สพฉ.เผยสถิติคนไทย"คลั่ง"กระฉูด

แสดงความคิดเห็น

สพฉ.เผย คนไทยเครียด พบสถิติผู้ป่วยคลุ้มคลั่งจำนวนมาก ปี 55-56 ออกช่วยเหลือผู้ป่วยคลุ้มคลั่งกว่า 19,240 ครั้ง เหตุปัญหารุมเร้า เศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ทำให้คนเป็นโรคจิตเพิ่ม

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เปิดเผยสถิติการออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2555 พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาทและอารมณ์ 11,652 ครั้ง และในปี 2556 นี้ 7,588 (ตัวเลขตั้งแต่ ต.ค.55-มิ.ย.56) ดังนั้น หากพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสามารถโทร.แจ้งได้ที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

รายงานของ สพฉ.ยังระบุอีกว่า ด้วยสภาวะสังคมปัจจุบันมีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ก่อให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม หรือแม้กระทั่งปัญหาครอบครัว ส่งผลให้มีคนไทยจำนวนมากที่ไม่สามารถแบกรับกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงดัง กล่าวได้ ทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเพิ่มมากขึ้น โดยจากสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคจิตที่เข้ามารับการรักษามีจำนวนกว่า 1,076,155 คน

ทั้งนี้ ลักษณะของการป่วยโรคจิตมีหลายประเภท แต่ประเภทที่น่าเป็นห่วงคือโรคจิตที่จะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ทำร่างกายตนเองและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ได้แก่ โรคจิตชนิดซึมเศร้า โดยคนที่เป็นโรคจิตชนิดนี้จะมีอาการเฉื่อยชา ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวล บางคนก็ร้องไห้ตลอดเวลา และบางคนอาจตัดสินใจถึงขั้นฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีอาการโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติดที่ผู้ป่วยจะมีอาการประสาท หลอน เพ้อ คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น โดยผู้ป่วยโรคจิตทั้งสองกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากที่สุด โดยล่าสุดได้มีกรณีผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดคลุ้มคลั่งที่ จ.ขอนแก่น และใช้มีดจี้คอตัวเองจนถูกหลอดลมด้านหน้า ส่งผลให้หายใจลำบาก ซึ่งหน่วยกู้ชีพจำเป็นต้องเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จากกรณีนี้ สพฉ.จึงเล็งเห็นว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินควรรองรับกับผู้ป่วยฉุกเฉินในทุก ประเภท และประชาชนทั่วไปควรจะมีความรู้หากพบเห็นผู้ป่วยโรคจิตจากอาการดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ประสบเหตุและต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปควรสังเกตผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่ออาการโรคจิตหรือไม่ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคจิตจะมีอาการซึมเศร้า เก็บตัว จากที่เคยเรียบร้อยก็จะกลายเป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรงจนน่ากลัว ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว ซึ่งหากพบเห็นควรรีบพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาและบำบัด เพื่อลดอัตราการเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จริงๆ แล้วข้อมูลไม่พบรายงานว่ามีผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ในทางกลับกันซึมเศร้าพบลดลงนิดหน่อยเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้วซึ่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ซึมเศร้ากับฆ่าตัวตายสูงมาก แต่ตอนนี้เริ่มนิ่ง อย่างอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 5:1 แสนประชากร จากเดิม 10:1 แสนประชากร แต่ถ้าพูดถึงความเครียดที่ไม่ถึงกับเป็นโรคคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะว่าความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การไม่มีความเครียดเลยอาจจะเป็นปัญหาด้วยซ้ำ แสดงว่าเราไม่มีความใฝ่ฝัน ไม่มีความคิดอยากได้อะไรแล้ว อย่างไรก็ตาม สถิติที่ทาง สพฉ.กล่าวมานั้นอาจจะเป็นเพราะการเข้าถึงการช่วยเหลือของผู้ป่วยมากกว่า สะท้อนถึงการเกิดโรคและการรักษาที่ดีด้วย และต้องชื่นชม สพฉ.ที่มีกระบวนการเข้าถึงตัวผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/260613/75536 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย..56
วันที่โพสต์: 26/06/2556 เวลา 03:31:16

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สพฉ.เผย คนไทยเครียด พบสถิติผู้ป่วยคลุ้มคลั่งจำนวนมาก ปี 55-56 ออกช่วยเหลือผู้ป่วยคลุ้มคลั่งกว่า 19,240 ครั้ง เหตุปัญหารุมเร้า เศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ทำให้คนเป็นโรคจิตเพิ่ม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เปิดเผยสถิติการออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2555 พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาทและอารมณ์ 11,652 ครั้ง และในปี 2556 นี้ 7,588 (ตัวเลขตั้งแต่ ต.ค.55-มิ.ย.56) ดังนั้น หากพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสามารถโทร.แจ้งได้ที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง รายงานของ สพฉ.ยังระบุอีกว่า ด้วยสภาวะสังคมปัจจุบันมีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ก่อให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม หรือแม้กระทั่งปัญหาครอบครัว ส่งผลให้มีคนไทยจำนวนมากที่ไม่สามารถแบกรับกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงดัง กล่าวได้ ทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเพิ่มมากขึ้น โดยจากสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคจิตที่เข้ามารับการรักษามีจำนวนกว่า 1,076,155 คน ทั้งนี้ ลักษณะของการป่วยโรคจิตมีหลายประเภท แต่ประเภทที่น่าเป็นห่วงคือโรคจิตที่จะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ทำร่างกายตนเองและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ได้แก่ โรคจิตชนิดซึมเศร้า โดยคนที่เป็นโรคจิตชนิดนี้จะมีอาการเฉื่อยชา ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวล บางคนก็ร้องไห้ตลอดเวลา และบางคนอาจตัดสินใจถึงขั้นฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีอาการโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติดที่ผู้ป่วยจะมีอาการประสาท หลอน เพ้อ คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น โดยผู้ป่วยโรคจิตทั้งสองกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากที่สุด โดยล่าสุดได้มีกรณีผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดคลุ้มคลั่งที่ จ.ขอนแก่น และใช้มีดจี้คอตัวเองจนถูกหลอดลมด้านหน้า ส่งผลให้หายใจลำบาก ซึ่งหน่วยกู้ชีพจำเป็นต้องเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จากกรณีนี้ สพฉ.จึงเล็งเห็นว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินควรรองรับกับผู้ป่วยฉุกเฉินในทุก ประเภท และประชาชนทั่วไปควรจะมีความรู้หากพบเห็นผู้ป่วยโรคจิตจากอาการดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ประสบเหตุและต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปควรสังเกตผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่ออาการโรคจิตหรือไม่ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคจิตจะมีอาการซึมเศร้า เก็บตัว จากที่เคยเรียบร้อยก็จะกลายเป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรงจนน่ากลัว ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว ซึ่งหากพบเห็นควรรีบพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาและบำบัด เพื่อลดอัตราการเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จริงๆ แล้วข้อมูลไม่พบรายงานว่ามีผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ในทางกลับกันซึมเศร้าพบลดลงนิดหน่อยเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้วซึ่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ซึมเศร้ากับฆ่าตัวตายสูงมาก แต่ตอนนี้เริ่มนิ่ง อย่างอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 5:1 แสนประชากร จากเดิม 10:1 แสนประชากร แต่ถ้าพูดถึงความเครียดที่ไม่ถึงกับเป็นโรคคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะว่าความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การไม่มีความเครียดเลยอาจจะเป็นปัญหาด้วยซ้ำ แสดงว่าเราไม่มีความใฝ่ฝัน ไม่มีความคิดอยากได้อะไรแล้ว อย่างไรก็ตาม สถิติที่ทาง สพฉ.กล่าวมานั้นอาจจะเป็นเพราะการเข้าถึงการช่วยเหลือของผู้ป่วยมากกว่า สะท้อนถึงการเกิดโรคและการรักษาที่ดีด้วย และต้องชื่นชม สพฉ.ที่มีกระบวนการเข้าถึงตัวผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/260613/75536

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...