การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ

การติดสารเสพติดถือเป็นโรคร้ายแรงอย่างหนึ่ง มีปัจจัยหรือสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่นอนเป็นโรคร้ายแรง รักษาให้หายขาดได้ยาก มักจะติดซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลกระทบกระเทือนต่อร่างกาย ต่อชีวิตและครอบครัว ส่งผลต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกัน เพื่อมิให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติด

การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่สามารถวิจัยและพิสูจน์ว่าได้ผล เสมอโดยทั่วไปแบ่งการป้องกันออกมาเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.การป้องกันด่านแรก (primary prevention) ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคคือป้องกันไม่ให้ทดลองใช้ยานั่นเอง 2.การป้องกันด่านที่ 2 (secondary prevention) ป้องกันไม่ให้มีการใช้ยาต่อไป ในกรณีที่มีการลองยาเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง จิตใจ และทางสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่โรคติดสารเสพติดในที่สุด และ 3.การป้องกันด่านสุดท้าย (tertiary prevention) ป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง โดยป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายต่อชีวิต จิตใจ และสังคม ทำได้โดยการให้การบำบัดเสียแต่เนิ่น ๆ การป้องกันจะต้องทำครบทั้ง 3 อย่าง จึงจะสามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้ และจำนวนผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ติดยาเสพติดก่อนอายุ 16 ปี จึงควรป้องกันในระดับเยาวชนเป็นสำคัญ

สาเหตุของการติดยาเสพติด - อธิบายได้ด้วยทฤษฎี “ชีวะจิตตะสังคม” (bio-psycho-social model of addiction) ได้แก่ 1. ตัวบุคคล ได้แก่ ความเปราะบาง (vulnerability) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะติดยา หรือเป็นความฉับไวทางพันธุกรรมต่อการติดยา แต่เราสามารถสร้างปัจจัยทางบวกเพื่อให้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ลดน้อยหรือหายไป และเรายังสามารถที่จะลดปัจจัยทางลบเพื่อลดอิทธิพลของพันธุกรรมได้อีกด้วย ถึงแม้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมสูง แต่ถ้าไม่ทดลองยาเสพติดก็ไม่มีโอกาสติดยา 2. สารที่เป็นยาเสพติดนั้น จะต้องเข้าไปออกฤทธิ์ที่สมองบางส่วน ทำให้มีการหลั่งสารเคมีบางอย่างออกมามาก มาย สารเคมีเหล่านี้ทำให้มีความสุข ลดความรู้สึกทุกข์ได้ เมื่อใช้ยาบ่อย ๆ สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จะต้องพึ่งยาเสพติดเท่านั้น จึงจะอยู่ได้ สารบางอย่างจะออกฤทธิ์แรง จึงทำให้ติดง่าย แม้จะไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม หากใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ เข้า สมองจะเปลี่ยนสภาพไป ทำให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติดได้เช่นกัน การป้องกันต้องเน้นการสร้างทักษะในการแสวงหาความสุขและลดความทุกข์โดยไม่ใช้ ยาเสพติด และ 3.สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการติด 25% รวมทั้งการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นการสร้างปัจจัยทางบวก และลดปัจจัยทางลบต่อการติดยา สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวชักนำให้ “ตัวบุคคล” มาพบกับ “ตัวสาร” คือทำให้เกิดการลองยา และ สิ่งแวดล้อมยังเป็นตัวเกื้อหนุนให้มีการใช้ยาต่อไป

การป้องกันจึงต้องเข้าใจและการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมจึงจะได้ผลนอก จากนี้ ยังมีเทคนิค “10 สร้าง” หัวใจของการเลี้ยงลูกให้พ้นภัยยาเสพ คือ การสร้าง “สิบสร้างทรงพลัง” ซึ่งนำไปปฏิบัติได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน เรียนรู้และฝึกหัดกันได้ไม่ยากนัก 3 สร้างแรกในบทนี้ ได้แก่ สร้างที่หนึ่ง คือ “สร้างเวลาที่มีคุณภาพ” สภาวะสังคมปัจจุบันแม้ว่าจะบีบรัดทุกคนรีบร้อน เวลาหายากต่างคนต่างไปตั้งแต่เช้ามืดจวบเย็นค่ำ แทบไม่เห็นหน้ากัน แต่การให้เวลาซึ่งกันและกันในครอบครัวไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ขอให้เป็นเวลาที่มีความหมาย คือใช้เวลาทุกนาทีให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์ เป็น “เวลาคุณภาพ” มีเวลาให้กันวันละนิด จิตแจ่มใสถ้วนทั่วในครัวเรือน สร้างที่สอง คือ “สร้างการสื่อสารที่มีคุณภาพ” ในสังคมปัจจุบันนี้ ช่องว่างระหว่างรุ่นมีมากเหลือเกิน พ่อแม่จะใช้สิทธิที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” สั่งสอนหรืออบรมลูกวัยรุ่นให้ “เห็นดี เห็นชอบ” โดยไม่คำนึงถึงสังคมของลูก คงไม่ได้ผลดีนัก บ่อยครั้งที่ลูกรักจะมีปฏิกิริยาโต้กลับแบบ “ต่อหน้ารับฟัง ลับหลังดื้อรัน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างระบบการสื่อสารแบบไปกลับสองทาง รู้จักพูด รู้จักฟัง รู้จักออกความเห็น รู้จักวิจารณ์ รู้จักชม รู้จักตำหนิ รู้จักรับรู้ในความรู้สึกของผู้อื่น เรียกว่าฝึกลูกและตนเองให้ “พูดกันรู้เรื่อง” หันมาฟังลูกและรับรู้ในความรู้สึกและความนึกคิดของลูกได้ จะดียิ่ง สร้างที่สาม คือ “สร้างการรู้คุณค่าของตัวเอง” มีผู้วิจัยพบว่าเด็กที่มีมุมมองในแง่ดีต่อตนเอง รู้แจ้งเห็นจริงในจิตสำนึกว่า “ของ ดีตนมีอยู่” ไม่โอ้อวดแต่มีศักดิ์ศรี มีโอกาสติดยาเสพติดน้อยมาก สิ่งดีเหล่านี้ได้มาจากการฝึกให้มองตนเอง มองพ่อแม่ พี่น้อง มองผู้อื่น และมองโลกในแง่ดี จึงควรฝึกลูกให้นึกถึงแต่สิ่งดีงามประจำตัว วันละข้อสองข้อจนติดเป็นนิสัย ฝึกให้รู้จักชมสมาชิกในครอบครัววันละอย่างสองอย่าง ฝึกให้รู้จักมองเห็นข้อดีของคนอื่น ฝึกให้รู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ประจบสอพลอ “คิดดี” ต่อตัวเองเท่าไร ย่อมไม่ลองยาเสพติดเท่านั้น ให้ส่งจิตสู่ใจด้วยไมตรีเป็นนิจศีล…โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/228292 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 1/09/2556 เวลา 03:04:59 ดูภาพสไลด์โชว์ การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ การติดสารเสพติดถือเป็นโรคร้ายแรงอย่างหนึ่ง มีปัจจัยหรือสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่นอนเป็นโรคร้ายแรง รักษาให้หายขาดได้ยาก มักจะติดซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลกระทบกระเทือนต่อร่างกาย ต่อชีวิตและครอบครัว ส่งผลต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกัน เพื่อมิให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติด การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่สามารถวิจัยและพิสูจน์ว่าได้ผล เสมอโดยทั่วไปแบ่งการป้องกันออกมาเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.การป้องกันด่านแรก (primary prevention) ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคคือป้องกันไม่ให้ทดลองใช้ยานั่นเอง 2.การป้องกันด่านที่ 2 (secondary prevention) ป้องกันไม่ให้มีการใช้ยาต่อไป ในกรณีที่มีการลองยาเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง จิตใจ และทางสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่โรคติดสารเสพติดในที่สุด และ 3.การป้องกันด่านสุดท้าย (tertiary prevention) ป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง โดยป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายต่อชีวิต จิตใจ และสังคม ทำได้โดยการให้การบำบัดเสียแต่เนิ่น ๆ การป้องกันจะต้องทำครบทั้ง 3 อย่าง จึงจะสามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้ และจำนวนผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ติดยาเสพติดก่อนอายุ 16 ปี จึงควรป้องกันในระดับเยาวชนเป็นสำคัญ สาเหตุของการติดยาเสพติด - อธิบายได้ด้วยทฤษฎี “ชีวะจิตตะสังคม” (bio-psycho-social model of addiction) ได้แก่ 1. ตัวบุคคล ได้แก่ ความเปราะบาง (vulnerability) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะติดยา หรือเป็นความฉับไวทางพันธุกรรมต่อการติดยา แต่เราสามารถสร้างปัจจัยทางบวกเพื่อให้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ลดน้อยหรือหายไป และเรายังสามารถที่จะลดปัจจัยทางลบเพื่อลดอิทธิพลของพันธุกรรมได้อีกด้วย ถึงแม้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมสูง แต่ถ้าไม่ทดลองยาเสพติดก็ไม่มีโอกาสติดยา 2. สารที่เป็นยาเสพติดนั้น จะต้องเข้าไปออกฤทธิ์ที่สมองบางส่วน ทำให้มีการหลั่งสารเคมีบางอย่างออกมามาก มาย สารเคมีเหล่านี้ทำให้มีความสุข ลดความรู้สึกทุกข์ได้ เมื่อใช้ยาบ่อย ๆ สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จะต้องพึ่งยาเสพติดเท่านั้น จึงจะอยู่ได้ สารบางอย่างจะออกฤทธิ์แรง จึงทำให้ติดง่าย แม้จะไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม หากใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ เข้า สมองจะเปลี่ยนสภาพไป ทำให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติดได้เช่นกัน การป้องกันต้องเน้นการสร้างทักษะในการแสวงหาความสุขและลดความทุกข์โดยไม่ใช้ ยาเสพติด และ 3.สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการติด 25% รวมทั้งการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นการสร้างปัจจัยทางบวก และลดปัจจัยทางลบต่อการติดยา สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวชักนำให้ “ตัวบุคคล” มาพบกับ “ตัวสาร” คือทำให้เกิดการลองยา และ สิ่งแวดล้อมยังเป็นตัวเกื้อหนุนให้มีการใช้ยาต่อไป การป้องกันจึงต้องเข้าใจและการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมจึงจะได้ผลนอก จากนี้ ยังมีเทคนิค “10 สร้าง” หัวใจของการเลี้ยงลูกให้พ้นภัยยาเสพ คือ การสร้าง “สิบสร้างทรงพลัง” ซึ่งนำไปปฏิบัติได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน เรียนรู้และฝึกหัดกันได้ไม่ยากนัก 3 สร้างแรกในบทนี้ ได้แก่ สร้างที่หนึ่ง คือ “สร้างเวลาที่มีคุณภาพ” สภาวะสังคมปัจจุบันแม้ว่าจะบีบรัดทุกคนรีบร้อน เวลาหายากต่างคนต่างไปตั้งแต่เช้ามืดจวบเย็นค่ำ แทบไม่เห็นหน้ากัน แต่การให้เวลาซึ่งกันและกันในครอบครัวไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ขอให้เป็นเวลาที่มีความหมาย คือใช้เวลาทุกนาทีให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์ เป็น “เวลาคุณภาพ” มีเวลาให้กันวันละนิด จิตแจ่มใสถ้วนทั่วในครัวเรือน สร้างที่สอง คือ “สร้างการสื่อสารที่มีคุณภาพ” ในสังคมปัจจุบันนี้ ช่องว่างระหว่างรุ่นมีมากเหลือเกิน พ่อแม่จะใช้สิทธิที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” สั่งสอนหรืออบรมลูกวัยรุ่นให้ “เห็นดี เห็นชอบ” โดยไม่คำนึงถึงสังคมของลูก คงไม่ได้ผลดีนัก บ่อยครั้งที่ลูกรักจะมีปฏิกิริยาโต้กลับแบบ “ต่อหน้ารับฟัง ลับหลังดื้อรัน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างระบบการสื่อสารแบบไปกลับสองทาง รู้จักพูด รู้จักฟัง รู้จักออกความเห็น รู้จักวิจารณ์ รู้จักชม รู้จักตำหนิ รู้จักรับรู้ในความรู้สึกของผู้อื่น เรียกว่าฝึกลูกและตนเองให้ “พูดกันรู้เรื่อง” หันมาฟังลูกและรับรู้ในความรู้สึกและความนึกคิดของลูกได้ จะดียิ่ง สร้างที่สาม คือ “สร้างการรู้คุณค่าของตัวเอง” มีผู้วิจัยพบว่าเด็กที่มีมุมมองในแง่ดีต่อตนเอง รู้แจ้งเห็นจริงในจิตสำนึกว่า “ของ ดีตนมีอยู่” ไม่โอ้อวดแต่มีศักดิ์ศรี มีโอกาสติดยาเสพติดน้อยมาก สิ่งดีเหล่านี้ได้มาจากการฝึกให้มองตนเอง มองพ่อแม่ พี่น้อง มองผู้อื่น และมองโลกในแง่ดี จึงควรฝึกลูกให้นึกถึงแต่สิ่งดีงามประจำตัว วันละข้อสองข้อจนติดเป็นนิสัย ฝึกให้รู้จักชมสมาชิกในครอบครัววันละอย่างสองอย่าง ฝึกให้รู้จักมองเห็นข้อดีของคนอื่น ฝึกให้รู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ประจบสอพลอ “คิดดี” ต่อตัวเองเท่าไร ย่อมไม่ลองยาเสพติดเท่านั้น ให้ส่งจิตสู่ใจด้วยไมตรีเป็นนิจศีล…โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/228292 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...