กรมสุขภาพจิตระบุชาวนาฆ่าตัวตายมีหลายปัจจัยเสี่ยง

แสดงความคิดเห็น

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายของชาวนาที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตได้ลงพื้นที่เยียวยาและได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเสียชีวิต พบมีปัจจัยร่วมหลายอย่างที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ปัจจัยเสี่ยงที่พบ ได้แก่ การมีโรคทางจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต มีโรคประจำตัว และมีปัญหาครอบครัวมาก่อน โดยมีหนี้สินหรือการใช้หนี้ เข้ามากดดันและเป็นตัวกระตุ้น

นอกจากนี้ พบว่าเกือบทุกรายจะส่งสัญญาณให้คนรอบข้างเห็นมาก่อน เช่น บ่นว่าอยากตาย ดังนั้น ญาติหรือผู้ใกล้ชิด หากพบการเปลี่ยนแปลงหรือสัญญานเตือน เช่น บ่นท้อแท้ เครียด ดูซึม ไม่ค่อยสบายใจ ต้องช่วยกันดูแล ใส่ใจ รับฟัง ปลอบโยน และให้กำลังใจ แต่หากถึงขั้นพูดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แนะนำให้พาไปศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ รพ.สต.ใกล้บ้านโดยเร็ว

สำหรับกลุ่มชาวนาแนะให้ค่อยๆ แก้ปัญหาทีละขั้นตอน และรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา หาทางออก โดยไม่ใช้ความรุนแรง นอกจากนี้ ควรสังเกตตนเองว่าเครียดมากน้อยเพียงใดแล้วหาวิธีผ่อนคลาย หากรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรขอความช่วยเหลือทันที โดยอาจคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเพื่อระบายความทุกข์ ลดความกดดัน หรือพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เพื่อรับบริการปรึกษา หาแนวทางปฏิบัติตนได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มชาวนาที่ชุมนุมอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ในภาพรวม ส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย แต่ก็ยังพบว่า มี 9 รายเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โดยได้ส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้กับแกนนำและทีมแพทย์ที่ประจำอยู่ในจุด ชุมนุมเพื่อดูแลและช่วยเหลือแล้ว ขณะเดียวกัน ได้ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิต และเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของครอบครัวที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายของพี่น้องชาวนาโดยทำ งานร่วมกันระหว่างกรมสุขภาพจิตและระบบบริการสาธารณสุข โดยจะมีทีมวิกฤตสุขภาพจิตซึ่งมีอยู่ใน รพ.ชุมชนทุกแห่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทำงานใกล้ชิดกับ รพ.สต.ที่อยู่ในระดับตำบล กับ อสม.ที่จะร่วมกันเฝ้าระวัง สำรวจและคัดกรองกลุ่มชาวนาและญาติที่มีการชุมนุมและยังไม่ได้เงินค่าจำนำ ข้าว ในจังหวัดต่างๆ เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง ให้การดูแล ป้องกัน และส่งต่อเข้าระบบการช่วยเหลือต่อไป

พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า เมื่อวิเคราะห์การนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนในช่วงที่ผ่านมา พบข่าวการฆ่าตัวตายของชาวนาถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้ง สื่อมวลชนถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายลง ได้ ซึ่งที่ผ่านมา สื่อมวลชนหลายสำนักมีความเข้าใจคนที่มีความเปราะบางและได้ให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษา ได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง....โดย สำนักข่าวไทย

ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=53034101be04709d908b4570#.UwVdETcrWyg

(mcot.net/ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.57 )

ที่มา: mcot.net/ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 20/02/2557 เวลา 04:14:26 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมสุขภาพจิตระบุชาวนาฆ่าตัวตายมีหลายปัจจัยเสี่ยง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายของชาวนาที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตได้ลงพื้นที่เยียวยาและได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเสียชีวิต พบมีปัจจัยร่วมหลายอย่างที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ปัจจัยเสี่ยงที่พบ ได้แก่ การมีโรคทางจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต มีโรคประจำตัว และมีปัญหาครอบครัวมาก่อน โดยมีหนี้สินหรือการใช้หนี้ เข้ามากดดันและเป็นตัวกระตุ้น นอกจากนี้ พบว่าเกือบทุกรายจะส่งสัญญาณให้คนรอบข้างเห็นมาก่อน เช่น บ่นว่าอยากตาย ดังนั้น ญาติหรือผู้ใกล้ชิด หากพบการเปลี่ยนแปลงหรือสัญญานเตือน เช่น บ่นท้อแท้ เครียด ดูซึม ไม่ค่อยสบายใจ ต้องช่วยกันดูแล ใส่ใจ รับฟัง ปลอบโยน และให้กำลังใจ แต่หากถึงขั้นพูดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แนะนำให้พาไปศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ รพ.สต.ใกล้บ้านโดยเร็ว สำหรับกลุ่มชาวนาแนะให้ค่อยๆ แก้ปัญหาทีละขั้นตอน และรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา หาทางออก โดยไม่ใช้ความรุนแรง นอกจากนี้ ควรสังเกตตนเองว่าเครียดมากน้อยเพียงใดแล้วหาวิธีผ่อนคลาย หากรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรขอความช่วยเหลือทันที โดยอาจคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเพื่อระบายความทุกข์ ลดความกดดัน หรือพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เพื่อรับบริการปรึกษา หาแนวทางปฏิบัติตนได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มชาวนาที่ชุมนุมอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ในภาพรวม ส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย แต่ก็ยังพบว่า มี 9 รายเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โดยได้ส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้กับแกนนำและทีมแพทย์ที่ประจำอยู่ในจุด ชุมนุมเพื่อดูแลและช่วยเหลือแล้ว ขณะเดียวกัน ได้ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิต และเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของครอบครัวที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายของพี่น้องชาวนาโดยทำ งานร่วมกันระหว่างกรมสุขภาพจิตและระบบบริการสาธารณสุข โดยจะมีทีมวิกฤตสุขภาพจิตซึ่งมีอยู่ใน รพ.ชุมชนทุกแห่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทำงานใกล้ชิดกับ รพ.สต.ที่อยู่ในระดับตำบล กับ อสม.ที่จะร่วมกันเฝ้าระวัง สำรวจและคัดกรองกลุ่มชาวนาและญาติที่มีการชุมนุมและยังไม่ได้เงินค่าจำนำ ข้าว ในจังหวัดต่างๆ เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง ให้การดูแล ป้องกัน และส่งต่อเข้าระบบการช่วยเหลือต่อไป พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า เมื่อวิเคราะห์การนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนในช่วงที่ผ่านมา พบข่าวการฆ่าตัวตายของชาวนาถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้ง สื่อมวลชนถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายลง ได้ ซึ่งที่ผ่านมา สื่อมวลชนหลายสำนักมีความเข้าใจคนที่มีความเปราะบางและได้ให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษา ได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง....โดย สำนักข่าวไทย ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=53034101be04709d908b4570#.UwVdETcrWyg (mcot.net/ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...