ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชในผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เรื่อยมา สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของวัยผู้สูงอายุนั้นคือ การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนในด้านของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ในวัยของผู้สูงอายุนี้จะประสบกับการสูญเสียเป็นจำนวนมาก เช่น ความเจ็บป่วย การเกษียณอายุ การเสียชีวิตของบุคคลที่รัก

นอกจากนี้ สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เกิดภาวะที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากการอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อยู่กันเฉพาะพ่อแม่ลูก ทำให้ผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชตามมาได้

ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ภาวะซึมเศร้า

1.พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุรวมกัน ทั้งสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม

ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดความกระตือรือร้น แยกตัวเอง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองตนเองอย่างไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น

ถ้ามีอาการมาก จะคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย บางรายอาจมีการหูแว่ว หวาดระแวงร่วมด้วยได้ สำหรับผู้ป่วยสูงอายุส่วนมากจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการทางกายต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง และจะมีปัญหาจำนวนมากกว่าที่จะบอกว่าตนเองเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้

เนื่องจากภาวะซึมเศร้านั้นสามารถรักษาหายได้ และผู้สูงอายุสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ดังนั้น หากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านมีความผิดปกติ ญาติควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อประเมินสาเหตุและความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า แพทย์จะได้ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย

2. กลุ่มอาการโรคจิต (Psychosis) อาการโรคจิตที่พบบ่อย คือ การหลงผิดชนิดหวาดระแวง อาการประสาทหลอน ความคิดและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม กลุ่มอาการโรคจิตในผู้สูงอายุ อาจจะเกิดจากโรคจิตเภท โรคหลงผิด โรคอารมณ์แปรปรวน ภาวะเพ้อ สับสน ภาวะสมองเสื่อม หรือจากโรคทางกาย ยา และสารเสพติดต่างๆ

การรักษาโรคที่เป็นเหตุเป็นสิ่งสำคัญ การใช้ยาต้านโรคจิต พึงต้องระวังเพราะผู้ป่วยผู้สูงอายุมักเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยามากกว่าใน วัยหนุ่มสาว ดังนั้น แพทย์จึงจะให้ยาในขนาดต่ำก่อนและปรับยาอย่างช้าๆ เพื่อควบคุมอาการผู้ป่วย

3. ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียความในการรู้คิดในการทำงานสมอง หลายๆ ด้านซึ่งส่งผลให้ผู้สูญเสียความสามารถในการทำงานและการประกอบกิจวัตรประจำ วัน ผู้ป่วยมักมีปัญหาความจำระยะสั้นไม่ดี เช่น ลืมวันนัด ลืมสิ่งของบ่อยๆ พูดซ้ำ ถามซ้ำ เรียกชื่อสิ่งของและชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก หลงทางเวลาเดินทางออกนอกบ้านคนเดียว

ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิดก้าวร้าว มีพฤติกรรมแปลกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อม หวาดระแวง หูแว่วหรือเห็นภาพหลอนร่วมด้วยสมองเสื่อม เกิดจากหลายสาเหตุ มีทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้

ดังนั้น หากสงสัยว่าผู้สูงอายุในบ้านจะมีภาวะสมองเสื่อม ญาติจึงควรพามาพบแพทย์เพื่อประเมินและ

รีบรักษาก็จะช่วยชะลอความเสื่อมได้ ซึ่งวิธีรักษาก็ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความเสื่อม โดยอาจใช้ยาที่ชะลอการเสื่อมช่วย หรือใช้ยาเพื่อช่วยลดปัญหาพฤติกรรม แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เช่น ควบคุมอาหาร ให้ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันเป็นปกติ

4. นอนไม่หลับ โดยทั่วไปในวัยสูงอายุ มักต้องการเวลานอนน้อยลง จากการเปลี่ยนแปลงของสรีรวิทยา ทำให้นอนหลับน้อยลง ตื่นเช้ากว่าปกติ

แต่ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหานอนหลับยาก มักชอบตื่นกลางดึก ตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้ทำให้กลางวันง่วง ไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ควรได้รับการดูแลโดยหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจเกิดจากโรคทางกาย อาทิ โรคปวดต่างๆ การปัสสาวะบ่อย หรือมีภาวะซึมเศร้า ถ้าแก้ปัญหาต้นเหตุได้ จะทำให้หลับดีขึ้น

นอกจากนี้ ควรฝึกการนอน คือ เข้านอนให้ตรงเวลา ตื่นตรงเวลา ไม่งีบหลับเวลากลางวัน ถ้าเข้านอนแล้วยังไม่หลับ ควรลุกขึ้นมาทำโน่น ทำนี่ รอให้ง่วงจึงเข้านอนใหม่ ออกกำลังกายตอนเย็น หรือดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น

การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

1.การดูแล รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ

2. ไม่ปล่อยให้ตนเองอยู่ว่าง หางานอดิเรกหรือสิ่งที่ตนสนใจอยากทำ

3. ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเป็นประจำ พบแพทย์ปีละครั้ง

4. ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทำอาหารให้บุตรหลานรับประทาน ไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุด ไปทำบุญที่วัด ดูโทรทัศน์ หรือออกกำลังกายร่วมกัน เป็นต้น

5. ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปวัด เป็นต้น จะช่วยให้มีเพื่อนใหม่ๆ ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ

การดูแลผู้สูงอายุนั้น ลูกหลานและญาติพี่น้องมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพ จิตที่ดีและมีความสุข สามารถปรับตัวกับเรื่องต่างๆ ได้ดี ญาติควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุด้วยความรัก ความเข้าใจ

มูลนิธิสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญบริจาคเงินสร้างอาคารผู้ป่วยจิตเวชและเครื่องมือแพทย์ได้ที่ 0-2442-2542--จบ— โดย แพทย์หญิงทัศนีย์ กุลจนะพงศ์พันธ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเจ้าพระยา

--มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6 - 12 ก.ย. 2556—

ขอบคุณ... http://www.taladhoon.com/taladhoon/board/index.php?topic=12674.0

taladhoon.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56

ที่มา: taladhoon.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 9/09/2556 เวลา 03:56:58

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เรื่อยมา สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของวัยผู้สูงอายุนั้นคือ การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนในด้านของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ในวัยของผู้สูงอายุนี้จะประสบกับการสูญเสียเป็นจำนวนมาก เช่น ความเจ็บป่วย การเกษียณอายุ การเสียชีวิตของบุคคลที่รัก นอกจากนี้ สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เกิดภาวะที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากการอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อยู่กันเฉพาะพ่อแม่ลูก ทำให้ผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชตามมาได้ ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ภาวะซึมเศร้า 1.พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุรวมกัน ทั้งสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดความกระตือรือร้น แยกตัวเอง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองตนเองอย่างไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น ถ้ามีอาการมาก จะคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย บางรายอาจมีการหูแว่ว หวาดระแวงร่วมด้วยได้ สำหรับผู้ป่วยสูงอายุส่วนมากจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการทางกายต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง และจะมีปัญหาจำนวนมากกว่าที่จะบอกว่าตนเองเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ เนื่องจากภาวะซึมเศร้านั้นสามารถรักษาหายได้ และผู้สูงอายุสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ดังนั้น หากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านมีความผิดปกติ ญาติควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อประเมินสาเหตุและความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า แพทย์จะได้ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย 2. กลุ่มอาการโรคจิต (Psychosis) อาการโรคจิตที่พบบ่อย คือ การหลงผิดชนิดหวาดระแวง อาการประสาทหลอน ความคิดและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม กลุ่มอาการโรคจิตในผู้สูงอายุ อาจจะเกิดจากโรคจิตเภท โรคหลงผิด โรคอารมณ์แปรปรวน ภาวะเพ้อ สับสน ภาวะสมองเสื่อม หรือจากโรคทางกาย ยา และสารเสพติดต่างๆ การรักษาโรคที่เป็นเหตุเป็นสิ่งสำคัญ การใช้ยาต้านโรคจิต พึงต้องระวังเพราะผู้ป่วยผู้สูงอายุมักเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยามากกว่าใน วัยหนุ่มสาว ดังนั้น แพทย์จึงจะให้ยาในขนาดต่ำก่อนและปรับยาอย่างช้าๆ เพื่อควบคุมอาการผู้ป่วย 3. ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียความในการรู้คิดในการทำงานสมอง หลายๆ ด้านซึ่งส่งผลให้ผู้สูญเสียความสามารถในการทำงานและการประกอบกิจวัตรประจำ วัน ผู้ป่วยมักมีปัญหาความจำระยะสั้นไม่ดี เช่น ลืมวันนัด ลืมสิ่งของบ่อยๆ พูดซ้ำ ถามซ้ำ เรียกชื่อสิ่งของและชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก หลงทางเวลาเดินทางออกนอกบ้านคนเดียว ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิดก้าวร้าว มีพฤติกรรมแปลกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อม หวาดระแวง หูแว่วหรือเห็นภาพหลอนร่วมด้วยสมองเสื่อม เกิดจากหลายสาเหตุ มีทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ ดังนั้น หากสงสัยว่าผู้สูงอายุในบ้านจะมีภาวะสมองเสื่อม ญาติจึงควรพามาพบแพทย์เพื่อประเมินและ รีบรักษาก็จะช่วยชะลอความเสื่อมได้ ซึ่งวิธีรักษาก็ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความเสื่อม โดยอาจใช้ยาที่ชะลอการเสื่อมช่วย หรือใช้ยาเพื่อช่วยลดปัญหาพฤติกรรม แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เช่น ควบคุมอาหาร ให้ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันเป็นปกติ 4. นอนไม่หลับ โดยทั่วไปในวัยสูงอายุ มักต้องการเวลานอนน้อยลง จากการเปลี่ยนแปลงของสรีรวิทยา ทำให้นอนหลับน้อยลง ตื่นเช้ากว่าปกติ แต่ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหานอนหลับยาก มักชอบตื่นกลางดึก ตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้ทำให้กลางวันง่วง ไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ควรได้รับการดูแลโดยหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจเกิดจากโรคทางกาย อาทิ โรคปวดต่างๆ การปัสสาวะบ่อย หรือมีภาวะซึมเศร้า ถ้าแก้ปัญหาต้นเหตุได้ จะทำให้หลับดีขึ้น นอกจากนี้ ควรฝึกการนอน คือ เข้านอนให้ตรงเวลา ตื่นตรงเวลา ไม่งีบหลับเวลากลางวัน ถ้าเข้านอนแล้วยังไม่หลับ ควรลุกขึ้นมาทำโน่น ทำนี่ รอให้ง่วงจึงเข้านอนใหม่ ออกกำลังกายตอนเย็น หรือดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ 1.การดูแล รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ 2. ไม่ปล่อยให้ตนเองอยู่ว่าง หางานอดิเรกหรือสิ่งที่ตนสนใจอยากทำ 3. ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเป็นประจำ พบแพทย์ปีละครั้ง 4. ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทำอาหารให้บุตรหลานรับประทาน ไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุด ไปทำบุญที่วัด ดูโทรทัศน์ หรือออกกำลังกายร่วมกัน เป็นต้น 5. ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปวัด เป็นต้น จะช่วยให้มีเพื่อนใหม่ๆ ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ การดูแลผู้สูงอายุนั้น ลูกหลานและญาติพี่น้องมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพ จิตที่ดีและมีความสุข สามารถปรับตัวกับเรื่องต่างๆ ได้ดี ญาติควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุด้วยความรัก ความเข้าใจ มูลนิธิสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญบริจาคเงินสร้างอาคารผู้ป่วยจิตเวชและเครื่องมือแพทย์ได้ที่ 0-2442-2542--จบ— โดย แพทย์หญิงทัศนีย์ กุลจนะพงศ์พันธ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเจ้าพระยา --มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6 - 12 ก.ย. 2556— ขอบคุณ... http://www.taladhoon.com/taladhoon/board/index.php?topic=12674.0 taladhoon.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...