แนะสื่อสารผ่านออนไลน์ สัญญาณฆ่าตัวตายวัยรุ่นไทย ที่ทุกคนช่วยได้

แสดงความคิดเห็น

พ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร ปฏิบัติหน้าที่รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในปี 2550 – 2554 ประเทศไทย วิธีการฆ่าตัวตาย เป็นวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ การผูกคอตาย มากถึงร้อยละ 75.29 รองลงมา คือ การกินยาฆ่าแมลง ร้อยละ 16.47 ทั้งนี้การฆ่าตัวตายจะมีลักษณะกะทันหัน เมื่อต้องประสบภาวะวิกฤตมากกว่ามาจากปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ปัญหาการเรียน สัมพันธภาพ นอกจากนี้ สัญญาณเตือนหรือสัญญาณอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ มีการสั่งเสียหรือการเขียนจดหมายลาตาย การตัดพ้อต่อว่า รู้สึกสิ้นหวัง มีประวัติทำร้ายตัวเอง พยายามฆ่าตัวตายมาก่อน หรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่มีลักษณะขี้กังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย ซึ่งหากมีหลายๆ อาการ ถือว่าเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทางที่ดีที่สุดคือ ให้เข้าถึงบริการสุขภาพจิตอย่างรวดเร็ว

ต่อกรณีของการใช้เทคโนโลยีหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้สัญญาณการ ฆ่าตัวตายนั้น พญ.พรรณพิมล ให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน พบว่า แทบทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน ที่พบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกลุ่มหลักที่ใช้สื่อออนไลน์ โดยมักจะมีสังคมออนไลน์ (Social Network) ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Line หรือ Facebook และอื่นๆ ซึ่งสื่อออนไลน์เหล่านี้เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียที่พบ คือ เมื่อหลายคนเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นๆ สามารถทำให้ลืมสังคมจริงๆ รอบตัว ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ขาดความเป็นธรรมชาติของคน เพราะมีเพียงตัวอักษร ไม่มีโอกาสได้ยินเสียง หรือเห็นภาษาท่าทางที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในแต่ละคนได้ ดังเห็นได้จากหลายครั้งที่มีการประกาศฆ่าตัวตายผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวมักคิดว่า ผู้ที่เขียนข้อความ ต้องการเพียงเรียกร้องความสนใจ เป็นเรื่องไร้สาระ ไม่คิดว่าจะฆ่าตัวตายจริงๆ จึงทำให้ไม่สามารถยับยั้งหรือช่วยเหลือได้ทัน

ดังนั้น ญาติหรือผู้ใกล้ชิด เมื่อพบสัญญาณให้รีบเข้าไปพูดคุยและช่วยเหลือทันที เพียงประโยคหรือความคิดเห็นที่ดีจะสามารถช่วยเขาได้ ทั้งนี้ เมื่อคนคนหนึ่งคิดจะฆ่าตัวตาย ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนี้ จะเป็นช่วงวิกฤติที่สุด ซึ่งถ้าหาทางยับยั้งให้เขาผ่านพ้น 24 ชั่วโมงนี้ไปได้ ความต้องการจะฆ่าตัวตายก็จะค่อยๆ ลดลง

พ.ญ.พรรณพิมล แนะว่า ปัญหาการฆ่าตัวตาย ทุกคนสามารถช่วยได้ โดยหยุดการส่งต่อภาพซ้ำๆ ในโลกออนไลน์ ที่อาจกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของคนที่อยู่ในภาวะไม่พร้อมให้เกิดการตัดสินใจเลียนแบบได้ รวมทั้ง จะได้ไม่สร้างความสะเทือนใจให้กับญาติผู้สูญเสียด้วย ทั้งนี้ หากไม่สบายใจ วิตกกังวลหรือเครียดกับปัญหาชีวิต ควรหาเพื่อนปรึกษาพูดคุยระบาย ช่วยกันคิดแก้ปัญหา ไม่เก็บปัญหาไว้คนเดียว ซึ่งสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ตลอดจน สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียดรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ หรือขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ เพราะการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/news/pr-center/detail-news.php?id=26616 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 5/04/2556 เวลา 04:02:16

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร ปฏิบัติหน้าที่รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในปี 2550 – 2554 ประเทศไทย วิธีการฆ่าตัวตาย เป็นวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ การผูกคอตาย มากถึงร้อยละ 75.29 รองลงมา คือ การกินยาฆ่าแมลง ร้อยละ 16.47 ทั้งนี้การฆ่าตัวตายจะมีลักษณะกะทันหัน เมื่อต้องประสบภาวะวิกฤตมากกว่ามาจากปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ปัญหาการเรียน สัมพันธภาพ นอกจากนี้ สัญญาณเตือนหรือสัญญาณอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ มีการสั่งเสียหรือการเขียนจดหมายลาตาย การตัดพ้อต่อว่า รู้สึกสิ้นหวัง มีประวัติทำร้ายตัวเอง พยายามฆ่าตัวตายมาก่อน หรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่มีลักษณะขี้กังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย ซึ่งหากมีหลายๆ อาการ ถือว่าเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทางที่ดีที่สุดคือ ให้เข้าถึงบริการสุขภาพจิตอย่างรวดเร็ว ต่อกรณีของการใช้เทคโนโลยีหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้สัญญาณการ ฆ่าตัวตายนั้น พญ.พรรณพิมล ให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน พบว่า แทบทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน ที่พบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกลุ่มหลักที่ใช้สื่อออนไลน์ โดยมักจะมีสังคมออนไลน์ (Social Network) ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Line หรือ Facebook และอื่นๆ ซึ่งสื่อออนไลน์เหล่านี้เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียที่พบ คือ เมื่อหลายคนเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นๆ สามารถทำให้ลืมสังคมจริงๆ รอบตัว ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ขาดความเป็นธรรมชาติของคน เพราะมีเพียงตัวอักษร ไม่มีโอกาสได้ยินเสียง หรือเห็นภาษาท่าทางที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในแต่ละคนได้ ดังเห็นได้จากหลายครั้งที่มีการประกาศฆ่าตัวตายผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวมักคิดว่า ผู้ที่เขียนข้อความ ต้องการเพียงเรียกร้องความสนใจ เป็นเรื่องไร้สาระ ไม่คิดว่าจะฆ่าตัวตายจริงๆ จึงทำให้ไม่สามารถยับยั้งหรือช่วยเหลือได้ทัน ดังนั้น ญาติหรือผู้ใกล้ชิด เมื่อพบสัญญาณให้รีบเข้าไปพูดคุยและช่วยเหลือทันที เพียงประโยคหรือความคิดเห็นที่ดีจะสามารถช่วยเขาได้ ทั้งนี้ เมื่อคนคนหนึ่งคิดจะฆ่าตัวตาย ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนี้ จะเป็นช่วงวิกฤติที่สุด ซึ่งถ้าหาทางยับยั้งให้เขาผ่านพ้น 24 ชั่วโมงนี้ไปได้ ความต้องการจะฆ่าตัวตายก็จะค่อยๆ ลดลง พ.ญ.พรรณพิมล แนะว่า ปัญหาการฆ่าตัวตาย ทุกคนสามารถช่วยได้ โดยหยุดการส่งต่อภาพซ้ำๆ ในโลกออนไลน์ ที่อาจกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของคนที่อยู่ในภาวะไม่พร้อมให้เกิดการตัดสินใจเลียนแบบได้ รวมทั้ง จะได้ไม่สร้างความสะเทือนใจให้กับญาติผู้สูญเสียด้วย ทั้งนี้ หากไม่สบายใจ วิตกกังวลหรือเครียดกับปัญหาชีวิต ควรหาเพื่อนปรึกษาพูดคุยระบาย ช่วยกันคิดแก้ปัญหา ไม่เก็บปัญหาไว้คนเดียว ซึ่งสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ตลอดจน สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียดรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ หรือขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ เพราะการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/news/pr-center/detail-news.php?id=26616

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...