คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตพุ่ง 13 ล้านคน สธ.เทงบ 360 ล.บาทสร้าง รพ.จิตเวชเพิ่ม
คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 13 ล้านคน ป่วยทางจิตกว่า 3 ล้านคน สธ.ชี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะเข้าสู่สังคมเมือง ห่วงเขตสุขภาพที่ 2 ไร้ รพ.จิตเวชเฉพาะทาง ทุ่มงบ 360 ล้านบาท สร้าง รพ.จิตเวช 1 แห่งที่พิษณุโลก เร่งจัดบริการดูแลรักษาและป้องกัน คาดเปิดบริการปี 2560
วันที่ (6 มี.ค.) ที่โรงพยาบาลสุโขทัย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเขตบริการสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย จ.พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และตาก ว่า บริการ ผู้ป่วยโรคจิตเวชเป็นเรื่องใหญ่อีก 1 เรื่องในการจัดระบบบริการสุขภาพทุกเขต เพราะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเกี่ยวข้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สารเสพติด โดยกรมสุขภาพจิตได้สำรวจช่วง 3 ปีมานี้ พบว่า ประชาชนไทยร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 หรือประมาณ 13 ล้านคน ประสบปัญหาสุขภาพจิต เช่น เครียด วิตกกังวล และมีผู้ป่วยโรคทางจิตเวช 10 โรค เช่น โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศในปี 2554 รวมกว่า 3 ล้านราย
“คาดการณ์ว่า ปี 2570 ปัญหาสุขภาพจิตจะมีมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น พื้นที่ที่เป็นเขตปริมณฑลจะเป็นเขตเมืองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสภาพความเป็นเมือง ประชาชนใช้ชีวิตต่างคนต่างอยู่ ทำให้สังคมไทยมีความเปราะบางขึ้น ความอบอุ่นเช่นสภาพของสังคมแบบชนบท หรือสังคมเกื้อกูลแบบเครือญาติจะลดน้อยลงเรื่อยๆ”ปลัดสธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยทางจิตประมาณ 1.09 ล้านราย รักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ทั่วประเทศมีแล้ว 17 แห่ง ครอบคลุม 11 เขต โดยเขตบริการสุขภาพที่ 2 ยังไม่มีโรงพยาบาลจิตเวช ปี 2557 สธ.จึงได้จัดสรรงบประมาณ 360 ล้านบาท ก่อสร้างโรงพยาบาลจิตเวชขนาด 200 เตียง ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จะแล้วเสร็จและให้บริการสมบูรณ์แบบในปี 2560 ประชาชนที่ป่วย ไม่ต้องเดินทางไปรักษานอกเขต เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 200-300กิโลเมตร
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า การพัฒนาบริการสุขภาพจิตของเขตบริการสุขภาพที่ 2 ขณะนี้ได้เปิดหอผู้ป่วยจิตเวชที่ รพ.อุตรดิตถ์ รพ.แม่สอด จ.ตาก รพ.สุโขทัย รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก และได้ขยายการรักษาลงถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง โดยจัดทำมาตรฐานแนวทางรักษาโรคจิตเวชที่พบบ่อย 10 โรค เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคความจำเสื่อม และใช้ยารักษาเหมือนกันทุกแห่ง รวมทั้งจัดระบบการรักษาผู้ป่วยโรคจิตทางไกลมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาแก่ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 12 โดยลดจาก 279 ราย ในปี 2555 เหลือ 248 รายในปี 2556 อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าถึงบริการได้ร้อยละ70โรคซึมเศร้าเข้าถึงร้อยละ51เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังจัดนำร่องการพัฒนาการจัดบริการผู้ป่วยจิตเวชใน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งประชาชนร้อยละ 90 ทำอาชีพเกษตรกรรม โดย รพ.กงไกรลาศ ตรวจคัดกรองหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เพื่อดูแลรักษาฟื้นฟูเป็นเครือข่าย ร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกตำบล อาสาสมัครในหมู่บ้าน ครอบครัวผู้ป่วย ภายหลังที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจิตเวชและกลับไปอยู่ที่บ้าน เพื่อให้ได้รับการรักษากินยาต่อเนื่อง ไม่ขาดยาจนอาการกำเริบ สามารถแก้ไขปัญหาการล่ามโซ่ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการคลุ้มคลั่งเพราะขาดยา ซึ่งในพื้นที่มีประมาณ 15 ราย ได้สำเร็จ ขณะนี้ผู้ป่วยจิตเวชทุกรายใช้ชีวิตในสังคมได้ ไม่มีรายใดถูกญาติล่ามโซ่แม้แต่รายเดียว ประชาชนมีความเข้าใจวิธีการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000025878
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาวแสดงอาการปวดศีรษะ คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 13 ล้านคน ป่วยทางจิตกว่า 3 ล้านคน สธ.ชี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะเข้าสู่สังคมเมือง ห่วงเขตสุขภาพที่ 2 ไร้ รพ.จิตเวชเฉพาะทาง ทุ่มงบ 360 ล้านบาท สร้าง รพ.จิตเวช 1 แห่งที่พิษณุโลก เร่งจัดบริการดูแลรักษาและป้องกัน คาดเปิดบริการปี 2560 วันที่ (6 มี.ค.) ที่โรงพยาบาลสุโขทัย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเขตบริการสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย จ.พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และตาก ว่า บริการ ผู้ป่วยโรคจิตเวชเป็นเรื่องใหญ่อีก 1 เรื่องในการจัดระบบบริการสุขภาพทุกเขต เพราะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเกี่ยวข้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สารเสพติด โดยกรมสุขภาพจิตได้สำรวจช่วง 3 ปีมานี้ พบว่า ประชาชนไทยร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 หรือประมาณ 13 ล้านคน ประสบปัญหาสุขภาพจิต เช่น เครียด วิตกกังวล และมีผู้ป่วยโรคทางจิตเวช 10 โรค เช่น โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศในปี 2554 รวมกว่า 3 ล้านราย “คาดการณ์ว่า ปี 2570 ปัญหาสุขภาพจิตจะมีมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น พื้นที่ที่เป็นเขตปริมณฑลจะเป็นเขตเมืองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสภาพความเป็นเมือง ประชาชนใช้ชีวิตต่างคนต่างอยู่ ทำให้สังคมไทยมีความเปราะบางขึ้น ความอบอุ่นเช่นสภาพของสังคมแบบชนบท หรือสังคมเกื้อกูลแบบเครือญาติจะลดน้อยลงเรื่อยๆ”ปลัดสธ.กล่าว นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยทางจิตประมาณ 1.09 ล้านราย รักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ทั่วประเทศมีแล้ว 17 แห่ง ครอบคลุม 11 เขต โดยเขตบริการสุขภาพที่ 2 ยังไม่มีโรงพยาบาลจิตเวช ปี 2557 สธ.จึงได้จัดสรรงบประมาณ 360 ล้านบาท ก่อสร้างโรงพยาบาลจิตเวชขนาด 200 เตียง ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จะแล้วเสร็จและให้บริการสมบูรณ์แบบในปี 2560 ประชาชนที่ป่วย ไม่ต้องเดินทางไปรักษานอกเขต เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 200-300กิโลเมตร ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า การพัฒนาบริการสุขภาพจิตของเขตบริการสุขภาพที่ 2 ขณะนี้ได้เปิดหอผู้ป่วยจิตเวชที่ รพ.อุตรดิตถ์ รพ.แม่สอด จ.ตาก รพ.สุโขทัย รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก และได้ขยายการรักษาลงถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง โดยจัดทำมาตรฐานแนวทางรักษาโรคจิตเวชที่พบบ่อย 10 โรค เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคความจำเสื่อม และใช้ยารักษาเหมือนกันทุกแห่ง รวมทั้งจัดระบบการรักษาผู้ป่วยโรคจิตทางไกลมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาแก่ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 12 โดยลดจาก 279 ราย ในปี 2555 เหลือ 248 รายในปี 2556 อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าถึงบริการได้ร้อยละ70โรคซึมเศร้าเข้าถึงร้อยละ51เป็นต้น นพ.วชิระ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังจัดนำร่องการพัฒนาการจัดบริการผู้ป่วยจิตเวชใน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งประชาชนร้อยละ 90 ทำอาชีพเกษตรกรรม โดย รพ.กงไกรลาศ ตรวจคัดกรองหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เพื่อดูแลรักษาฟื้นฟูเป็นเครือข่าย ร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกตำบล อาสาสมัครในหมู่บ้าน ครอบครัวผู้ป่วย ภายหลังที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจิตเวชและกลับไปอยู่ที่บ้าน เพื่อให้ได้รับการรักษากินยาต่อเนื่อง ไม่ขาดยาจนอาการกำเริบ สามารถแก้ไขปัญหาการล่ามโซ่ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการคลุ้มคลั่งเพราะขาดยา ซึ่งในพื้นที่มีประมาณ 15 ราย ได้สำเร็จ ขณะนี้ผู้ป่วยจิตเวชทุกรายใช้ชีวิตในสังคมได้ ไม่มีรายใดถูกญาติล่ามโซ่แม้แต่รายเดียว ประชาชนมีความเข้าใจวิธีการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000025878 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)