รพ.จิตเวชขอนแก่นรณรงค์ป้องกันคนฆ่าตัวตาย
วันที่ 6 ก.ย. 56 ที่ลานกิจกรรมชั้น G ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จัดกิจกรรมรณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” (10 SEPTEMBER : WORLD SUICIDE PREENTION DAY) โดยมีนายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 เป็นประธานรณรงค์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมงานคับคั่ง
ทั้งนี้ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยการณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ในปี 2556 นี้ กรมสุขภาพจิต และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกภายใต้แนวคิด “แค่ยิ้ม สร้างสุขได้ด้วยตัวเรา” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ใช้รูปแบบสนทนาจากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และตัวแทนวัยรุ่น ที่มีมุมมองการปรับความคิดที่ช่วยสามารถผ่านวิกฤตชีวิตมาได้ด้วยการมีสติ รู้จักรัก และให้กำลังใจตนเอง
นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 นับเป็นปีที่ 10 ของการรณรงค์ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักว่าการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้ โดยการให้ข้อมูลพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงลดอคติต่อปัญหาดังกล่าว ในปีนี้จึงมีแนวคิดหลักคือ “ตราบาป : เป็นอุปสรรคในการป้องกันการฆ่าตัวตาย” ซึ่งสังคมบางส่วนยังมีทัศนคติและความเชื่อไม่ถูกต้อง มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาส่วนบุคคล คนที่ฆ่าตัวตายมักทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ เป็นการเจ็บป่วยของคนอ่อนแอ
องค์การอนามัยโลกประมาณว่า แต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และคาดไว้ว่าในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย 1.53 ล้านคน อีกทั้งสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายของอเมริกา ประมาณอัตราส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองแต่ไม่สำเร็จมีสูงกว่าผู้ทำ สำเร็จถึง 25 เท่า ทั้งยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวและคนรอบข้างอีกประมาณ 5-10 ล้านคนในแต่ละปี
กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายมาตั้งแต่ปี 2544 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงตามลำดับ จากอัตราการฆ่าตัวตาย 8.59 ในปี 2542 ลดลงถึง 5.7 ในปี 2549 แต่ปี 2555 ที่ผ่านมา อัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้นเป็น 6.20 ต่อประชากรแสนคน เนื่องจากปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งโดยภาพรวมปี 2555 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากถึง 3,985 คน เฉลี่ยต่อเดือน 332 คน และเฉลี่ยรายวันๆละ 10-12 คนหรือทุกๆ 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวต่อว่า วัยแรงงานเป็นช่วงกลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงอายุกลุ่มอื่น โดยกลุ่มอายุ 30-34 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาคืออายุ 35-39 ปี และ 25-29 ปี ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าตัวชี้วัดที่ประเทศกำหนด คืออยู่ระหว่าง 10.11-11.07 ต่อประชากรแสนคน
ที่น่าเป็นห่วง คือ ประชากรในพื้นที่ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่พบอุบัติการณ์ของการฆ่าตัวตาย มากกว่าภาคอื่นๆ โดยจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดน่าน รองลงมาคือ เชียงราย (14.48) แม่ฮ่องสอน (14.33) เชียงใหม่ (13.08) อุตรดิตถ์ (12.79) สิงห์บุรี (12.18) ตราด (11.29) ลำพูน (11.62) พะเยา (10.67) และอุทัยธานี (10.65) ขณะที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รายงานถึงผลการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในเครือข่ายร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ พบว่า จังหวัดที่ประชากรฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มคือจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นอัตรา 4.46 ต่อประชากรแสนคน แม้ว่าสถิติดังกล่าวไม่เกินกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดคืออัตรา 6.5 ต่อประชากรแสนคน แต่ถือเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันรณรงค์ป้องกันปัญหาฆ่าตัว ตายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้เกิด ความร่วมใจกันของคนในพื้นที่เพื่อร่วมป้องกันปัญหา ตลอดจนมุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต ได้รับความรู้ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ ให้ทุกคนในสังคมมีโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คิดทำร้ายตัวเอง ให้รอดชีวิตได้ทุกเมื่อ
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000112353 (ขนาดไฟล์: 276)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 วันที่ 6 ก.ย. 56 ที่ลานกิจกรรมชั้น G ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จัดกิจกรรมรณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” (10 SEPTEMBER : WORLD SUICIDE PREENTION DAY) โดยมีนายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 เป็นประธานรณรงค์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมงานคับคั่ง ทั้งนี้ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยการณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ในปี 2556 นี้ กรมสุขภาพจิต และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกภายใต้แนวคิด “แค่ยิ้ม สร้างสุขได้ด้วยตัวเรา” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ใช้รูปแบบสนทนาจากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และตัวแทนวัยรุ่น ที่มีมุมมองการปรับความคิดที่ช่วยสามารถผ่านวิกฤตชีวิตมาได้ด้วยการมีสติ รู้จักรัก และให้กำลังใจตนเอง นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 นับเป็นปีที่ 10 ของการรณรงค์ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักว่าการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้ โดยการให้ข้อมูลพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงลดอคติต่อปัญหาดังกล่าว ในปีนี้จึงมีแนวคิดหลักคือ “ตราบาป : เป็นอุปสรรคในการป้องกันการฆ่าตัวตาย” ซึ่งสังคมบางส่วนยังมีทัศนคติและความเชื่อไม่ถูกต้อง มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาส่วนบุคคล คนที่ฆ่าตัวตายมักทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ เป็นการเจ็บป่วยของคนอ่อนแอ กิจกรรม รณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” จัดขึ้นที่ห้างเซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น องค์การอนามัยโลกประมาณว่า แต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และคาดไว้ว่าในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย 1.53 ล้านคน อีกทั้งสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายของอเมริกา ประมาณอัตราส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองแต่ไม่สำเร็จมีสูงกว่าผู้ทำ สำเร็จถึง 25 เท่า ทั้งยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวและคนรอบข้างอีกประมาณ 5-10 ล้านคนในแต่ละปี กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายมาตั้งแต่ปี 2544 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงตามลำดับ จากอัตราการฆ่าตัวตาย 8.59 ในปี 2542 ลดลงถึง 5.7 ในปี 2549 แต่ปี 2555 ที่ผ่านมา อัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้นเป็น 6.20 ต่อประชากรแสนคน เนื่องจากปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งโดยภาพรวมปี 2555 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากถึง 3,985 คน เฉลี่ยต่อเดือน 332 คน และเฉลี่ยรายวันๆละ 10-12 คนหรือทุกๆ 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวต่อว่า วัยแรงงานเป็นช่วงกลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงอายุกลุ่มอื่น โดยกลุ่มอายุ 30-34 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาคืออายุ 35-39 ปี และ 25-29 ปี ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าตัวชี้วัดที่ประเทศกำหนด คืออยู่ระหว่าง 10.11-11.07 ต่อประชากรแสนคน ที่น่าเป็นห่วง คือ ประชากรในพื้นที่ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่พบอุบัติการณ์ของการฆ่าตัวตาย มากกว่าภาคอื่นๆ โดยจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดน่าน รองลงมาคือ เชียงราย (14.48) แม่ฮ่องสอน (14.33) เชียงใหม่ (13.08) อุตรดิตถ์ (12.79) สิงห์บุรี (12.18) ตราด (11.29) ลำพูน (11.62) พะเยา (10.67) และอุทัยธานี (10.65) ขณะที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รายงานถึงผลการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในเครือข่ายร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ พบว่า จังหวัดที่ประชากรฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มคือจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นอัตรา 4.46 ต่อประชากรแสนคน แม้ว่าสถิติดังกล่าวไม่เกินกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดคืออัตรา 6.5 ต่อประชากรแสนคน แต่ถือเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันรณรงค์ป้องกันปัญหาฆ่าตัว ตายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้เกิด ความร่วมใจกันของคนในพื้นที่เพื่อร่วมป้องกันปัญหา ตลอดจนมุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต ได้รับความรู้ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ ให้ทุกคนในสังคมมีโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คิดทำร้ายตัวเอง ให้รอดชีวิตได้ทุกเมื่อ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000112353 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)