วยตนเองดังนี้ หากได้คะแนนรวมตั้งแต่ 9 ขึ้นไป ถือว่าท่านมีความเครียดรุนแรง ควรได้รับคำแนะนำจากบุคลากรด้านสุขภาพจิต หรือ ปรึกษาสายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมสุขภาพจิตหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า คำแนะนำและข้อปฏิบัติข้างต้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้คนในสังคมไทย หันกลับมาดูแลใจตนเองและคนใกล้ชิด เพื่อบรรเทาวิกฤตและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยต่อไป

ขอบคุณ.. http://www.ryt9.com/s/tpd/1776100

(ไทยโพสต์ ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ย.56)

ที่มา: ไทยโพสต์ ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 13/11/2556 เวลา 03:52:09 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมสุขภาพจิต แนะ..เมื่อการเมืองป่วน คนไทยจะดูแลจิตใจอย่างไร? ไม่ให้เครียด!!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มประชาชนประท้วงทางการเมือง ความวุ่นวายและความตึงเครียดทางการเมืองในขณะนี้ ที่สืบเนื่องมาจากความตื่นตัวของประชาชนคนไทยจากภาคส่วนต่างๆออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หากสถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้คนไทยเกิดภาวะความเครียดทางการเมืองที่นำมาสู่ “โรคทางจิตเวช” ได้ น.พ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยที่มีมากขึ้นในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงขึ้น เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศแล้ว ยังกระทบต่อสภาพจิตใจของคนไทยและอาจทำให้เกิด “โรคเครียดทางการเมือง” (Political Stress Syndrome : PSS) ขึ้นได้ โดยผู้ที่เป็นโรคเครียดทางการเมืองจะมีอาการแสดงทั้งทางกาย ทางใจ และทางพฤติกรรม ซึ่งอาการทางกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอหรือตามแขน ขา นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย อาการทางใจ ได้แก่ วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น คือไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือคนในครอบครัว มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อการเอาชนะแม้กับคนที่เคยดีกันมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพ ซึ่งความเครียดลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสาร และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต น.พ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีความเครียดรุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอารมณ์รุนแรงนั้นลง ด้วยการปฏิบัติ ดังนี้ 1. บริหารเวลาให้เหมาะสม โดยแบ่งเวลาในการติดตามข่าวสารบ้านเมือง การดูแลครอบครัว การทำงานและการพักผ่อน และไม่ควรติดตามข่าวสารต่อเนื่องนานเกิน 2 ชม. หรือควรติดตามจากคนใกล้ชิดแทน 2. ลดการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ เช่น สื่อที่ให้ข้อมูลด้านเดียวหรือสื่อที่มีภาพและเสียงที่เร้าให้เกิดอารมณ์ รุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้มีความเครียดสูง ควรรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่สะท้อนความคิดที่หลากหลาย และมุ่งเน้นการหาทางออก 3. ควรมีวิธีการลดความเครียด เช่น การออกกำลังกาย สวดมนต์ ทำสมาธิ หายใจคลายเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น ชายวัยกลางคนแสดงอาการกลุ่มใจนอกจากนี้อธิบดีกรมสุขภาพจิตยัง ได้แนะวิธีปฏิบัติสำหรับการช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนในชุมชนหรือ สถานที่ทำงานที่มีความเครียดทางการเมืองสูงโดยใช้หลักการดังนี้ 1. รับฟัง การรับฟังด้วยความเห็นใจว่าเขามีความเครียด จะช่วยให้คนเราสงบลงได้เพราะการโต้แย้งด้วยเหตุผลไม่สามารถลดอารมณ์รุนแรง ทางการเมืองได้ เนื่องจากแต่ละคนที่มีความเครียดจะยึดถือในความเชื่อของตนเอง การโต้แย้งจึงไม่ช่วยสร้างความสงบ ขณะเดียวกันการหลีกเลี่ยงไม่พูดคุยกัน ก็ไม่ได้ช่วยลดอารมณ์ลง 2.ชื่นชม ควรแสดงความชื่นชมในประเด็นที่ดีของเขาก็จะทำให้เกิดการยอมรับกันและนำไปสู่ ความไว้วางใจและช่วยให้เขาอารมณ์เย็นลงได้ เพราะความเครียดทางการเมืองที่รุนแรง ล้วนเริ่มต้นจากความรักในบ้านเมือง ความหวังดีต่อสังคม เพียงแต่ความขัดแย้งมาจากการให้ความสำคัญในประเด็นที่ต่างกัน 3. ห่วงใย คือการแสดงความเป็นห่วงใยต่อสุขภาพและภาพพจน์ของผู้มีความเครียดทางการเมือง รุนแรง เพื่อช่วยให้เขากลับมามองตนเอง รวมทั้งเป็นห่วงตนเองและผลที่จะเกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดด้วย และ 4. ให้คำแนะนำ ซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ทีมีความเครียดทางการเมืองรุนแรง แต่ควรนำมาใช้ลำดับท้ายสุด หลังจาก 3 วิธีข้างต้น ทั้งนี้ ภาคส่วนต่างๆในระดับสังคมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมใน การลดอารมณ์ทางการเมืองที่รุนแรงลงด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้ 1. สื่อและผู้เกี่ยวข้องจะต้องลดการนำเสนอข่าวที่สร้างความโกรธ ความเครียดของคู่ขัดแย้ง และเพิ่มการเสนอข่าวของฝ่ายต่างๆที่ช่วยสร้างความเข้าใจคนแต่ละฝ่ายที่ขัด แย้งกันและเสนอข่าวที่มุ่งเน้นการหาทางออก 2. เครือข่ายสังคมใน Internet ผู้ที่มีการสื่อสารในเครือข่าย Internet ควรเพิ่มความระมัดระวังในการออกความคิดเห็นไม่ส่งต่อความคิดเห็นที่รุนแรง ออกไป รวมทั้งช่วยกันตักเตือนการแสดงออกที่รุนแรง เพราะการแสดงออกในสื่อใหม่เหล่านี้ไม่ต้องแสดงตนจึงขาดการควบคุมตนเองและจะ ส่งผลกระทบให้เกิดบรรยากาศของสังคมที่รุนแรงมากขึ้น 3. ทุกคนในสังคมไทยสามารถช่วยให้วิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ ด้วยการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่สร้างความโกรธ ความเกลียดชัง ลดการเผชิญหน้าและร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ น.พ.เจษฎา กล่าวต่ออีกว่า ท่ามกลางความวุ่นวายและความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ที่ สำคัญคือประชาชนต้องรู้เท่าทันและมั่นสังเกตอารมณ์ตนเอง โดยสามารถใช้แบบประเมินความเครียดทางการเมืองด้วยตนเองดังนี้ หากได้คะแนนรวมตั้งแต่ 9 ขึ้นไป ถือว่าท่านมีความเครียดรุนแรง ควรได้รับคำแนะนำจากบุคลากรด้านสุขภาพจิต หรือ ปรึกษาสายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง กรมสุขภาพจิตหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า คำแนะนำและข้อปฏิบัติข้างต้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้คนในสังคมไทย หันกลับมาดูแลใจตนเองและคนใกล้ชิด เพื่อบรรเทาวิกฤตและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยต่อไป ขอบคุณ.. http://www.ryt9.com/s/tpd/1776100 (ไทยโพสต์ ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ย.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...