โรคจิตเวชร่วมที่พบบ่อยในผู้เสพติดสุรา
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า โรคซึมเศร้าแบบอ่อนๆ อารมณ์คลุ้มคลั่ง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยติดสุราจนทำให้เกิดปัญหา ผู้ป่วยความผิดปกติทางอารมณ์ แล้วใช้สุราเพื่อบรรเทาอาการ หรือ เกิดจากการถอนพิษสุรา (withdrawal)หรือจากฤทธิ์ของสุราโดยตรง (intoxication)ผู้มีภาวะติดสุราจะมีปัญหาซึมเศร้ารุนแรงขึ้น
อาการวิตกกังวล ได้แก่ วุ่นวาย เครียด หมกมุ่น ในผู้ที่มีภาวะติดสุราจะเกิดโรควิตกกังวลในระดับสูง
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ผู้ป่วยที่มีปัญหาบุคลิกภาพมักจะพบปัญหาการใช้สารเสพติดร่วมด้วย สาเหตุที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น เสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ลดความเจ็บปวดทางใจ และลดความรู้สึกโดดเดี่ยว ผู้มีปัญหาจากสุราจะมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม
โรคจิต การดื่มสุราและเสพสารเสพติดในผู้ป่วยโรคจิตเวช มักจะได้รับการกล่าวถึงกันน้อย ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับผู้ดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดที่มีอาการทางจิต ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในขณะเสพ
ภาวะฆ่าตัวตาย มักเกิดร่วมกับโรคจิตเวชอื่นโดยพฤติกรรมการฆ่าตัวตายจะพบบ่อยในกลุ่มที่มีปัญหาบุคลิกภาพ และต่อต้านสังคม ผู้ที่ติดสุราและมีปัญหาความผิดปกติทางบุคลิกภาพร่วมด้วยจะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากกว่าปัจจัยอื่น เนื่องจาก
• ผู้ติดสุรามีภาวะซึมเศร้า ซึ่งการฆ่าตัวตายนั้นมาจากภาวะซึมเศร้า
• การควบคุมตนเองไม่ได้
• การติดสุรามีผลต่อการติดการพนันซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
ข้อบ่งชี้ของการติดสุรา มีอาการแสดงอย่างน้อย 3 อาการ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
1. มีระดับความทนทานต่อการดื่มสุรา
• มีความต้องการเพิ่มจำนวนของการดื่มสุราเพื่อให้เกิดความมืนเมาเท่าเดิม
• การดื่มสุราในปริมาณเท่าเดิม แต่ผลของสุราที่มีต่อร่างกายลดลง
2. มีอาการถอนพิษสุรา
• มีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีภาวะของการขาดสุรา คือ เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ มือสั่นมากขึ้น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน หูแว่ว เห็นภาพหลอนมองเห็นภาพผิดจากความเป็นจริง
• เมื่อดื่มสุรา อาการถอนพิษสุราจะหายไป
3. มีการดื่มสุราจำนวนมากหรือเป็นเวลานานกว่าที่ตั้งใจไว้
4. มีความต้องการดื่มสุราอยู่ตลอด ไม่สามารถหยุดดื่มหรือควบคุมการดื่มสุราได้
5. ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา แอลกอฮอล์เกิดอาการสมองเสื่อมได้ โดยความจำจะบกพร่องอย่างชัดเจน การตัดสินใจและการใช้เหตุผลผิดพลาด
6. กิจกรรมที่สำคัญต่างๆได้แก่ การประกอบอาชีพ งานสังคม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ลดลง เนื่องจากใช้เวลาในการดื่มสุรา
7. ยังคงดื่มสุราอย่างต่อเนื่องทั้งที่ทราบว่าสุราส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ยังคงดื่มสุราแม้จะทราบว่าสุราจะทำให้เกิดอาการแผลในกระเพาะ อาหารกำเริบ หรือทำให้เกิดอาการหูแว่ว เป็นต้น
ขอบคุณ... http://www.gotoknow.org/posts/282465
ที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/282465
วันที่โพสต์: 26/03/2556 เวลา 04:55:32
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า โรคซึมเศร้าแบบอ่อนๆ อารมณ์คลุ้มคลั่ง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยติดสุราจนทำให้เกิดปัญหา ผู้ป่วยความผิดปกติทางอารมณ์ แล้วใช้สุราเพื่อบรรเทาอาการ หรือ เกิดจากการถอนพิษสุรา (withdrawal)หรือจากฤทธิ์ของสุราโดยตรง (intoxication)ผู้มีภาวะติดสุราจะมีปัญหาซึมเศร้ารุนแรงขึ้น อาการวิตกกังวล ได้แก่ วุ่นวาย เครียด หมกมุ่น ในผู้ที่มีภาวะติดสุราจะเกิดโรควิตกกังวลในระดับสูง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ผู้ป่วยที่มีปัญหาบุคลิกภาพมักจะพบปัญหาการใช้สารเสพติดร่วมด้วย สาเหตุที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น เสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ลดความเจ็บปวดทางใจ และลดความรู้สึกโดดเดี่ยว ผู้มีปัญหาจากสุราจะมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม โรคจิต การดื่มสุราและเสพสารเสพติดในผู้ป่วยโรคจิตเวช มักจะได้รับการกล่าวถึงกันน้อย ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับผู้ดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดที่มีอาการทางจิต ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในขณะเสพ ภาวะฆ่าตัวตาย มักเกิดร่วมกับโรคจิตเวชอื่นโดยพฤติกรรมการฆ่าตัวตายจะพบบ่อยในกลุ่มที่มีปัญหาบุคลิกภาพ และต่อต้านสังคม ผู้ที่ติดสุราและมีปัญหาความผิดปกติทางบุคลิกภาพร่วมด้วยจะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากกว่าปัจจัยอื่น เนื่องจาก • ผู้ติดสุรามีภาวะซึมเศร้า ซึ่งการฆ่าตัวตายนั้นมาจากภาวะซึมเศร้า • การควบคุมตนเองไม่ได้ • การติดสุรามีผลต่อการติดการพนันซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ข้อบ่งชี้ของการติดสุรา มีอาการแสดงอย่างน้อย 3 อาการ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 1. มีระดับความทนทานต่อการดื่มสุรา • มีความต้องการเพิ่มจำนวนของการดื่มสุราเพื่อให้เกิดความมืนเมาเท่าเดิม • การดื่มสุราในปริมาณเท่าเดิม แต่ผลของสุราที่มีต่อร่างกายลดลง 2. มีอาการถอนพิษสุรา • มีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีภาวะของการขาดสุรา คือ เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ มือสั่นมากขึ้น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน หูแว่ว เห็นภาพหลอนมองเห็นภาพผิดจากความเป็นจริง • เมื่อดื่มสุรา อาการถอนพิษสุราจะหายไป 3. มีการดื่มสุราจำนวนมากหรือเป็นเวลานานกว่าที่ตั้งใจไว้ 4. มีความต้องการดื่มสุราอยู่ตลอด ไม่สามารถหยุดดื่มหรือควบคุมการดื่มสุราได้ 5. ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา แอลกอฮอล์เกิดอาการสมองเสื่อมได้ โดยความจำจะบกพร่องอย่างชัดเจน การตัดสินใจและการใช้เหตุผลผิดพลาด 6. กิจกรรมที่สำคัญต่างๆได้แก่ การประกอบอาชีพ งานสังคม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ลดลง เนื่องจากใช้เวลาในการดื่มสุรา 7. ยังคงดื่มสุราอย่างต่อเนื่องทั้งที่ทราบว่าสุราส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ยังคงดื่มสุราแม้จะทราบว่าสุราจะทำให้เกิดอาการแผลในกระเพาะ อาหารกำเริบ หรือทำให้เกิดอาการหูแว่ว เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.gotoknow.org/posts/282465
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)